การจัดการความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา


ยาเสพติดได้รุกคืบเข้ามาในสถานศึกษาหลายแห่ง อันตรายที่ผู้เกี่ยวข้องไม่ควรวางเฉย

ปัญหายาเสพติด  เป็นสิ่งที่ทำให้หลายฝ่ายหนักใจ  และพยายามหาทางแก้ไข  โดยเฉพาะมันได้รุกคืบเข้าไปสู่สถานศึกษาหลายแห่ง  จำเป็นอย่างยิ่งที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันหาทางป้องกันและแก้ไข  โดยการแบ่งปันความรู้  หรือ  แชร์  Best  practice 

หมายเลขบันทึก: 319611เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2009 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ดีครับ...ท่าน jiraporn sawasdiruk jiraporn
  • ต้องช่วยกัน ถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกฝ่าย!!!

ขอบคุณ ท่าน atozorama

กิจกรรมเชิงรับอย่างเดียว ไม่ทำให้ปัญหาลดน้อยลง หากท่านมีกิจกรรมเชิงรุก หรือ Best Practice ดี มาแชร์กันนะคะ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

Jiraporn

การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา จากการสัมภาษณ์เชิงลึก

โรงเรียนที่ 1. คุณครูรัชนีพร จากโรงเรียนวัดสลักเหนือ ซึ่งเป็นโรงเรียนขยายโอกาสเล่าให้ฟังว่า ได้ให้สภานักเรียนดำเนินการหาแกนนำ ห้องละ 4 คน ตั้งแต่ชั้นป. 3 - ม.6 ได้แกนนำประมาณ 55 คน คอยสอดส่องพฤติกรรมเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน

2. มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง 100 %

3. มีตำรวจ ครู DARE เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และชุมชนคอยเป็นหูเป็นตาให้และมาให้ความรู้อยู่เสมอ

4. หากพบกลุ่มเสี่ยง เรียกมาสอบถามและจัดอบรมให้ความรู้

5. ผู้บริหาร ครู บุคลากรในสถานศึกษาทุกคนและผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการเฝ้าระวังบุตรหลานได้ดีมาก

สัมภาษณ์เชิงลึก

โรงเรียนที่ 2 คุณครูจักรี จากโรงเรียนวัดสโมสร เล่าว่า

- ให้ความรู้ โดยการจัดอบรม จัดป้ายนิเทศ

- เยี่ยมบ้าน โดยครูผู้รับผิดชอบ และฝ่ายปกครอง

- ทำโครงการต่อเนื่องในการดูแลช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาครอบครัว

- ให้ชุมชนเข้ามามีบทบาท ดูแล ช่วยเหลือเด็ก ๆ

- ตำรวจและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาให้ความรู้อยู่เสมอ

- 2 สัปดาห์ / ครั้ง ในการตรวจปัสสาวะ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและตำรวจ

- สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากสารเสพติดในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

และได้เสนอข้อค้นพบว่า ส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กมีความเสี่ยงเนื่องจาก พฤติกรรมตามอย่างของเด็ก การกลัวเพื่อนไม่ยอมรับ และการเข้ากลุ่มเพื่อนที่พฤติกรรมไม่ดี สิ่งเหล่านี้ เราทุกคนที่มีส่วนรับผิดชอบต้องคอยเฝ้าระวังกัน

โรงเรียนที่ 3 คุณครูวิศณุ โรงเรียนนครนนท์วิทยา มีการดำเนินการ ตั้งแต่ให้ความรู้ เดินรณรงค์ จัดกิจกรรมในวันสำคัญ

และมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตำรวจ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้อยู่เสมอ ครูที่ปรึกษาจะคัดกรองนักเรียนเป็นประจำ ทุกเดือน แล้วส่งผลมายังฝ่ายปกครอง หากมีปัญหาหรือสงสัยว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง ก็จะเรียกพบโดยมีผู้ปกครองเข้ามาร่วมแก้ปัญหาด้วย

โรงเรียนที่ 4 คุณครูบุญรอด ทรัพย์สำเริง โรงเรียนราษฎร์นิยม ดำเนินการ ดังนี้

1. อบรมตามนโยบายหลัก

2. บูรณาการความรู้เรื่องอันตรายจากยาเสพติด ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

3. ใช้ ศิลปะ ดนตรี กีฬา ในการต่อต้านยาเสพติด

4. จัดกิจกรรมรณรงค์

5. เชิญวิทยากรจาก ปปส. บางเขน มาให้ความรู้อยู่เสมอ

6. ศึกษา ดูงาน ด้านการป้องกันยาเสพติด ภาคเรียนละ 2 ครั้ง

มีข้อค้นพบ จากการศึกษาดูงานต่างจังหวัด ซึ่งถือเป็น Best Practice ที่สามารถนำมาแชร์กันได้คือ คนที่ติดบุหรี่

ให้เขาออกกำลังกาย ทำกิจกรรมมาก ๆ หรือเข้าร่วมในชุมชนบำบัดโดยให้ผุ้ปกครองมีส่วนรับผิดชอบด้วย จะได้ผลดี

ในวันที่ 11 ธันวาคม 2552

ศูนย์อำนวยการประสานงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ภาคเยาวชน จังหวัดนนทบุรี ( ศอ.ปส.ย.จังหวัดนนทบุรี )

ได้จัดประชุม เยาวชนแกนนำ จากสถานศึกษาในจังหวัดนนทบุรี โดยมีบทบาทภารกิจสำคัญ ดังนี้

1. ขยายเครือข่ายสมาชิกระดับจังหวัด

2. ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ

3. ประสานนโยบายและแผน

4. จัดทำแผน/ โครงการ / งบประมาณ

5. ประเมินผล สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา จังหวัดนนทบุรี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 ในฐานะผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการได้ตั้ง ศอ.ปส.ย. จังหวัดนนทบุรี เพื่อเลือกเยาวชนแกนนำมาดำเนินการดังกล่าว โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการอำนวยการ และคณะกรรมการศูนย์ประสานงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคเยาวชน เป็นผู้ดูแลและช่วยเหลือ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท