Backward Design


Backward Design

การออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยวิธี 

Backward Design

 หลักการ แนวคิด Backward Design   Backward Design หรือการออกแบบย้อนกลับ เป็นกระบวนการออกแบบจัดการเรียนรู้หลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน /  กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจัดกิจกรรมการเรียนตามหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน/กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของ

ผู้เรียนที่กำหนด วิธีนี้ได้เผยแพร่โดย Grant Wiggins และ Jay McTighe เมื่อ ค.ศ.1998ได้ให้แนวการออกแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับ1 หน่วยการเรียนรู้ไว้  3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ ได้แก่

ขั้นที่ 1  กำหนดความรู้ความสามารถ ของผู้เรียนที่ต้องการให้เกิดขึ้น (Identify desired results)  ตามมาตรฐานการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ขั้นที่ 2  กำหนดหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจอย่างแท้จริง หลังจากได้เรียนรู้แล้ว ซึ่งเป็นหลักฐานการแสดงออกที่ยอมรับได้ว่า ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถตามที่กำหนดไว้ (Determine acceptable evidence of learning)

ขั้นที่ 3 ออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  (Plan learning experiences and instruction)   เพื่อให้ผู้เรียนได้ แสดงออกตามหลักฐานการแสดงออกที่ระบุไว้ในขั้นที่ 2 เพื่อเป็นหลักฐานว่า ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถตามที่กำหนดไว้ในขั้นที่ 1

การออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเทคนิค

Backward Design

Wiggins และ McTighe ดังกล่าว พอจะนำมาประยุกต์ใช้สำหรับครูผู้สอนในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น ที่สอดคล้องกับบริบทของ การใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544  มีขั้นตอนการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design ดังนี้

 1. กำหนดชื่อหน่วยการเรียนรู้/จัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่มีคุณค่าต่อผู้เรียน และสังคมที่เหมาะสม

2. กำหนดความเข้าใจที่คงทน (Enduring understanding) ของหน่วยฯ ที่ต้องการให้เป็นความรู้ความเข้าใจติดตัวผู้เรียนไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นเวลานาน การเขียนความเข้าใจที่คงทน

3. กำหนดความคิดรวบยอดย่อย (Concepts) ที่สำคัญที่จะให้ผู้เรียนได้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามหน่วยการเรียนรู้

4. กำหนดความรู้ และทักษะเฉพาะวิชา (Subject-specific standard)  ที่เป็นความรู้ (K) ทักษะกระบวนการ(P) และ ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม(A) เฉพาะวิชา ของแต่ละ Concept 

5. ตราจสอบความสอดคล้องของความรู้ และทักษะเฉพาะวิชา (ความรู้(K) ทักษะกระบวนการ(P) และ ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม(A) ของแต่ละ Concept กับมาตรฐานการเรียนรู้

6. กำหนดทักษะคร่อมวิชา(Trans-disciplinary skills standards)ที่ต้องใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เช่น กระบวนการกลุ่ม การวิเคราะห์ การเขียนรายงาน

7. กำหนดจิตพิสัย  (Disposition standards)   ของหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนด ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับ ผู้เรียนหน่วย

8. กำหนดคุณลักษณะพึงประสงค์ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ ที่กำหนด และบางครั้งอาจจะตรงกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรสถานศึกษาก็ได้ หรือไม่สอดคล้องก็ได้

9  จัดลำดับการประเมิน จากผังการประเมิน เพื่อวางแผนการ ออกแบบการจัดการเรียนรู้  

โดยนำ การประเมินจากผังการประเมินทุกรายการที่ไม่ซ้ำกัน มาจัดลำดับ ก่อนหลังตามความเหมาะสม หน่วย

 10. ออกแบบการจัดการเรียนรู้  เป็นการกำหนดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ หรือจัดประสบการณ์  การเรียนรู้ โดยนำการประเมินที่จัดลำดับไว้ มากำหนดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน กำหนดสื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมง ของแต่ละกิจกรรมให้เหมาะสม

11.จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยนำการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ออกแบบไว้ในข้อ10จัดทำเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ โดยเขียนผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามความรู้ และทักษะเฉพาะที่กำหนดสำหรับความคิดรวบยอดหลัก

12.ตรวจสอบความเหมาะสมของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญ(ครูสอนสาขาเดียวกัน) ตั้งแต่เริ่มกำหนดหน่วย จนถึงจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้

13.  ตรวจสอบความเหมาะสมของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยให้เพื่อนครู ที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน ช่วงชั้นเดียวกัน อย่างน้อย 3 คน (ที่ไม่ใช่ผู้ร่วมทำหน่วยการเรียนรู้ที่ให้ตรวจสอบ) ให้ช่วยกันตรวจความเหมาะสมของกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ตั้งแต่การกำหนดหน่วย   การเรียนรู้ กำหนด Concepts …จนถึงการออกแบบการจัดการเรียนรู้

 14. นำแผนการจัดการเรียนรู้ ไปจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งในการจัดการเรียนรู้นอกจากจะประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแล้ว ครูผู้สอนต้อประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของตนด้วยว่า การออกแบบการเรียนรู้หน่วยฯ นี้ ผู้เรียนมีความพึงพอใจเพียงใด ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของผู้เรียนเพียงใด

 

ผู้สืบค้นข้อมูล             นายสุภาพ  เจริญชาติ

                                  นายสันติ  เบ็ญจศิล

 

คำสำคัญ (Tags): #backward design
หมายเลขบันทึก: 321759เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2009 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ชื่อจริงหรือชื่อเล่น

Tkank you!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท