แนวตอบข้อ 4


แนวตอบข้อ 4

                                                 การนำแผนสู่การปฏิบัติ

การนำแผนยุทธศาสตร์ ไปสู่การปฏิบัติประสบความสำเร็จได้ จะต้องมีการ ดำเนินงานในประเด็นต่อไปนี้
1. การประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรทุกคนได้ "รู้และเข้าใจ" แผนยุทธศาสตร์
2. การสร้างความตระหนักให้บุคลากรทุกฝ่าย ทุกหน่วยงาน ทุกหมวดวิชาและ
ทุกระดับชั้นได้ “ยอมรับและร่วมมือ” ในการนำแผนยุทธศาสตร์ไปจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
3. การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ต้องอาศัยการวางแผนแบบมีส่วนร่วม ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการประจำปีต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีดำเนินงาน ทรัพยากรที่ ต้องใช้ กำหนดผู้รับผิดชอบ และกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน
4. เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์สมบูรณ์ยิ่งขึ้นควรจัดทำ Gantt's Chart แสดงโครงการ ตามแผน 5 ปีและจัดทำดัชนีวัดหรือตัวชี้วัด ความสำเร็จที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละ “เป้าหมาย”
5. ควรมีคณะกรรมการติดตาม ประเมิน ที่ประกอบด้วยบุคลากรทุกฝ่าย ให้ทำหน้าที่กำกับติดตามและประเมินผล ภายหลังที่แผนประกาศใช้แล้ว 2 ปี และ 4 ปี เพื่อมาทบทวนพิจารณาปรับปรุงแผน เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

 

               การประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 

                เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน

                เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า ( Rating  Scale)  5  ระดับ ตามแบบของ                                                                                  ลิเคอร์ท  ( Likert )

               1.  แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อการดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพ      

                2.  แบบสอบถามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อการดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

                3.  แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของนักเรียน    ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 

ยุทธศาสตร์สู่ความสำเร็จในการบริหารงานในโรงเรียน

ยุทธศาสตร์การดำเนินงานให้การบริหารจัดการศึกษาที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานบรรลุผล จำเป็นจะต้อง

กระจายอำนาจและพัฒนาสถานศึกษา ดังนี้

5.1 ดำเนินการให้สถานศึกษาพัฒนาวิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ เป้าหมาย และวิธีการดำเนินการ

ของสถานศึกษาอย่างชัดเจน ที่มุ่งสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง มิใช่จัดทำเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชารับทราบและ

ชื่นชม ความสำเร็จอยู่ที่การปฏิบัติตามแผน มิใช่การนำเสนอแผน

5.2 ให้สถานศึกษามีทีมงานที่มีคุณภาพหลากหลาย จะต้องมีคณะทำงานทั้งแนวตั้งและ

แนวนอน โดยคณะครูเป็นผู้นำ ภายใต้การกำกับดูแลของผู้บริหารโรงเรียนที่มีภาวะผู้นำสูง เปิดกว้างให้ครู

และผู้ปกครองมีส่วนร่วมเป็นสมาชิก จัดระบบการสื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ทุกคนมีส่วนร่วมใน

การตัดสินใจ รับรู้และชื่นชมผลงานร่วมกัน

5.3 พัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาให้เป็นมืออาชีพ ทั้งในด้านมาตรฐานวิชาชีพ คุณธรรม

จริยธรรม มีความสามารถและทักษะทั้งในด้านหน้าที่และกระบวนการ มีการพัฒนาตนเองให้ทันสมัยใน

วิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

5.4 พัฒนาระบบข่าวสารข้อมูลในสถานศึกษา สถานศึกษาต้องมีกลไกในการจัดระบบข่าวสาร

ข้อมูล มีระบบสารสนเทศที่ทันสมัย สื่อสารได้หลายทาง รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสารข้อมูล

ไปยังผู้ปกครองและชุมชนภายนอกด้วย

5.5 ให้เกียรติและยกย่องครูเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน เช่น การจัดทำป้ายหรือให้คำ

ชมเชย การจัดเลี้ยงในวาระต่าง ๆ การให้เกียรติบัตร การเสนอเข้าประกวดผลงาน รวมทั้งการพิจารณาเลื่อน

ขั้นเงินเดือน เป็นต้น

5.6 ยกย่องผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นมืออาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จ

สามารถอำนวยความสะดวกและผลักดันให้การปฏิรูปการศึกษาก้าวหน้า ประสบความสำเร็จสูง สามารถ

ประสานพลังของกลุ่มต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างศรัทธาที่ทำให้ครูจัดกิจกรรมการ

เรียนการสอนให้ผู้เรียนรู้วิธีเรียน ครูเปลี่ยนวิธีสอน จัดบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ผู้บริหาร

สถานศึกษาดังกล่าวจะต้องได้รับการยกย่องสรรเสริญในรูปแบบต่าง ๆ

5.7 มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี การดำเนินงานของสถานศึกษาจะต้องประชาสัมพันธ์ทุกด้าน

ในด้านวิชาการจะต้องประสานสัมพันธ์กับผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาด้านอื่น เช่น การพัฒนาแหล่ง

เรียนรู้ การจัดภูมิทัศน์ในโรงเรียน การจัดบริการที่ดี เช่น โครงการอาหารกลางวัน จำเป็นต้องประชาสัมพันธ์

ให้ทั่วถึงและต่อเนื่อง__

 

                         การวางแผนระยะสั้น (short range Planning) เป็นการวางแผนเพื่อให้ครอบคลุมและเป็นไปตามเป้าหมายปฏิบัติการหรือแผนปฏิบัติการที่วางไว้โดยปกติ แผนระยะสั้นจะต้องสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแผนระยะยาว ระยะเวลาสำหรับการวางแผนระยะสั้นมักเป็นช่วงเวลาของการดำเนินงานในปัจจุบัน ซึ่งถือเอาช่วงเวลาภายในเวลา 1 ปีเป็นเกณฑ์ แผนระยะสั้นจะช่วยให้การบริหารการปฏิบัติงานประจำวันเป็นไปด้วยความราบรื่นเรียบร้อย
                     การวางแผนระยะปานกลาง (Intermediate Range Planning) การวางแผนระยะปานกลาง จะครอบคลุมเวลาในการดำเนินงานตามแผนตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี แผนระยะปานกลางจึงทำหน้าที่เป็นสื่อกลางประสานระหว่างแผนระยะยาวกับแผนระยะสั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานภายในองค์กรเป็นไปตามยุทธวิธี และเป้าหมายยุทธวิธีที่วางไว้ บางครั้งองค์กรธุรกิจบางแห่ง อาจรวมเอาการวางแผนระยะสั้นและการวางแผนระยะปานกลางเข้าด้วยกัน โดยมีเป้าหมายในการทำกำไร ขององค์การเป็นหลัก หรือาจใช้วิธีวางแผนะรยะปานกลางเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหรือสำหรับการขยายกิจการ และขยายกำลังการผลิตโดยใช้ช่วงเวลา 1 ปีถึง 5 ปีเป็นเกณฑ์
                     การวางแผนระยะยาว (Long range Planning) เป็นการวางแผนในระดับกลยุทธ์โดยมีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยงการบริหารและการปฏิบัติการภายในองค์กรเข้ากับสภาวะแวดล้อมปกติ การวางแผนระยะยาย จะคำนึงถึงอนาคตข้างหน้าไม่ต่ำกว่า 5 ปีขึ้นไป แม้ว่าการวางแผนระยะยายจะตั้งอยู่บนความไม่แน่นอนของสถานการณ์แวดล้อม แต่หลายๆ องค์กรก็สามารถช้ากรวางแผนระยะยาวให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้ เช่น ใช้การวางแผนระยะยาวในการพัฒนาทักษะและฝีมือของแรงงาน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้แรงงานในอนาคตผู้บริหารบริษัทซีรอกซ์ใช้การวางแผนระยะยาวสำหรับการสร้างสรรค์สายผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่จะสนับสนุนเป้าหมายกลยทุธ์ขององค์กร ในการสร้างความเป็นหนึ่งของโลกในธุรกิจกระบวนการเอกสาร และวางแผนใช้เวลาถึง 10 ปีในการพัฒนาด้านการตลาดของเทคโนโลยีด้านเอกสารและใสการสร้างสรรค์เครื่องจักรคอมพิวเตอร์ดิจิตอลแบบตั้งโต๊ะ เพื่อใช้งานด้านเอกสารสำเนามี่มีความเร็วสูงและมีคุณภาพสูง

 

ขั้นตอนการวางแผน

-แต่งตั้งคณะทำงาน ถ้ามีคณะกรรมการสถานศึกษาร่วมเป็นคณะทำงาน ด้วย จะได้เป็นไปตามความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง -รวบรวมข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เช่น นโยบายในระดับต่างๆ แผนการศึกษาขั้นพื้นฐานในทุกระดับ ผลการศึกษาความต้องการของท้องถิ่น ชุมชนโดยรอบโรงเรียน -วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทั้งหมด โดยใช้หลักการ วิเคราะห์ Swot-Analysis ถ้าหากได้ทำแล้วและบริบทตามกระบวนการ ไม่มีเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่ ก็น่าจะนำมาสังเคราะห์ได้ -ร่างทิศทางการพัฒนาสถานศึกษา เช่น วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ภายในกรอบระยะเวลา ๕ ปี หรือจะนำทิศทางจาก แผนกลยุทธ์ของโรงเรียน ที่มีอยู่แล้วมาทบทวนอีกครั้งก็คงได้ -จัดทำร่างกลยุทธ์หลัก ที่คณะทำงานจะใช้ในการขับเคลื่อน การดำเนินงานของสถานศึกษา โดยใช้ข้อมูลผลการสังเคราะห์ จุดแข็ง-จุดอ่อน เป็นเป้าหมายในการกำหนด -ร่างโครงการ(ไม่ต้องละเอียด) ที่จะสนับสนุนกลยุทธ์ทั้งหลายของ โรงเรียน เพื่อผลักดันกลยุทธ์หลักไปสู่ความสำเร็จ -คณะทำงานจัดทำเอกสารร่างแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานสถานศึกษา (School Improvement Planning) เสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อปรับร่างแผนฯ ครั้งที่๑ และวางกรอบงบประมาณ รายรับรายจ่าย ล่วงหน้า เพื่อการจัดสรรงบประมาณของโรงเรียน -คณะทำงานปรับร่างแผนและประมาณการรายรับ รายจ่าย แล้วให้นำเสนอ ต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ -แผนฯ ที่ผ่านความเห็นชอบจาก คณะกรรมการสถานศึกษา ให้มีการ ลงนามรับรอง โดยประธานคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้บริหารโรงเรียน ประกาศใช้ แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ประกาศใช้แล้ว ให้ถือเป็นภารกิจ ที่ผู้บริหาร คณะครู ถือปฏิบัติภายในระยะ ๕ ปี หรือภายในระยะ ๕ ปี มีความ ประสงค์ จะทบทวนแผน ก็ให้เสนอต่อ คณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อให้ความ

เห็นชอบใหม่ทุกครั้ง

 

หมายเลขบันทึก: 319717เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2009 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 06:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เป็นไงบ้าง...ครูมาลา
  • สบายดีมั๊ยครับ

ขอบพระคุณค่ะท่านอาจารย์ ดิฉันสบายดีค่ะ ตอนนี้ที่ร้อยเอ็ดอากาศหนาวแห้งแล้ง

รู้สึกศรัทธาในภูมิรู้ของท่านมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท