PM easy 2/3(Schedule of project management)


การบริหารจัดการเกี่ยวกับเวลา โดยมีด้วยกัน 3 วัตถุประสงค์คือ 1) เป็นการให้คำมั่น 2) เป็นการสร้างแรงกระตุ้น และ 3) เพื่อเป็นเกณฑ์วัดจุดสำเร็จของงาน

ข้อมูลนี้นำมาจาก Web-Site http://www.biz-change.com


          ตารางเวลาการทำงาน เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการจัดการโครงงาน โครงงานที่แล้วเสร็จล่าช้า หรือเสร็จก่อนกำหนดมาก ๆ ไม่จัดว่าเป็นตารางงานที่ดี เนื่องจากอาจจะทำให้การคาดคะเนด้าน ทรัพยากรผิดไปจากที่ควรจะเป็นได้ จึงจำเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการเกี่ยวกับเวลา โดยมีด้วยกัน 3 วัตถุประสงค์คือ 1) เป็นการให้คำมั่น 2) เป็นการสร้างแรงกระตุ้น และ 3) เพื่อเป็นเกณฑ์วัดจุดสำเร็จของงาน เมื่อกล่าวโดยภาพรวม หากมีการทำตารางงานที่ดี จะสามารถจัดสรรค์ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม ควรจัดทำเป็นเกณฑ์วัดที่ชัดเจน หลักในการทำตารางงานนั้น ควรแตกงานออกมาให้ย่อยอย่างเหมาะสมกับผู้ใช้ตารางงาน เช่น PM อาจเป็นตารางงานว่า หน่วยงานใดจะเสร็จเมื่อไหร่ เมื่อมาถึงระดับหัวหน้างาน ตารางงานก็แตกงานตามที่ตนรับผิดชอบ เป็นรายบุคคลภายในหน่วยงานที่ตนควบคุม และเมื่อลึกมาจนถึงระดับบุคคล ก็อาจแตกงานเป็นรายระบบที่ตนรับผิดชอบ เช่นนี้แล้วจะสามารถ วัดค่าความสำเร็จของงานออกมาได้เป็นลำดับชั้น ทำให้รับทราบถึงจุดที่ทำให้งานล่าช้า โดยอาจคำนวนว่างานที่ล่าช้านั้น เลยจุดวิกฤตของงานในภาพใหญ่หรือไม่โดยได้มาจากการคำนวน Work Break Down และ Pert เป็นสำคัญ

 

          การใช้ Methodologies ต่าง ๆ เข้ามาเป็น Concept หลักในการพัฒนางาน ถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างตารางงาน ทั้งนี้เนื่องจาก แต่ละ Methodologies นั้น การกำหนดช่วงเวลาในการทำงานจะแตกต่างกันไป เช่นในการใช้ Water Fall Model จะมีการตัดงานเป็นช่วง ๆ ต่างจาก Unified Process ซึ่งถือว่างานนั้นจะมีลักษณะ เป็น Parallel กันไปเกือบจะตลอดเวลา เพียงแต่ในแต่ละช่วงนั้นมีอะไรอ่อนเข้มกว่ากัน ซึ่งในการเลือกใช้ Methodologies ที่ดีนั้น จะต้องคำนึงถึงขนาดของโครงงาน ขนาดขององค์กรณ์ เช่นหากมีการพัฒนาเดี่ยว ๆ โครงงานไม่ซับซ้อย อาจเลือกเป็นการพัฒนาในรูปแบบ Agile คือผู้พัฒนาและออกแบบอาจเป็นคนเดียวกัน เน้นความใกล้ชิดกับผู้ให้ Requirement เป็นสำคัญ หรือหากโครงงานเน้นการพัฒนาแบบรากฐาน ไม่ค่อยมีการนำส่วนต่าง ๆ มาประกอบกัน อาจเลือก Methodologies จำพวกสนับสนุน โครงสร้าง (Structure Concept) แต่หากเป็นการพัฒนาระบบขนาดใหญ่ที่อาจมีการเรียก Code บางส่วนซ้ำกันไปมา ก็ควรเลือกแนวทางในการพัฒนาแบบ Unified Process เพื่อสนับสนุนการพัฒนาแบบ Object Oriented

          ทั้งนี้ปัจจัยหลักในการล้มเหลวหรือสำเร็จของการกำหนดตารางเวลานั้น ส่วนใหญ่มาความสามารถและความรู้ของ PM เป็นสำคัญ PM นั้นควรมีการแบ่งงานที่เหมาะสม เลือกคนให้ตรงกับงาน รู้ว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ มีความกระจ่างในตัวโครงการที่ทำรู้ว่าอะไรยากอะไรง่าย และรู้ว่าในความต้องการด้านธุรกิจ ควรนำการพัฒนาด้านเทคนิคด้านใดมาตอบโจทย์

หมายเลขบันทึก: 319886เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2009 00:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท