งานวิจัยเรื่องที่ 6


สรุปงานวิจัย

ชื่อเรื่อง  ความต้องการการนิเทศงานวิชาการภายในสถานศึกษาของครูในโรงเรียน

             สังกัดเมืองพัทยา

ผู้วิจัย     ณรงค์   ผิวอ่อน   

ที่วิจัย    มีนาคม  2550

วัตถุประสงค์  

1.เพื่อศึกษาความต้องการการนิเทศงานวิชาการภายในสถานศึกษาของครูสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

2.เพื่อเปรียบเทียบความต้องการการนิเทศงานวิชาการภายในสถานศึกษาของครูสังกัดเมืองพัทยา ระหว่างครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ทางการสอนที่แตกต่างกัน

 วิธีวิจัย                     

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  

         ประชากรที่ทำการวิจัยในครั้งนี้ คือ ครูในโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยาจำนวน 562 คนและเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับตารางของ เครจซี่ และมอร์แกน ( Krajcie & Morgan, 1970 อ้างถึงในบุญชม  ศรีสะอาด,2538,หน้า 187 )

          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาที่เป็นครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองพัทยา จำนวน234 คนโดยได้ทำการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประสบการณ์ทางการสอนของครูสังกัดเมืองพัทยา จากนั้นกำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้น ( Stratified  Random  Sampling )  จำแนกตามประสบการณ์ทางการสอนโดยใช้สัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดต่อกลุ่มประชากรทั้งหมดเป็นเกณฑ์

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

         ในการทำวิจันครั้งนี้ใช้แบบสอบถามวัดความต้องการการนิเทศงานวิชาการภายในสถานศึกษาของครูโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยาที่ผู้วิจันสร้างขึ้นซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้

1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับครูได้แก่ เพศ อายุ ประสบการณ์ในการสอนและลักษณะการสอน

2. แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการการนิเทศงานวิชาการภายในสานศึกษาของครูโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา เป็นแบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า ( Rating  Scale)  5 ระดับ ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดจากเอกสารของ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 10-46) ชื่นสุข   วัฒนานุกิจ(2545) และกนกพร   จันทุมมี (2544) และนำมาสร้างเป็นแบบสอบถาม โดยคลอบคลุมเนื้อหาดังนี้ คือ การจัดการและพัฒนาบุคลากร การพัฒนาหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการหาคุณภาพของเครื่องมือตามขั้นตอนดังนี้

 1.นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงขึ้นให้คณะกรรมการผู้ควบคุมงานนิพนธ์ตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุง

2.นำแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงแล้วไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 ท่านตรวจสอบและพิจารณาความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง การใช้ภาษา และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงให้เหมาะสม

3.นำแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับครูที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน

4.นำแบบสอบถามที่ผ่านการทดลองแล้วมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพดังนี้

   4.1 หาค่าอำนาจจำแนกด้วยวิธีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน(Pearson Product-Moment Coefficient) ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม ต้องมีค่าอำนาจจำแนก .20 ขึ้นไปจึงจะใช้ได้ (นงนุช  ภัทราคร,2538, หน้า372)โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .21-.76

   4.2 การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา ( Coefficient Alpha) ของครอนบาค แบบสอบถามต้องมีค่าความเชื่อมั่น .70 ขึ้นไปถึง 1.0 (ไพศาล  หวังพานิช,2530,หน้า 142) โดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .97

5.การประเมินค่าคะแนน ทำได้ดังนี้

                ความต้องการการนิเทศงานวิชาการ            คะแนน

                   ความต้องการมากที่สุด                           5

                   ความต้องการมาก                                 4

                   ความต้องการปานกลาง                          3

                   ความต้องการน้อย                                 2

                   ความต้องการน้อยที่สุด                          1

                ในการวิเคราะห์และแปลผลโดยสรุปรวมนั้น ผู้วิจัยได้อาศัยคะแนนเฉลี่ยซึ่งได้ปรับปรุงมาจากเกณฑ์ของ บุญชม  ศรีสะอาด (2538,หน้า 22-25) ดังนี้

ความต้องการการนิเทศงานวิชาการ                                       ค่าคะแนน

          ความต้องการมากที่สุด          ค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่าง    4.51 – 5.00

          ความต้องการมาก                ค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่าง    3.51 – 4.50

          ความต้องการปานกลาง         ค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่าง    2.51 – 3.50

          ความต้องการน้อย               ค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่าง     1.50 – 2.50

         ความต้องการน้อยที่สุด         ค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่าง     1.00 – 1.50

วิธีเก็บรวมรวมข้อมูล

1. ผู้วิจัยขอหนังสือจากภาควิชาบริหารการศึกษาถึงสำนักการศึกษา เมืองพัทยา เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์การวิจัยและขอความร่วมมือในการเก็บข้อมูล

2. ผู้วิจัยส่งแบบสอบถาม (ภาคผนวก ก )ไปยังครูสังกัดเมืองพัทยาคนละ 1 ฉบับ โดยผู้วิจัยเป็นผู้เก็บแบบสอบถามคืนด้วยตัวเอง

3. ส่งหนังสือติดตามไปยังครูสังกัดเมืองพัทยาที่ยังไม่ได้ส่งแบบสอบถามคืน

4.ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

          ผู้วิจัยนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ   SPSS  for  Windows    Version 14.06 ( Statistical Package for the Social Science/Personal Computer )เพื่อการนำเสนอข้อมูลดังนี้

1.วิเคราะห์ความต้องการการนิเทศงานวิชาการของครูสังกัดเมืองพัทยาใน 5 ด้าน คือ การจัดการและพัฒนาบุคลากร การพัฒนาหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยคำนวณหาค่าคะแนนเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD )

2.เปรียบเทียบคะแนนความต้องการการนิเทศงานวิชาการภายในสถานศึกษาของครูสังกัดเมืองพัทยาระหว่างครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ทางการสอนต่างกัน โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน ( One Way-ANOVA )และลักษณะการสอนที่แตกต่างกันโดยใช้สถิติการทดสอบที  (t-test Independent)

ผลการวิจัยพบว่า

 1.ครูโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยามีความต้องการการนิเทศงานวิชาการโดยรวมในระดับมากและมีความต้องการการนิเทศงานวิชาการในระดับมากทุกรายด้านเช่นกัน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการจัดการหลักสูตร ด้านการจัดการและพัฒนาบุคลากร ด้านสื่อการเรียนการสอนรวมทั้งจำแนกตามตัวแปรประสบการณ์ในการสอนและลักษณะการสอน ต่างก็มีความต้องการการนิเทศงานวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก

2.การเปรียบเทียบความต้องการการนิเทศงานวิชาการตามตัวแปรระดับประสบการณ์ พบว่าครูโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยามีความต้องการการนิเทศงานวิชาการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

3.การเปรียบเทียบความต้องการการนิเทศงานวิชาการตามตัวแปรลักษณะการสอน พบว่าครูโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยามีความต้องการการนิเทศงานวิชาการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

 

 

 

     

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 318995เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2009 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท