บรรณานุกรม2


เอกสารอ้างอิง

3.5  การจัดสรรงบประมาณที่เป็นธรรม

       การที่จะจัดสรรงบประมาณที่มีความเป็นธรรมได้นั้นหน่วยงานต้องใช้เกณฑ์มาตรฐานหรือวิธีการเดียวกันในการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของกลุ่มเป้าหมาย โครงสร้างของหน่วยงาน หรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน  เช่น ถ้ารัฐบาลได้กำหนดผลลัพธ์

ว่าการศึกษาระดับประถมศึกษามุ่งเน้นให้เด็กทุกคน ตั้งแต่อายุ 6 – 12 ปี ได้เข้าเรียนดังนั้นเกณฑ์

การจัดสรรทรัพยากรต้องยึดตามจำนวนเด็กที่มีอายุดังกล่าวทุกจังหวัด แต่ขณะเดียวกันค่าใช้จ่าย

ที่ได้รับจัดสรรจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของจังหวัด

3.6  มีรายละเอียดเพียงพอต่อการควบคุม 

       ในเอกสารงบประมาณควรระบุเนื้อรายละเอียดเพื่อใช้ในการกำกับติดตาม ควบคุม             การทำงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เช่นรายงานเกี่ยวกับระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างผลผลิต ผลลัพธ์ รายงานทางการเงิน ต้นทุนผลผลิตเป็นต้น ข้อมูลดังกล่าว ทำให้ทราบว่า งบประมาณที่ได้ลงทุน

ไปกับผลผลิต การที่ต้องมีรายละเอียดมากเพราะที่ผ่านมางบประมาณที่ได้รับเป็นวงเงินก้อนใหญ่             ไม่มีความชัดเจนว่าใช้จ่ายงบประมาณแล้วผลิตผลงานได้ในระดับใด ดังนั้นการมีรายละเอียดงบประมาณ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการวัดผลงาน

3.7  การเปรียบเทียบผลงานที่ปรากฎในแผนและสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

        ความสามารถในการเปรียบเทียบผลงานที่ปรากฎ ในแผนและผลงานที่เกิดขึ้นจริง

ที่จะบ่งบอกถึงความรับผิดชอบและความสามารถในการบริหาร การจะทราบได้นั้นต้องมีการวัดผลงานทั้งผลงานและการเงิน แต่สิ่งสำคัญในการเปรียบเทียบผลงานได้นั้นผู้วัดต้องใช้ฐานข้อมูลสารสนเทศและช่วงเวลาเดียวกัน สำหรับช่วงเวลาที่รายงานผลนั้นมีรูปแบบการายงานผลได้                4  ช่วงเวลา คือ

1.  การรายงานระยะปานกลาง คือ  รายงานผล   4  ปี  คือ ปีงบประมาณที่ผ่านมา

และ 3 ปีย้อน

2   การรายงานผลรายปี เป็นการรายงานผลตามปีงบประมาณ

3.  การรายงานผลเป็นช่วงระยะเวลา  4   ครั้ง ครั้งละ  3   เดือน

4.  การายงานผลประจำเดือน

                การรายงานผลทางการเงิน ควรมีการรายงานทั้ง  4  ช่วงเวลาในส่วนราชการรายงาน ผลงานงานเฉพาะช่วงเวลางบประมาณระยะปานกลาง และการรายงานประจำปีงบประมาณ และประเมินผลรายงาน  ได้แก่ ปริมาณ  คุณภาพ  เวลา ต้นทุน และการเชื่อมโยงสู้ผลลัพธ์

 

 

3.8  ความรับผิดชอบงบประมาณ 

        ผู้บริหารควรจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งในด้านการวางแผนและบริหารงบประมาณ

การส่งมอบผลผลิต การกำกับติดตามผลงาน  ดังนั้นความรับผิดชอบของผู้บริหารคือ การกำกับติดตามผลงานงบประมาณที่ได้รับซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้ามาบริหารจัดการให้เกิดผลงานตามที่ได้วางแผนกลยุทธ์ไว้ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์และผลผลิตที่ต้องการ นอกจากผู้บริหารต้องกระจาย

ความรับผิดชอบผลงานให้ผู้ช่วยได้มี บทบาทร่วมวางแผนงบประมาณ ร่วมรับผิดชอบผลงาน

และทรัพยากรที่ใช้ในการสร้างผลงาน         

3.9  การบริหารเชิงรุก 

        หน่วยงานควรจะมีรูปแบบการบริหารเชิงรุก โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้แน่ใจว่าใช้ต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ การบริหารเน้นการพัฒนางานในอนาคต เพื่อให้เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ โดยใช้ต้นทุนต่ำที่สุดการบริหารเชิงรุกต้องมีมุมมองที่ไกลและลงมือปฏิบัติให้เกิดผลหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของผลผลิต ผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริหารควรคำนึงถึง คือ

1.  ความชัดเจนในความคาดหวังของหน่วยงานของตนเองว่า ผลผลิตคืออะไร ซึ่งแต่      เดิมรู้เพียงแต่ว่า งบประมาณจะต้องจ่ายไปเท่าไร นอกจากนี้ยังต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมาย          ของผลผลิต ด้วยว่าคือใคร มีจำนวนเท่าไร

2.  ศักยภาพในการบริหารทรัพยากรและผลผลิต ผู้บริหารควรจะมีศักยภาพในการวางแผนและบริหารจัดการงบประมาณ เชิงกลยุทธ์ ความสามารถในการคิดต้นทุนโครงการที่เชื่อมโยง            กับผลผลิต มีความรู้เกี่ยวกับการรายงานทางการเงินและงบประมาณ การบริหารทีมงานและ           ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ความรู้ในเชิงเทคนิคในการพัฒนาผลผลิต และทักษะในการบริหารทรัพยากร      มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน มีภาวะผู้นำมีความสามารถในการปรับเวลาการทำงานให้เข้ากับสถานการณ์                        การเปลี่ยนแปลง

3.  ผู้บริหารต้องมีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารตัดสินใจเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงาน เช่น ปริมาณ คุณภาพ เวลา และต้นทุนของผลผลิตค่าใช้จ่าย ทรัพย์สิน หนี้สิน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวต้องจัดเป็นหมวดหมู่ และที่สำคัญผู้บริหารต้องรู้ด้วยว่าข้อมูลต่าง ๆ จะส่งผลผลิตและผลลัพธ์อย่างไร

 

บรรณานุกรม

 

เจนรักษา  ชัยบุญธรรม. (2545).  ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สำนักงบประมาณที่มีต่อระบบ

การติดตามและประเมินผล ภายใต้ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน. วิทยานิพนธ์

ชัยสิทธิ์  เฉลิมมีประเสริฐ. (2544).ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน. เอกสารประกอบ

การสัมมนาเชิงประสบการณ์ของสถาบันพัฒนานโยบายและการจัดการ.  กรุงเทพฯ:

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

          .(2544).มาตรฐานทางการเงิน 7 Hurdles กับการจัดทำงบประมาณระบบใหม่.

เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงประสบการณ์ของสถาบันพัฒนานโยบายและการจัดการ  กรุงเทพฯ:คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

ดารัตน์  บริพันธกุล.(2544).ระบบการบริหารโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์. เอกสารประกอบ

เชิงประสบการณ์ของสถาบันพัฒนานโยบายและการจัดการ. กรุงเทพฯ:คณะรัฐศาสตร์ 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พสุ  เดชะรินทร์. (2545).เส้นทางจากกลยุทธ์สู่การปฏิบัติด้วย  Balanced Scorecard  และ  

Key Performance Indicators. พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย.(2542).มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35

การนำเสนองบการเงิน. กรุงเทพฯ:บริษัท พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด.

สุชาดา  จันทร์อารีย์. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลัง  ความรู้ความเข้าใจกับความคิดเห็นของ

                เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานงบประมาณ. กรณีศึกษาสำนัก

งบประมาณ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุดา  ปานบ้านแพ้ว. (2542). ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สำนักงบประมาณที่มีต่อหลักเกณฑ์

การพิจารณางาน /  โครงการใหม่  ปีงบประมาณ 2542  ของสำนักงบประมาณ.  วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อุษา  ภัทรมนตรี. (2543).การตรวจสอบและการควบคุมภายใน: แนวคิดและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ:

                ศูนย์การพิมพ์ดิจิตอล.

Hager, G.,&  Hodson, A. (2001).Performance – based budgeting:Concepts and

examples, Research Report No. 302 Frankfort, Kentucky.

Welsch, G.,et.al. (1998).Budgeting profit planning and control., NJ : Prentice – Hall.

 

คำสำคัญ (Tags): #เอกสารอ้างอิง
หมายเลขบันทึก: 321483เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท