รักอย่างไรที่วัยรุ่นต้องการ(6)


การทำงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับเด็ก

การทำงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับเด็ก 

การทำงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับเด็ก  ก่อนอื่นคงต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเด็กแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างหลากหลายทั้งในด้านต้นทุนชีวิต วิธีคิด วิถีปฏิบัติ และการแสดงออกที่ถูกหล่อหลอมผ่านการเลี้ยงดูของพ่อแม่ การเลียนแบบดาราจากสื่อ และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่คบหากันทั้งในและนอกโรงเรียน สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราจะทราบได้จากการสร้างความคุ้นเคยเพื่อสร้างความไว้วางใจ ด้วยการพูดคุย การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ การสังเกต การรับฟังสิ่งที่เด็กคิดอย่างไม่ด่วนสรุปตัดสิน และการใช้กระดาษให้เขียนระบายความรู้สึกเพื่อฝึกการสื่อสารความคิดในหัวข้อที่ใกล้ตัว เช่น ความรู้สึกอึดอัดสับสนของตนเอง ความรู้สึกที่มีต่อเพื่อน และความรู้สึกที่หนักใจเกี่ยวกับการเรียนและครูผู้สอน เป็นต้น 

การทำงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับเด็ก ต้องใช้เวลาในการทำงานอย่างต่อเนื่องไม่ใช่ทำครั้งเดียวแล้วจะได้ผล โดยอาศัยบรรยากาศการทำงานในแนวราบ ที่เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็ก และเปิดโอกาสให้เด็กได้แลกเปลี่ยนความคิดอย่างไม่ปิดกั้น มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการพบกันในแต่ละครั้งเพื่อรู้จักเด็กเป็นรายบุคคล สามารถจดจำประเด็น ลักษณะเด่น และเรื่องราวที่เด็กๆ แลกเปลี่ยนและเปิดเผยให้เราทราบ เพื่อพัฒนาต่อยอดความคิดและเสริมทักษะในสิ่งที่เด็กๆ ต้องการได้ตรงตามความต้องการของเด็กในขณะนั้น การยอมรับและความไว้วางใจ และความร่วมมือก็จะเกิดขึ้น

เป็นยังไงบ้างคะ ท่านได้รู้จักแนวทางในการทำงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับเด็กแล้วอย่าลืมอ่านตอนต่อไปนะคะ  ซึ่งจะนำเสนอเกี่ยวกับกิจกรรม YC เพื่อนให้คำปรึกษาเพื่อนในโรงเรียน  แล้วพบกันค่ะ

หมายเลขบันทึก: 319933เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2009 08:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท