ธรรมะกับการศึกษา


        เราต้องทำความเข้าใจนะว่า  ทุกศาสตร์ ย่อมมีเนื้อหาที่เป็นแกนกลางของหลักสูตร คือธรรมะ  เพราะธรรมะ คือความถูกต้อง  ความสมดุล  ความพอดี  ความสอดคล้องกับความเป็นจริง  จึงอยากให้มองความจริง ดังนี้
รัฐศาสตร์ โดย Concept เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความผาสุก แล้วทำทำอย่างไร จึงจะเกิดความผาสุกได้  ก็ต้องมีนักปกครองที่มีคุณธรรม  คนในสังคมมีคุณธรรม มีความรัก ความเอื้อาทรต่อกัน เกื้อกูลสงเคราะห์อนุเคราะห์
เศรษฐศาสตร์  โดย Concept เพื่อสังคมเป็นตัวตั้ง  จะพูดการผลิต  การจำหน่ายจ่ายแจก และการเก็บออม
ศึกษาศาสตร์ โดย Concept เพื่อสร้างความเจริญงอกงามในทุกทุก ๆ ด้าน เช่นด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  สังคมและสติปัญญา 

หากมองในประเด็นนี้แล้วธรรมะกับการศึกษาแทบจะกันไม่ออก  เหมือนกับอาหารที่มีคุณค่า กับสารอาหาร ห้าหมู่  จะแยกกันไม่ออก เพราะอาหารที่ดี ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ จะต้องมีสารอาหารครบห้าหมู่มาดูการจัดการศึกษา  เคยพูดเสมอว่าการจัดการศึกษา เน้นครูเป็นสำคัญ  เมื่อมองลงไปถึงขั้นปฏิบัติการสอน  คือครูสอนคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ  มองในเชิงของการจัดการศึกษาต้องเน้นที่ครูเป็นสำคัญ  คำว่าครูในที่นี้หมายถึง ครูผู้สอน ผู้บริหารในสถานศึกษา ตลอดทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา  ตามที่มีผู้กล่าวว่า “ เด็กคือหัวใจของการศึกษา” ก็อยากบอกต่อไปให้สมบูรณ์ว่า “ครูคือเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจ” เช่นกันจะได้เกิดความสมบูรณ์มากขึ้น

      คำว่าเน้นครูเป็นสำคัญนั้น หมายถึง ตั้งแต่การผลิตครู ให้มีความรู้ ความสามารถ คือให้มีความรู้ดี มีความแตกฉาน  ความสามารถดี คือ คิดเป็น ทำได้  ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น  มีความรักในวิชาชีพครูจริง แล้วจะทำความดีนั้นอย่างมีความสุข
 พัฒนาครู  คือ เมื่อทำงานไประยะเวลาหนึ่งแล้ว ต้องมีการพัฒนาครู  ทบทวนศักยภาพในการทำงาน  คำตอบแทนและสวัสดิการครู  คือครูต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  ภาระหนี้สินครูต้องหมด  ความกังวนด้านค่าครองชีพครู  ความเป็นอยู่ของครูต้องหมดไป คุณธรรมของครู  เช่น คุณธรรม ใจกว้าง เอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ เสียสละ
- สามัคคี  ร่วมมือ ประสานงาน
- ยุติธรรม  ซื่อสัตย์ สุจริต
- รอบคอบ
- ขยัน
- มีความรับผิดชอบสูง
       ยิ่งเป็นพระเณรด้วยแล้วคุณลักษณะอย่างนี้ ยิ่งต้องมีให้เป็นคุณลักษณะที่โดด
เด่นมาก  พระเณรต้องเป็นต้นแบบในด้านคุณธรรม เป็นสำคัญ ให้เป็นวิถีชีวิตดำเนินไปพร้อมกับธรรม คือให้การดำเนินชีวิตที่มีธรรมะเป็นมรรคา  ไม่ว่าสิ่งที่ทำคำที่พูด อารมณ์ที่นึกคิด เป็นวิถีชีวิตแห่งธรรม
       เมื่อชาวบ้านทำงานร่วมกับพระเณร ได้รับการถ่ายเทคุณธรรม  ความดีความถูกต้องไป  จะเป็นการเผยแผ่ไปพร้อมด้วย แต่หากไม่แล้วทำงานร่วมกับพระเณร  เห็นความมักง่าย  เห็นแก่ได้  เต็มไปด้วยทุจริตคดโกง หลอกลวง กลับเป็นตัวปิดกั้นมิให้ประชาชนเข้ามาสู่ธรรม  ไม่มีโอกาสเข้ามาศึกษาธรรม ซึ่งเป็นการทำลายโอกาสอย่างใหญ่หลวง  นี่จึงเป็นโจทย์ใหญ่อีกประการหนึ่งสำหรับผู้ที่บริหารการศึกษาสงฆ์ในปัจจุบันจะต้องนำเอาไปเป็นข้อคิดในการจัดการศึกษาสงฆ์ในยุคต่อไป  ทั้งนี้เพื่อความเจริญยั่งยืนแห่งพระพุทธศาสนาครับผม

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 318964เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2009 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

มาให้กำลังใจที่นำเสนอแนวคิดดี ๆ แก่สาธารณะชนครับ

ภาคเหนือหนาวมากไหม

สาธุ อาวุโส

ขอบคุณครับพระอาจารย์ ตอนนี้ทางเหนืออากาศหนาวมาก ๆ ครับ

สุข...สันติ...สงบ...ร่วมมือ...ช่วยเหลือ...ปรารถนาดีต่อกัน

อยากให้กลับมา...

ขออนุญาตนำไปพูดอัดคลิปส่งอาจารย์ได้ไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท