นโยบายการศึกษาไทยกับการปลูกฝังระบอบประชาธิปไตยให้แก่เยาวชน


การฝึกคิดวิเคราะห์ทำให้นักเรียนแยกแยะเข้าใจรู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนตามสิทธิเสรีภาพของมนุษยชาติ และสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายประชาธิปไตยที่แท้จริง

 

 

             ประเทศไทยในปัจจุบันมีสภาพทางการเมืองที่มีปัญหาทางความคิด มีการแตกแยกปะทะทางความคิดอย่างรุนแรง  ทำให้หวั่นเกรงว่าสังคมไทยจะหาทางออกไม่ได้และนำไปสู้ความตกต่ำในด้านต่าง ๆ ซึ่งผู้เขียนมีความรู้สึกเป็นห่วงปรากฏการณ์ เพราะทุกคนมัวเต้นไปกับกระแสประจำวัน คือการเสนอข่าวสารของสื่อ และการโฆษณาชวนเชื่อของแต่ละฝ่าย ไม่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งในสังคมไทยกำลังตกอยู่ในภาวะขาดที่พึ่งทางความคิดและแบบอย่างอันเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง    ยิ่งจากผลการวิจัยพบว่าเยาวชนของไทยมองการเมืองเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย  และมีนักศึกษาที่เข้าร่วมในกิจกรรมที่เป็นประชาธิปไตยค่อนข้างน้อย   สำหรับผู้ที่มาร่วมชุมนุมทางการเมืองส่วนใหญ่เป็นคนอายุมากซึ่งมักจะ 40  ปี ขึ้นไป  ทำให้เป็นห่วงว่าในอนาคต เราจะได้นักการเมืองแบบใด มีอุดมการณ์ที่เสียสละหรือไม่  การปลูกฝังประชาธิปไตยต่อเยาวชนจึงเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ในสภาวะความขัดแย้งนี้ เราจำเป็นต้องสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีความรู้และเข้าใจการเมืองอย่างแท้จริง จึงจะสามารถวิเคราะห์ ได้อย่างเข้าใจและเท่าทันกับสิ่งที่แอบแฝงประชาธิปไตย  เข้ามามีอิทธิพลทางการเมือง

            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  ได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาของไทยว่า

          "  พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

           จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญได้กำหนดให้การจัดการศึกษาต้องมีการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและมีจิตสำนึกในการคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม ซึ่งกฎหมายหรือนโยบายของหน่วยงานอื่นต้องสอดคล้องกับรัธรรมนูญ  

            อย่างไรก็ตามการแถลงการณ์นโยบายทางการศึกษาของนายอภิสิทธิ       เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภาด้านการศึกษาไม่ได้กล่าวถึงการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขไว้โดยตรง หากแต่ได้กำหนดให้มีการสอนวิชาประวัติศาสตร์เพื่อให้นักเรียนมีความรักชาติ และจงรักภักดีต่อชาติเป็นหลัก หากมองไปยังนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ  2552 ซึ่งมีทั้งหมด  6  ข้อ  คือ

             1ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่นักเรียนทุกคน
             2. เพิ่มอัตราการเข้าเรียนในทุกระดับ ทั้งเด็กทั่วไป ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ลดอัตราการออกกลางคัน และพัฒนารูปแบบการให้บริการการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่เยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษา
            3.ยกระดับคุณภาพสถานศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาของชาติ พัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานของหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐานอย่างเต็มตามศักยภาพ
             4.เร่งรัดพัฒนาความพร้อมในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้แก่สถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาในสังกัดเพื่อการเรียนรู้และการบริหารจัดการ
             5. สร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารและ การจัดการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจอย่างมีประสิทธิภาพบนหลักธรรมาภิบาลในสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
              6. เร่งพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

           จากทั้ง  6  ข้อไม่มีข้อใดกล่าวถึงการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นต้นตอปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบันโดยตรงเลย  ในนโยบายข้อที่  6  นั้นก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยอยู่บ้าง ในเรื่องการกระจายอำนาจตามหลักธรรมภิบาล ซึ่งนโยบายในข้อ 6  นี้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้นำไปกำหนดเป็นนโยบายการส่งเสริมกิจกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียน 

                   อย่างไรก็ตามในการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนได้กำหนดให้ทุกโรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยตาม    มาตรฐานที่ 15  กล่าวคือ สถานศึกษาต้องมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย  ในตัวบ่งชี้ที่ 15.7 ต้อง มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย โดยมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและบรรยากาศในโรงเรียนที่ส่งเสริมความรู้ความ เข้าใจ  ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมประชาธิปไตย   สถานศึกษาในทุกระดับจึงมีการจัดกิจกรรมที่เป็นประชาธิปไตยอย่างเป็นระบบเป็นส่วนใหญ่  เพื่อรองรับการประเมินของของสมศ.

              จากนโยบายดังกล่าวข้างต้นผู้บริหารจะต้องดำเนินการพัฒนาความคิดที่เป็นประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาของตนให้ได้ การสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียน จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการนำไปใช้สังคมและชุมชน เป็นการเตรียมความพร้อมผู้เรียนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต เป็นการสร้างลักษณะนิสัยให้ผู้เรียนได้รู้จักระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์และกติกาของสังคม ตลอดจนรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ของตน ทีมงาน รับผิดชอบชุมชน และสังคมได้อย่างเหมาะสม  โดยโรงเรียนต้องนำรูปแบบประชาธิปไตยมาใช้ในโรงเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นประชาธิปไตย รู้จักปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามภาระหน้าที่ และมีวิถีชีวิตตามหลักประชาธิปไตย สามารถดำรงตนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

               ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตย ผู้บริหารการศึกษาทุกท่านในฐานะที่เป็นผู้ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน จึงควรสนับสนุนสิ่งต่างๆ ดังนี้

             1. กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน เช่น กิจกรรมคณะกรรมการนักเรียน กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมดำเนินตามนโยบาย กิจกรรมสร้างเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กิจกรรมพิเศษต่าง ๆ กิจกรรมกลุ่มการแสดง กิจกรรมชมรมและองค์กรต่าง ๆ ตลอดจนกิจกรรมกีฬา เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนเป็นอย่างดี

             2. ต้องส่งเสริมการสร้างบรรยากาศประชาธิปไตย โดยการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนให้ดี จะช่วยเสริมสร้างแนวความคิด จิตใจที่เป็นประชาธิปไตย ด้วยเหตุว่าคนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมใด ย่อมต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมนั้นให้ได้จึงจะสามารถดำรงชีวิตและอยู่ร่วมในสังคมนั้นอย่างเป็นสุข การสร้างบรรยากาศประชาธิปไตย จึงถือว่าเป็นการสร้างระบบและการยอมรับซึ่งกันและกัน

              3.ส่งเสริมครูทุกคน ให้จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับประชาธิปไตยโดยให้สอดแทรกอย่างสม่ำเสมอทั้งในห้องเรียน  และนอกห้องเรียนโดยสัมพันธ์กับวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ

             4. ส่งเสริมผู้เรียนให้เข้าใจในความเป็นประชาธิปไตย รู้จักปกครองตนเอง สามารถแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีระเบียบวินัย  มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และสามารถนำความเป็นประชาธิปไตยไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม  เพราะฉะนั้นผู้บริหารการศึกษาจำเป็นต้องปฏิรูปการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในชั้นเรียนใหม่เพื่อสร้างบรรยากาศในสถานศึกษา  ให้เกิดขึ้นบรรยากาศประชาธิปไตยหรือจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีวิถีประชาธิปไตยคือการนำหลักประชาธิปไตยมาใช้ในชีวิตประจำวันจนเป็นนิสัยเน้นหลักธรรมดังนี้            

         1.ด้านคารวธรรม มีพฤติกรรมที่แสดงออก ดังนี้

                1.1 เคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์

                   - การแสดงความเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ในทุกโอกาส

                   - การร่วมกิจกรรมต่างๆที่จัดเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ในโอกาสวันสำคัญต่างๆ

                    - การไปรับเสด็จเมื่อพระมหากษัตริย์   หรือพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จไปในถิ่นที่อยู่ หรือบริเวณใกล้เคียง

                     - การปฏิบัติต่อสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์          เช่น  ธงชาติ พระบรมฉายาลักษณ์ เพลงสรรเสริญพระบารมี ฯลฯ ด้วยความเคารพ  เมื่อได้ยิน  หรือเห็นบุคคลใดแสดงกิริยาวาจา หรือมีการกระทำอันไม่สมควรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ต้องกล่าวตักเตือนและห้ามไม่ให้ปฏิบัติเช่นนั้นอีก

                 1.2.เคารพซึ่งกันและกันทางกาย

                       - การทักทาย

                        - การให้เกียรติผู้อื่น

                        - การแสดงความเคารพแก่บุคคลซึ่งอาวุโสกว่า

                        - การให้การต้อนรับแก่บุคคล

                         - การแสดงความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน

                1.3  เคารพกันทางวาจา

                           - การพูดให้เมาะสมกับกาลเทศะ

                          - การใช้คำพูดเหมาะสมตามฐานะของบุคคล

                          - การพูดจาสุภาพ ไม่ก้าวร้าว ส่อเสียด

                           - การไม่พูดในสิ่งที่จะทำให้ผู้อื่น เกิดความเดือดร้อน

                           - ไม่นำความลับของบุคคลอื่นไปเปิดเผย

                           - ไม่พูดนินทาหรือโกหกหลอกลวง

             1.4.เคารพสิทธิของผู้อื่น

                             - การไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น ทั้งทางกายหรือวาจา

                             - การรู้จักเคารพในสิทธิของคนที่มาก่อนหลัง

                              - การเคารพในความเป็นเจ้าของ สิ่งของเครื่องใช้

                               - การรู้จักขออนุญาต เมื่อล่วงล้ำเข้าไปในที่อยู่อาศัยของบุคคลอื่น

                      1.5  เคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น

                            - การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เมื่อมีผู้พูดเสนอความคิดเห็น ควรฟังด้วยความตั้งใจและใคร่ครวญด้วยวิจารญาณ      หากเห็นว่าเป็นการเสนอแนวความคิดที่ดี มีประโยชน์มากกว่าความคิดเห็นของตนเองก็ควรยอมรับและปฏิบัติตาม

                      1.6 เคารพในกฎระเบียบของสังคม

                       - การยึดมั่นในกฎระเบียบของสังคม เช่น  วัฒนธรรมประเพณี กฎเกณฑ์ของสังคม  และกฎหมายที่สำคัยของประเทศ

                     1.7.มีเสรีภาพและใช้เสรีภาพในขอบเขตของกฎหมายและขนบธรรมเนียมประเพณี    ด้าน

2.สามัคคีธรรม  มีพฤติกรรมที่แสดงออกดังนี้

                      2.1 การรู้จักประสานประโยชน์ โดยถือประโยชน์ของส่วนรวม หรือประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง  ได้แก่

                                   -  การทำงานร่วมกันอย่างสันติวิธี

                                -  การรู้จักประนีประนอม โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ส่วนรวมเป็นใหญ่

                                   -  การเสียสละความสุขส่วนตน หรือหมู่คณะ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมหรือของชาติร่วมมือกันในการทำงาน หรือทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดร่วมกัน โดยมีบุคคลผู้ร่วมงาน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป  ในการทำงานร่วมกันนี้ จะต้องมีการวางแผนในการทำงานร่วมกัน      เมื่อถึงขั้นตอนของการทำงานก็ช่วยเหลือกันอย่างตั้งใจ จริงจัง  ไม่หลีกเลี่ยงหรือทำแบบเอาเปรียบผู้อื่น

                        2.3  เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

                         2.4 รับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายจากส่วนรวมและหน้าที่ต่อสังคม

                         2.5 ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในกลุ่ม ในหน่วยงานและสังคม

3.ด้านปัญญาธรรม มีพฤติกรรมที่แสดงออก ดังนี้           

                         3.1  การไม่ถือตนเป็นใหญ่

                    -      การรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

                    -      การยอมรับฟัง และปฏิบัติตามมติของเสียงส่วนมากในที่ประชุมหรือในการทำงานต่างๆ

                     -      การรู้จักเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

                        3.2 เน้นการใช้ปัญญา ใช้เหตุผลและความถูกต้อง ในการตัดสินปัญหาทั้งปวง ไม่ใช่ใช้เสียงข้างมาก ในการตัดสินปัยหาเสมอไป

                         3.3 เมื่อมีปัญหาใดเกิดขึ้น หรือเมื่อมีเรื่องที่จะต้องตัดสินใจ ทุกคนต้องร่วมกันคิดและร่วมกันใช้เหตุผล            

                         3.4 นกรณีที่มีปัญหาโต้แย้งในหมู่คณะ จะต้องพยายามอภิปราย จนกระทั่งสามารถชักจูงให้ทุกคนเห็นคล้อยตาม เมื่อเกิดกรณีที่ต่างก็มีเหตุผลที่ดีด้วยกัน และไม่อาจชักจูงให้กลุ่มหันไปทางใดทางหนึ่งเท่านั้น  จึงจะใช้วิธีการออกเสียง   

 การปลูกฝังความคิดประชาธิปไตยแนวใหม่แก่เยาวชน      

              หากสามารถทำให้นักเรียนมีความคิดวิถีชีวิตเป็นประชาธิปไตยได้แล้วการเคารพในสิทธิหน้าทีคนอื่นก็จะติดตามมา การทะเลาะกันแบบไร้เหตุผลก็จะไม่เกิดขึ้น   นอกจากเราจะมี คารวะธรรม  สามัคคีธรรม ปัญญาธรรมแล้ว ผู้เขียนขอเสนอแนะแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันที่สำคัญแกเยาวชนไทยก่อนจะสายไปครูผู้สอน ต้องแทรกเนื้อหาและพัฒนาการสอนดังนี้

              1.สอนให้นักเรียนเข้าใจความแตกต่างของลัทธิ  การเมือง  เนื่องจากมีการพูดหรือโฆษณาชวนเชื่อว่า สิ่งที่ตนเชื่อเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ฝ่ายตรงข้ามไม่เป็นประชาธิปไตย ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาก็เชื่อตามดังนั้นผู้บริหารต้องดำเนินการให้ครูได้ย้ำถึงระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงเป็นอย่างไรซึ่งแต่ละฝ่ายต่างคิดว่าตนถูก  เยาวชนก็จะหลงเดินตาม ซึ่งผู้เขียนได้เคยทำตารางเปรียบเทียบในการสอนนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่  6   ในปี 2551 ไว้ดังนี้

อำมาตยาธิปไตย

ทุนสามานย์ ( อ้างประชาธิปไตย )

ประชาธิปไตย

ผู้นำมีอำนาจสูงสุด

ผู้นำมีอำนาจสูงสุด

ประชาชนมีอำนาจสูงสุด

ชาตินิยมผสมเผด็จการ อนุรักษ์นิยม

มุ่งเศรษฐกิจของกลุ่มทุนในประเทศและต่างประเทศเหนือประโยชน์ชาติ

เสรีประชาธิปไตยรัฐให้โอกาสเท่าเทียมกัน

บริหารจากบนลงล่าง

บริหารจากบนลงล่าง

บริหารจากท้องถิ่นสู่ยอดสูง

ข้าราชการมีอำนาจ

 

หัวคะแนนและนายทุนพรรคมีอำนาจ ภายใต้นายทุนใหญ่

ประชาชนมีความรู้ มีเหตุผล

มีสิทธิเสรีภาพ  ชี้นำการเมือง

คนชั้นสูงช่วยคนชั้นล่าง

ผู้มีบุญ

ประชานิยม ฉาบฉวย  ใช้เงิน

และผลประโยชน์

รัฐสวัสดิการ ปฏิรูปที่ดิน

ปฏิรูปกลไกราคาสินค้าเกษตร

เน้นศีลธรรมเพ้อฝัน

ขาดศีลธรรม

ศีลธรรมที่เป็นจริงและทุกคนร่วมกันสร้างค่านิยมที่ดี

ไม่กล้าเปลี่ยนแปลงเพราะกลัวเสียประโยชน์

อยากเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าครอบงำผลประโยชน์

อยากเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ประชาชนทุกคนได้ประโยชน์

เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

รู้แล้วว่าการครอบงำไม่ง่ายอย่างตนคิด

กำลังพัฒนาเพราะช่องหนึ่งและช่องสองหันมาปรับตัวมากขึ้น

 

              2.สอนให้นักเรียนรู้จักสิทธิและเสรีภาพตามกฎหมาย นักเรียนไทยหรือคนไทย ยังขาดความเข้าใจในการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของตนตามกฎหมายทำให้ข้าราชการหรือหน่วยงาน ต่าง ๆ ดำเนินการไปตามอำเภอใจ  ยกตัวอย่าง  ประชาชนในภาคอีสานของเรานี้รู้จักเดินขบวนไปกรุงเทพเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและทำตามที่นักการเมืองต้องการ แต่ ปัญหาที่ตนประสบอยู่ในชีวิตประจำวันไม่มีใครออกมาเรียกร้องหรือเดินขบวนเลย  เช่น

                 1.การฉ้อราษฎร์บังหลวงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                 2.การบริการที่แย่ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น รถไฟ  น้ำประปา 

                3.การกดราคาสินค้าเกษตรของพ่อค้าในท้องถิ่น

                4.การที่เจ้าหน้าที่รัฐร่วมมือกับแก๊งต้มตุ๋นแรงงาน หลอกลวงประชาชน

ฉะนั้นครูผู้สอนในโรงเรียนจะต้องสอนให้นักเรียนรู้จักสิทธิและหน้าที่ของชาวไทยให้กระจ่างเพื่อให้เข้าใจสิทธิโดยกฎหมายของประชาชน โดยเฉพาะกฎหมายว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ  กฎหมายแรงงาน   กฎหมายที่ดิน  หากถูกข้าราชการรังแกจะทำอย่างไร นอกจากนั้นครูต้องลบล้างความเชื่อผิด ๆ ที่ปลูกฝังในสังคม ให้เป็นไปตามความต้องการของนักการเมือง เช่น

                   1.ประชาธิปไตยเป็นเสียงข้างมากเท่านั้นจึงเรียกว่าเป็นประชาธิปไตย

                   2.ศาลยุติธรรมและองค์กรทางศาลไทยไม่น่าเชื่อถือไม่ควรเคารพ

                   3.คนรวยมาเป็นนักการเมืองไม่มีทางโกงเพราะเขามีฐานะร่ำรวยแล้ว

                   4.สถาบันหลักทั้ง  4 ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกัน นายกรัฐมนตรีควรมีอำนาจสูงสุด

        เมื่อนักเรียนเข้าใจหลักสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่ควรรู้อย่างแท้จริงก็ไม่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่ไม่ดี

             3.   ผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจกับนักเรียนนักศึกษา ให้รู้ถึงความสัมพันธ์ของเศรษฐศาสตร์และการเมือง ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร นโยบายทางการเมืองมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศและของโลกอย่างไร ให้นักเรียนได้เข้าใจว่านักการเมืองเข้ามาเล่นการเมืองเพื่ออะไร นักการเมืองที่ดีต้องทำตัวอย่างไร ซึ่งการเรียนการสอนแบบนี้เหมาะสมกับนักเรียนระดับมัธยมและนักศึกษามหาวิทยาลัยการทัศนศึกษา การทำการค้นคว้านอกสถานที่ จะทำให้นักเรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น ให้นักเรียนค้นคว้าข้อมูลเรื่อง ราคาข้าว  ราคายาง ราคาสินค้า  ตลาดหุ้นว่าเกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐอย่างไรและต้องแสดงให้เห็นชัดว่านโยบายทางการเมืองส่งผลต่อนักเรียนและครอบครัวอย่างไร ยกตัวอย่างประเทศประชาธิปไตยที่ประสบผลสำเร็จทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ให้เป็นตัวอย่างชัดเจน ครูผู้สอนต้องค้นคว้าและทุ่มเท การเรียนการสอนต้องใช้กระบวนการกลุ่ม ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทำให้นักเรียนรู้เท่าทัน การโฆษณาชวนเชื่อที่สร้างความแตกแยก

         4.จัดการเรียนการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์  สังคมอีสานชอบข่าวลือ ชอบฟังพูดปากต่อปากเช่น ข่าวลือว่าผีปอปกำลังมาทางนั้นทางนี้ จะไปเร็วมาก ไม่เกินสามวัน หน้าบ้านคนก็จะเต็มไปด้วยสิ่งแปลกปลอม ป้องกันผีเต็มบ้าน  ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ผลการประเมินโรงเรียนของสมศ.โรงเรียนต่าง ๆ   ไม่ผ่านการประเมินในหัวข้อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน และไม่ผ่านมาตรฐานที่  5  การดำเนินให้ประสบผลสำเร็จตามหลักสูตรคือ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน  เนื่องจากไม่นิยมอ่านหนังสือ ดังนั้นผู้บริหาร  ต้องส่งเสริมนโยบายรักการอ่าน ให้มากขึ้น รวมทั้งผลักดันให้ครูจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ การออกข้อสอบให้ใช้ข้อสอบแบบอัตนัย เพื่อฝึกให้นักเรียนคิดเป็น  เขียนเป็น อันเป็นปัญหาใหญ่ของการศึกษาไทยขณะนี้   การที่นักเรียนคิดวิเคราะห์ไม่เป็นนี้เองจึงทำให้ขบวนการหลอกลวงต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จในการเอาเปรียบประชาชนไม่ว่าจะเป็นการหลอกลวงส่งแรงงานไปนอก  หลอกลวงให้ปลูกพืชที่ขายไม่ได้ เช่น ตะกู หรือมะม่วงหิมพานต์   หรือถูกนักพูด หลอกให้ไปเดินขบวนกรุงเทพ หรือถูกนายทุนหลอกให้เป็นเครื่องมือทางการเมือง  เป็นต้น

           การฝึกคิดวิเคราะห์ทำให้นักเรียนแยกแยะเข้าใจรู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนตามสิทธิเสรีภาพของมนุษยชาติ และสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายประชาธิปไตยที่แท้จริงจะเกิดขึ้นในสังคมไทย

                 สำหรับการปรับปรุงการเรียนการสอนทั้ง  4  ประการหลังผู้เขียนได้คิดขึ้นเองหลังจากประมวลสถานการณ์และความรู้ จากการสอนนักเรียน ยังได้ผลไม่น่าพอใจ เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้อง ซึ่งต้องใช้เวลาและความตั้งใจเป็นอย่างมากในการสอนนักเรียน ให้เปลี่ยนวิธีคิดได้อย่างไรก็ตามความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ถ้าผู้ใหญ่ทำตัวเป็นแบบอย่างนำทางเยาวชนโดยมีผู้บริหารเป็นแกนนำหลัก

                    เมื่อโรงเรียนสามารถพัฒนาผู้เรียน ให้เข้าใจ เข้าถึง และรักในความเป็นประชาธิปไตย เป็นอย่างดียิ่งแล้ว ในอนาคต ภาพแห่งความขัดแย้งที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทย ก็จะค่อยลบเลือนไป กระทั่งไม่ปรากฏขึ้นอีก จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษาทุกท่าน ที่จะสร้างแนวทางในการแก้ปัญหาของสังคม เพื่อให้คนในสังคมไทยอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขแม้จะมีความคิดเห็นทางการเมืองต่างกันก็ตาม                  

               

  อ้างอิง

จิระ     เงินงอก .คู่มือเตรียมสอบ ภาค  ข (  ความรู้ทั่วไป ) .มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ:ชัยภูมิ,   2550

เวปไซด์ 

http://gotoknow.org/blog/piyapoch/211178     

 http://gotoknow.org/blog/faii/219678

หมายเลขบันทึก: 322055เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2009 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตอนนี้ทุนนิยมใช้สื่อเป็นเครื่องมือ...............แล้วถ้าตอนโน้นทุนนิยมกลับมาใช้ตำราเรียนเป็นเครื่องมือละ.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท