คุณสมบัติเหลือเชื่อของกาแฟ


คุณสมบัติเหลือเชื่อของกาแฟ

    

เดิม เราอาจจะเข้าใจว่า สารต้านอนุมูลอิสระมีมากในผัก ผลไม้ แต่ใครจะรู้บ้างคะในเมล็ดกาแฟสดก็มีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่เช่นกันโดยมีชื่อ เรียกว่า “กรดคลอโรจีนิก”  ซึ่งสามารถสลายตัวด้วยความร้อนเช่นเดียวกับสารต้านอนุมูลอิสระชื่อ “ฟลาโนวอยด์” ที่พบมากในผักและผลไม้ต่าง ๆ


“รศ.ดร.ชัยชาญ แสงดี” หัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกมายืนยันว่า จาการศึกษาค้นคว้าวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่ากาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระอีกทั้งยังมีมากว่าในชาเขียวที่เคยฮิตถึง 3เท่าทีเดียวค่ะ


รศ.ดร.ชัยชาญ ”กล่าวต่ออีกว่า การดื่มกาแฟเป็นประจำ สามารถป้องกันการเป็นโรคเบาหวาน ลดอัตราการเป็นอัลไซเมอร์ และโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมีหลักฐานที่มากขึ้นว่าการดื่มกาแฟอาจจะป้องกันภาวะตับแข็งและโรคตับได้


แต่เมื่อการคั่ว เมล็ดกาแฟ กรดคลอโรจีนิก อาจสลายตัวไปได้ แต่มิใช่การสูญเปล่าโดยสิ้นเชิง เนื่องจากกรดคลอโรจีนิคจะรวมตัวกับคาร์โบไฮเดรตและกรดอะมิโนและโปรตีนใน เมล็ดกาแฟระหว่างการคั่วให้เป็น “สารเมลานอยดิน”ซึ่งมีสีน้ำตาลอ่อน- น้ำตาลเข้ม ตามอุณหภูมิและระยะเวลาของการคั่วเมล็ดกาแฟ


ที่สำคัญยังพบ อีกว่าหากคนเราดื่มกาแฟเป็นประจำจะทำให้ได้รับสารต้านอนูมูลอิสระอย่างเพียง พอที่จะทำให้ร่างกายไม่เกิดความผิดปกติกับการออกซิเดชั่น อันเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ

แต่เนื่องจากมีการสูญเสีย “กรดคลอโรจีนิก”ส่วนหนึ่งไปในกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟ บริษัทเนสท์เล่ (ไทย) จำกัด จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟผงสำเร็จชนิดใหม่ ซึ่งผลิตจาการผสมผสานเมล็ดกาแฟดิบ กับกาแฟคั่วเข้าด้วยกันค่ะ
 


วัตถุประสงค์ที่ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้น โดยยังคงกลิ่นหอมและรสของกาแฟดั้งเดิมไว้


แม้ว่าธรรมชาติจะ เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์อายุสั้นลง แต่ทว่าธรรมชาติได้ทำให้คนเราได้ค้นพบความลับ ที่ทำให้สามารถยื้อเวลาและต่อลมหายใจให้อยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างยืนยาวนาน ไร้โรคภัยแถมยังสวยงามไร้ริ้วรอยอีกต่างหากค่ะ


อย่าลืมดื่มกาแฟ ทางเลือกใหม่ของสารต้านอนุมูลอิสระนะคะ


ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.horapa.com

คำสำคัญ (Tags): #กาแฟ
หมายเลขบันทึก: 318624เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2009 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท