อาหารชะลอวัย


กินอะไร..ชะลอวัย

อาหารชะลอวัย

           แนวคิดสากล ที่คุณนำมาใช้ปฏิบัติเพื่อชีวิตที่มีสุขภาพดีและอายุยืนยาวได้ (Thinking Globally, Taking It Personally For A Long and Healthy Life)

ในปี 2547, สภาอนามัยโลก (the World Health Assembly) หน่วยงานที่มีอำนาจในการตัดสินใจสูงสุดขององค์กรอนามัยโลก (the World Health Organisation) ได้นำกลยุทธ์ระดับนานาชาติมาใช้ต่อสู้กับผลกระทบที่เกิดจากการใช้ชีวิตที่ไม่มีความกินดีอยู่ดีที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้ง ภาวะโภชนาการที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตและอายุขัย โดยจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางกลยุทธ์เชิงหลักฐานให้กับสหประชาชาติ และหน่วยงานสุขภาพ นักวิจัย และแพทย์ ต่อวิธีการแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโรคต่างๆ เป็นต้นว่า โรคหัวใจ , โรคเบาหวานชนิดที่ 2 , โรคมะเร็ง, ภาวะมีน้ำหนักตัวมากเกิน และโรคอ้วน และสุขภาพฟันที่มีต่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ และสภาพทางเศรษฐกิจ กลยุทธิ์นี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกว่าต้องใช้ความพยายามอย่างสูงและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

แต่ทว่า กลยุทธ์ที่ยิ่งใหญ่และผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ทั้งหลายนั้นมีความหมายต่อมนุษย์ ทั้งชาย หญิงและเด็ก ที่เดินอยู่ทั่วไปตามท้องถนนอย่างไร?  ผู้คนแต่ละคนสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการพัฒนาสุขภาพที่ดีของตนได้อย่างไร? โปรดอ่านให้เข้าใจถ่องแท้ถึงวิธีการและสาเหตุว่าทำไมหน่วยงานระดับนานาชาติถึงใช้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อสื่อถึงทางเลือกการดำเนินชีวิตประจำวันและทางเลือกการโภชนาการของคุณ …..

สุขภาพกินดีอยู่ดีดีขึ้น แต่ยังไม่ดีที่สุด

อายุขัยเฉลี่ยของชาวเอเชียเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในหลายประเทศของทวีปเอเชียและกำลังเข้าใกล้อายุขัยเฉลี่ยของภูมิภาคอื่นๆ ในโลกนี้ที่มีความกินดีอยู่ดี เช่น ในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น ที่มีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวกว่ามากที่สุดในโลก ประชาชนชาวเอเชียเริ่มอายุยืนมากขึ้น เป้าหมายที่สำคัญมากที่สุด ได้แก่ การปรับปรุงคุณภาพชีวิตของช่วงอายุที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง      โรคเรื้อรังคร่าชีวิตผู้คนกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้เสียชีวิตจำนวน 56 ล้านคน และ 46 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยด้วยโรคในภูมิภาคเอเชีย โดยผู้ป่วย 45 เปอร์เซ็นต์เกิดขึ้นกับผู้มีอายุต่ำกว่า 70 ปี โดย ดร. ริชาร์ด เนสบิตต์ ผู้อำนวยการภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก ได้กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกของ WHO เกี่ยวกับการดำเนินการนำกลยุทธ์มาใช้ทั่วโลกในการป้องกันโรคเรื้อรัง เมื่อเดือนตุลาคม 2549

ความท้าทายสำหรับชาวเอเชีย

ทวีปเอเชียประสบความสำเร็จในเรื่องการมีสุขภาพกินดีอยู่ดี ในปีที่พวกเขามีอายุยืนยาวขึ้นน้อยกว่าการมีอายุขัยเฉลี่ยโดยรวมที่เพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น องค์กรอนามัยโลกประเมินว่า 22 เปอร์เซ็นต์ของโรคหลอดเลือกหัวใจ (CVD) ในจีน เริ่มต้นเมื่ออายุระหว่าง 35-64 ปี เทียบกับแค่ 12 เปอร์เซ็นต์ในสหรัฐอเมริกา การเสียชีวิตถึง 52 เปอร์เซ็นต์ในอินเดียเกิดขึ้นกับผู้มีอายุต่ำกว่า 70 ปี เทียบกับ 23 เปอร์เซ็นต์ของการเสียชีวิตในยุโรป และผู้เสียชีวิตหลายราย จะมีอาการป่วยนานหลายปีก่อนเสียชีวิต  การป่วยที่สัมพันธ์กับ CVD ได้แก่ สภาพต่างๆ เช่น อาการปวด โรคหัวใจล้มเหลวและโรคลมเหตุ เป็นสาเหตุให้มีคุณภาพชีวิตลดลง และสูญเสียเงินทองและไม่อยู่ในสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ เพราะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ สูญเสียความสามารถในการดูแลผู้อื่น สูญเสียค่าใช่จ่ายในการค่ารักษาพยาบาลมาก สูญเสียการพึ่งพาตนเอง ชีวิตไม่เป็นสุขและขาดสันทนาการอย่างต่อเนื่อง

ประชาชนชาวเอเชีย ยังคงประสบกับการมีระดับคุณภาพชีวิตที่ต่ำ และเสียชีวิตเร็วเกินควร อันเป็นผลเนื่องมาจากโรคเสื่อมสภาพเรื้อรัง ที่ระบุไว้โดย WHO เช่น มะเร็ง การแตกหักของกระดูกเนื่องจากโรคกระดูกพรุน และโรคฟัน ตลอดจนโรคแทรกซ้อนจากการมีน้ำหนักตัวมากเกิน และโรคอ้วน ที่นำมาซึ่งสภาพอื่นๆ ตามมา เช่น โรคถุงน้ำดี การพักฟื้นภายหลังการผ่าตัด และอื่นๆ อีกมากมาย แต่หลักฐานปัจจุบัน ชี้ให้ถึงระดับความเสี่ยงที่ใกล้เคียงกับชาวตะวันตก

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลกระทบของอายุขัยเฉลี่ย คุณภาพชีวิต และฐานะความเป็นอยู่ทั้งในระดับบุคคลและในระดับประเทศในภูมิภาคเอเชีย   และผลกระทบนี้คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ คุน โฮ ยุน แห่ง โรงพยาบาลคังนัมเซนต์แมรี่ในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ทำนายว่า ภายในไม่เกินปี ค.ศ. 2025 ประเทศจีนและอินเดียจะมีประชากรที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประมาณ 20 ล้านคน  

 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเอเชีย ความท้าทายอันใหญ่หลวง

เริ่มปรากฏเด่นชัดมากยิ่งขึ้นว่าหลายๆ ประเทศในทวีปเอเชีย มีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สูงมากกว่า และมีความซับซ้อนมากกว่าชาวคอเคเชียน  หลายประเทศในเอเชียมีประชากรป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ช่วงอายุน้อยๆ มากขึ้น(โดยปกติ ก่อนอายุ 50 ปี เมื่อเทียบกับช่วงอายุเกิน 60 ปี ขึ้นไป)  และ มีไขมันในร่างกายส่วนเกินมากขึ้นเมื่ออายุน้อยลงกว่าประชาชนชาวยุโรป และมีแนวโน้มประสบกับการมีสุขภาพเจ็บไข้ได้ป่วย ความไม่สะดวกสะบาย และสภาพทางเศรษฐกิจที่ต้องใช้ในการรักษาโรคในวัยทำงาน มากกว่านำไปใช้ในช่วงก่อนหรือเกษียณ นอกจากนี้ ประชาชนในประเทศจีน อินเดีย และชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประสบกับโรคแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับโรคมากขึ้น ซึ่งรวมถึง การมีสายตาไม่ปกติ โรคหัวใจและไต สูญเสียการตอบสนองของการส่งถ่ายระบบประสาท และสูญเสียอวัยวะ

ผู้เชี่ยวชาญกำลังพยายามทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้ชาวเอเชียมีพันธุกรรมที่มีแนวโน้มสูงกว่าต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ลักษณะบางประการที่น่าจะมีผลต่อแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ การมีไขมันบริเวณพุงที่สะสมอยู่มากเกิน มากกว่าที่จะกระจายอยู่บริเวณต่างๆ ทั่วร่างกาย; แนวโน้มที่เซลล์จะตอบสนองที่ต่ำลงต่อระดับอินซูลินปกติในกระแสเลือด; และมีน้ำหนักตัวแรกเกิดที่ต่ำมาก เนื่องจากสุขภาพของมารดาที่ไม่ดีในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามมาด้วยการมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงปีแรกหลังคลอด

 นอกเหนือจากผลกระทบทางสรีรวิทยาภายใน ศาสตราจารย์ ยุน ยังคงระบุถึงสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกมากมายที่พบทั่วไปในกลุ่มประชากรชาวเอเชียที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของชาวเอเชีย รวมทั้ง โรคเรื้อรังอื่นๆ หลายชนิดที่เป็นเป้าหมายตามกลยุทธ์ของ WHO: การวางแผนชุมชนที่ไม่ดี, ความเคยชินที่ผิดในการใช้กล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวทั้งระหว่างการพักผ่อนและการทำงาน, การใช้เวลาในการศึกษาเล่าเรียนนาน การใช้เวลาหน้าจอทีวี หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ นำมาซึ่งวิถีการดำเนินชีวิตที่ไม่ออกกำลังกาย การนั่งกินนอนกิน และสุขภาพที่ไม่ดีเพราะขาดการออกกำลังกาย

รู้ปัญหา ทางแก้สดใส

ประโยคนี้นำมาจากเอกสารเผยแพร่ของ WHO เรื่อง  “การป้องกันโรคเรื้อรัง: การลงทุนที่คุ้มค่า” ซึ่งทำให้เห็นภาพได้อย่างดีว่า สาเหตุใดถึงต้องเป็นกลยุทธ์ระดับนานาชาติ และกำหนดเป็นเป้าหมายในช่วง 10 ปี ข้างหน้า เช่น ลดอัตราการตายด้วยโรคเรื้อรัง 2 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี ปรากฏหลักฐานที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงภาวะโภชนาการและแนวทางการดำเนินชีวิตสามารถป้องกันการปรากฏโรคเรื้อรังต่างๆ ก่อนเวลาอันควรได้ WHO ได้ประเมินว่า ผู้ป่วย 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยเริ่มต้นด้วยโรคหัวใจ โรคลมเหตุ และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง 40 เปอร์เซ็นต์ สามารถป้องกันได้ด้วยการเปลี่ยนภาวะโภชนาการและวิถีการดำเนินชีวิต  การออกกำลังกายเพิ่มขึ้นและการจัดการสุขภาพที่ป่วยอย่างทันท่วงที สามารถลดภาระที่เกิดขึ้นจากการเสียชีวิตหรือเป็นโรคได้ ในเอกสารเผยแพร่ฉบับเดียวกันได้กล่าวถึงสถิติไว้อย่างชัดเจนว่า มีผู้เสียชีวิต 2.6 ล้านคน ต่อปี สาเหตุเนื่องมาจากภาวะมีน้ำหนักตัวมากเกินและโรคอ้วน, 4.4 ล้านคนมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่เพิ่มมากขึ้น, และ 7.1 ล้านคน มีความดันเลือดสูง

วิธีแก้ปัญหาร้อยแปดวิธี

ทางเลือกโภชนาการและการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล สามารถทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมากและชัดเจนของแต่ละบุคคลที่จะมีโอกาสของการมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพกินดีอยู่ดี ที่น่ายินดี นักวิจัยได้ศึกษาทางเลือกวิถีการดำรงชีวิตและโภชนาการนั้น สามารถลดความเสี่ยงได้อย่างดีเยี่ยมในการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังได้มากกว่าหนึ่งชนิดในบางราย สาเหตุโรคทั่วไปเหล่านี้ ได้แก่ CVD, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคกระดูกพรุน, โรคมะเร็ง, ภาวะมีน้ำหนักตัวมากเกินและโรคอ้วน ล้วนอยู่ภายใต้การดูแลของคนทุกคนได้ ไม่ว่าเด็ก หญิง หรือ ชาย 

ทางเลือกแนวทางวิถีการดำเนินชีวิตที่สำคัญที่สุด ได้แก่ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายในระดับที่น้อย เชื่อว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงหลักต่อการเป็น CVD, โรคเบาหวานชนิดที่ 2,  มะเร็ง, ภาวะมีน้ำหนักตัวมากเกินและโรคอ้วน, และโรคกระดูกพรุน โดยที่จริงแล้ว การไม่ออกกำลังกาย เป็นเพียงแค่ปัจจัยด้านโภชนาการและการดำเนินชีวิตในระดับต้นๆ ที่สนับสนุนการเกิดเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เหล่านี้  อีกทั้ง การสูบบุหรี่ เป็นทางเลือกการดำเนินชีวิตหนึ่งที่รู้จักกันดีว่าทำให้อายุขัยเฉลี่ยและคุณภาพชีวิตที่ลดลง, โดยทำให้มีความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งและ CVD เพิ่มขึ้น การดื่มแอลกอฮอล์ในระดับพอดี ดูเหมือนทำให้เกิดผลกระทบเชิงบวกบางประการ แต่ประโยชน์เหล่านี้จะหายไปหากดื่มมากกว่าระดับปกติที่แนะนำควรให้ดื่ม เป็นประจำ

ภาวะมีน้ำหนักตัวมากเกินและโรคอ้วน ตลอดจนโรคอื่นๆ โดยตัวมันเองที่จัดว่าเป็นปัญหาเชิงสุขภาพ ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นลักษณะส่วนบุคคลโดยตรงที่มีผลที่ทำให้อ่อนแอต่อการเป็น CVD, โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคมะเร็งอื่นๆ ทั้งหลาย (ภาวะมีน้ำหนักตัวมากเกินมีส่วนอย่างยิ่งที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง และมีเอกสารตีพิมพ์ในโลกวิทยาศาสตร์ แต่บ่อยครั้งที่ประชาชนทั่วไปมักละเลย มองข้ามหรือประมาณการณ์ต่ำเกินไป )

การบริโภคอาหารอย่างพอดี ที่คงไว้เพียงแต่ความพอใจและประโยชน์ต่อสุขภาพ จากการเปลี่ยนแปลงของลูกโซ่อาหารในปัจจุบันในภูมิภาค แต่หลีกเลี่ยงการบริโภคมากเกินและอาหารไม่สมดุล เป็นสิ่งสุดท้ายที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้สำหรับทางเลือกส่วนบุคคลที่สำคัญหลังสุดสำหรับทุกคน สำหรับหลายๆ คนแล้ว การลดบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูง ซึ่งหมายถึง ไขมันและน้ำตาลต่ำ มีผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีเส้นใยและผลิตภัณฑ์จากธัญพืช มีกรดไขมันชนิดจำเป็นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไขมันโอเมก้า-3 และอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามิน ดี สูง   

ทางเลือกภาวะโภชนาการและการออกกำลังกายที่ปรากฏหลักฐานยืนยันการลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังได้

 

CVD

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

น้ำหนักตัวมากเกินและโรคอ้วน

มะเร็ง

โรคกระดูกพรุน

ออกกำลังกาย

 ผลไม้และผัก

 

 

เมล็ดธัญพืชและ โพลิซัคคาไรด์ที่ไม่ใช่แป้ง ; อาหารให้พลังงานสูง

 

 

 

 แคลเซียมและวิตามิน ดี

 

 

 

 

กรดไขมันชนิดจำเป็น

 

 

 

 

ไขมันชนิดอิ่มตัวหรือชนิดทรานส์

 

 

 

การควบคุมน้ำหนักตัว

โซเดียมและ/หรืออาหารที่เก็บรักษาด้วยเกลือ

 

 

 

ดื่มแอลกอฮอล์เล็กน้อยหรือไม่ดื่มเลย

 

 

 พลังจากตัวคุณ คือ พลังแห่งมวลชน

หน่วยงานที่สำคัญระดับนานาชาติ เช่น WHO และรัฐบาล มีหน้าที่รับผิดชอบในการผลักดันกลยุทธ์ระดับโลกมาใช้ เพื่อลดภาระจากโรคเรื้อรัง ผลตอบแทนที่ได้มีค่าสูงยิ่ง – การตายอันเนื่องมาจากโรคเรื้อรังใน 10 ปีข้างหน้า ลดลง 2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งช่วยชีวิตได้ถึง 36 ล้านคน (50% ของผู้รอดชีวิตเป็นผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 70 ปี) และส่งผลให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจในจีน 36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 15 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ  ในประเทศอินเดีย หากไม่ประสบผลสำเร็จ จะทำให้เกิดการสูญเสีย 200-550 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  ในภูมิภาคเอเชีย และระดับที่ประเมินค่ามิได้ทางด้านสุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการรักษา และการสูญเสียชีวิต

อย่างไรก็ดี ในแง่ของบทบาทที่ยิ่งใหญ่ที่ทำให้วิถีการดำรงชีวิตส่วนบุคคล มีบทบาทต่อการเกิดและพัฒนาโรคเรื้อรัง ผู้คนแต่ละคนก็มีบทบาทเสริมที่สำคัญอย่างยิ่งต่อทิศทางสุขภาพของตนเองในอนาคต

ประโยชน์ที่ผ่านการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์และที่วัดค่าได้ของอาหารสมดุล ต่อการมีอายุที่มีสุขภาพดียืนยาวขึ้น อาจไม่ใช่ข่าวใหม่ และไม่อาจต่อต้านแรงดึงดูดใจตามข้ออ้างที่ไม่สมเหตุสมผลที่สร้างขึ้นโดยผู้รักษาตามแบบของตนเอง (self-styled therapists) ผู้รู้ที่เขียนในหนังสือโภชนาการ  และตามหน้าเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก แต่น้ำหนักของหลักฐานการได้รับประโยชน์ ที่เกิดขึ้นมีมากมายและทุกคนสามารถหาอ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำหรับทุกคนที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาสุขภาพของตนเองและลูกหลาน

ประโยชน์ต่างๆ เริ่มต้นสะสมทันทีที่ทำการเปลี่ยนแปลงเชิงสุขภาพ แต่ที่เห็นได้ชัด ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าใด  ก็จะได้รับประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้ กลยุทธ์ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ มีแนวโน้มมุ่งเน้นไปที่กลุ่มวัยเยาว์ และผลักภาระหน้าที่ให้กับบิดามารดาในการส่งเสริมแนวทางภาวะโภชนาการและวิถีการดำเนินชีวิตที่และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับพวกเขา

‘พวกเราเป็นทาสของทางเลือกต่างๆ ที่ได้ตัดสินโดยชนรุ่นก่อน ทั้งนักการเมือง ผู้นำทางเศรษฐกิจ นักการธนาคารและคนทั่วไป ในเรื่องต่างๆ หลายเรื่อง ในทางกลับกัน ชนรุ่นหลังจะได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจที่เราตัดสินใจในวันนี้ พวกเราทุกคนมีทางเลือก: ไม่ว่าจะดำเนินไปตามปกติ หรือรับความท้าทายใหม่และลงทุนเพื่อวิถีชีวิตที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ชนรุ่นปัจจุบันและในอนาคตเพื่อชุมชนและประเทศชาติของเรา ’ การป้องกันโรคเรื้อรัง: การลงทุนที่คุ้มค่า

เอกสารอ่านเพิ่มเติม

  • WHO/FAO (2003) Technical Report  T 916 ‘Diet, nutrition and Prevention of Chronic Disease’
  • WHO Preventing Chronic Disease, A Vital Investment
  • Popkin B (2001) Journal of Nutrition 131;871S-873S ‘Transition and Obesity in the Developing World’
  • Yoon KH, et al (2006) Lancet Vol. 368, Issue 9548, 11 November 2006, Pages 1681-1688 ‘Epidemic obesity and type 2 diabetes in Asia’
หมายเลขบันทึก: 320899เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2009 09:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท