อย. เตือนอย่าเชื่อ "กาแฟลดอ้วน"


กาแฟลดอ้วน

โดย ปกติ ชา กาแฟ จะมีสารกาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ ซึ่งสารตัวนี้จะออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ และระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้สมองที่เฉื่อยตื่นตัวมากขึ้น สร้างความกระปรี้กระเปร่าช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย โดยขนาดปกติที่ได้รับไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากเป็นขนาดที่แสดงฤทธิ์ทางยา ซึ่งหากรับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลเสียให้เกิดอาการบางอย่าง เช่น กระวนกระวาย ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หงุดหงิดได้

ด้วยเหตุนี้ "กาแฟ" จึงแทบจะกลายเป็นอาหารหลักของผู้บริโภค โดยเฉพาะคนในวัยทำงาน เนื่องด้วยสรรพคุณที่ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า หากแต่ก็มีนักโภชนาการหลายท่านที่กล่าวเตือนนักดื่มกาแฟ ให้ระมัดระวังผลข้างเคียงเรื่อง "ความอ้วน" เพราะน้ำตาล และครีมเทียม

แถมบางครั้งยังพ่วงท้ายด้วย นมข้นหวานเสร้างรสชาติเข้มข้น หวานมัน เหล่านี้เป็นตัวต้นเหตุของวายร้ายที่มีชื่อว่า "ความอ้วน" เข้ามาสร้างความหวาดหวั่น ให้กับผู้ดื่มกาแฟเป็นจำนวนมาก จึงเป็นสาเหตุให้ ผู้ประกอบการหัวใส ต่างงัดกลยุทธ์โน้มน้าวใจ อวดอ้างสรรพคุณ ว่าสามารถกำจัดจุดอ่อนในข้อนี้ได้ทำให้เกิดกระแสนิยมบริโภค "กาแฟลดความอ้วน"


สรรพคุณ "กาแฟลดความอ้วน" เชื่อได้หรือไม่

นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาอ (อย.) กล่าวว่าการโฆษณา "กาแฟกินแล้วผอม" ดังกล่าวถือเป็นการกล่าวอ้างเกินจริง ซึ่งตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 ห้ามมิให้ผู้ใด โฆษณาคุณประโยชน์คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ หรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร

เนื่องจากกาแฟจัดเป็น "อาหาร" ไม่ใช่ "ยา" จึงไม่มีสรรพคุณการบำบัดความอ้วนได้การโฆษณากล่าวอ้างดังกล่าวจึงถือเป็นการ ลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในสรรพคุณอาหาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงขอเตือนให้ผู้บริโภคระมัดระวังผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการกล่าวอ้างในทำนอง นี้

เนื่องจากที่ผ่านมา อย. ตรวจพบว่า มีผู้ประกอบการบางรายลักลอบใส่สาร "ไซบูทรามีน" ซึ่งเป็นยาลดความอ้วนลงไปในอาหาร ซึ่งยานี้เป็นยาควบคุมพิเศษต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และขายได้เฉพาะในสถานพยาบาล เท่านั้นจึงอาจมีอันตรายต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคตับ โรคไต หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร

ถึงแม้กาแฟจะมีส่วนต่อระบบการเผา ผลาญของร่างกาย แต่หากดื่มเป็นปริมาณมากโดยคาดหวังให้ ผอม รูปร่าง อาจเกิดอันตรายได้ เพราะจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ ทั้งยังไม่มีรายงานหรือผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือสนับ สนุนว่าการบริโภคกาแฟสามารถควบคุมน้ำหนักได้


อวดอ้างว่าลดความอ้วน ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อ

นอก จากเรื่อง "ลดความอ้วน" คงเคยได้ยินสรรพคุณขั้นเทพ ที่หยิบยกกันมากกว่านั้น โดยเฉพาะผสมสารสกัดสรรพคุณความงาม อาทิ ไฟเบอร์ คอลลาเจน แอลคาร์นิทีน โครเมียม ฯลฯ ที่ต่างหยิบมาอวดอ้างสรรพคุณสร้างความน่าเชื่อถือไว้มากมาย ให้ผู้บริโภคยอมควักกระเป๋าจ่าย แม้ราคาจะสูงกว่ากาแฟทั่วไปมากก็ตาม

ในส่วนนี้จากการตรวจสอบของสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่า สารสกัดต่างๆ เหล่านั้นเป็นส่วนผสมเพียงเล็กน้อยและไม่มีข้อมูลทางวิชาการยืนยันว่ากาแฟ ที่ผสมส่วนผสมต่างๆ เช่น ไฟเบอร์ คอลลาเจน ทำให้ผู้บริโภคน้ำหนัดลดลงได้ มีผิวสวย หรือเพิ่มความงามแต่อย่างใด จึงไม่อาจกล่าวอ้างเช่นนั้นได้


หุ่นดีได้ ด้วยตัวเรา เห็นผล 100%

ออก กำลังกายสม่ำเสมอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 วัน วันละ 20 - 30 นาที และหยุดตามใจปาก จนเป็นเรื่องคงจะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด การหวังพึ่งพาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ใช่การแก้ไขที่ต้นเหตุปัญหาถึงแม้จะรับประทานผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณ ลดความอ้วนต่างๆ เข้าไป แต่ไม่ระวังในการรับประทานอาการและไม่พยายามเปลี่ยนแปลงนิสัยการบริโภคโอกาส ที่รูปร่างจะกลับมาเหมือนเก่าอีกย่อมแน่นอน

สำหรับผู้ต้องการมีรูปร่างดี ผอม เพรียว อย่างมีสุขภาพอย่าลืมรับประทานอาหารหลากหลายให้ครบ 5 หมู่ รับประทานให้ครบในปริมาณพอเหมาะรับรองช่วยได้ เพราะสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรลืมเลือน ใช่เพียง "ผอม หุ่นดี" แต่ทุกอย่างต้องมีคำว่า "เพื่อสุขภาพที่ดี" พวงท้ายเสมอ

เชื่อเถอะว่า นอกจากจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จได้ชัยชนะพิชิตความอ้วนเด็ดขาดแล้วยังช่วย พิชิตโรคภัยไข้เจ็บไม่ให้มากล้ากลาย โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเสียเงินหมดเปลืองไปกับสินค้าตัวช่วยที่ไม่สามารถรู้ ได้เลยว่า "ช่วยได้จริงหรือไม่"

หากพบเห็นโฆษณาที่หลอกลวงผู้บริโภค สามารถติดต่อแจ้งเบาะแสได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โทร. 02 590 7354-55 หรือ 1556 และสามารถตรวจสอบข้อมูลอันเป็นประโยชน์ได้ที่ www.oryor.com


ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

คำสำคัญ (Tags): #กาแฟลดอ้วน
หมายเลขบันทึก: 318614เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2009 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท