วิจัย


ความคาดหวังของผู้ปกครองของนักเรียนต่อการบริหารงานของโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์  จังหวัดจันทบุรี

ภาวินี   กำไร

ตุลาคม   2548

วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1. ประชากร ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังศึกษาในโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์  จังหวัดจันทบุรี ปีการศึกษา  2548 จำนวน  3,029  คน

2. กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  ผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังศึกษาในโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์  จังหวัดจันทบุรี  ปีการศึกษา  2548 โดยตาราง เครจซี และมอร์แกน (Krejcie  & Morgan,1970,p.608)ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน  341  คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified  Random Sampling) โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม  ตามอาชีพ คือ ข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ  และอาชีพอื่นๆ

เครื่องมือในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารงานของโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์  จังหวัดจันทบุรี  เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าชนิด  5  ระดับ  ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert) แบ่งออกเป็น 2 ตอน

ตอนที่ 1. เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสำรวจรายการ  (Cheek list)

ตอนที่ 2. เป็นแบบสอบสอบถามเกี่ยวกับ ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารงานของโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จังหวัดจันทบุรี ใน 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานกิจการนักเรียน การบริหารงานอาคารสถานที่ การบริหารงานความสัมพันธ์กับชุมชน  เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating  Scale)

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. ขอหนังสือจากภาควิชาบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา ถึงผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์  ขอความอนุเคราะห์เพื่ออำนวยความสะดวกในการเก็บข้อมูลจากผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์  จังหวัดจันทบุรี ในการกรอกแบบสอบถาม

2. กำหนดวันในการเก็บรวบรวมแบบสอบถามและวิจัยดำเนืนการเก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเอง

3. จำนวนแบบสอบถามที่ส่งไป  จำนวน 341 ฉบับ ได้รับกลับคืนมา  จำนวน 341 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

1. ผู้ปกครองมีความคาดหวังต่อการบรืหารงานของโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จังหวัดจันทบุรี อยู่ในระดับใด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

1.1 วิเคราะห์ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารงานของโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ ทั้ง 4 ด้าน โดยค่าคะแนนเฉลี่ย X

1.2 วิเคราะห์การกระจายคะแนน  โดยการหาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD

จากผู้ตอบแบบสอบถาม

2. เปรียบเทียบความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีอาชีพต่างกัน ต่อการบริหารงานของโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์  จังหวัดจันทบุรี แตกต่างกัน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าการทดสอบค่าที (t-Test)

ผลการวิจัย   

1. ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบรืหารงานโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จังหวัดจันทบุรี  ด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ มากเป็นอันดับ 1

2. ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารงานของโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จังหวัดจันทบุรี ของผู้ปกครองนักเรียนมีอาชีพต่างกัน ไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ (Tags): #สรุปงานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 318505เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2009 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท