2. ด้านการออกแบบกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร
ประกอบด้วย
2.1) แนวคิดในการออกแบบ ได้แก่ ทำงานไปพร้อมกับการเรียนรู้และพัฒนา โดยการทำไปปรับไป PDCA, มาจาก LO, เกิดจาก Learning โดยไม่รู้ตัว,ความรู้นั้นมีอยู่ทุกที่, มุ่งในการปรับพฤติกรรมองค์กร และใช้การตรวจสุขภาพองค์กร เพื่อผลักดันให้เกิด Skill
2.2) ขั้นตอนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย กำหนดความรู้, แสวงหาความรู้, แลกเปลี่ยนเรียนรู้, การประเมินผล, การรวบรวมความรู้เป็นฐานความรู้, ใช้การสรุปประเด็นเล็กๆ ในแบบง่ายๆ และดูงานจากหน่วยงานอื่นๆ ที่ทำ KM ได้ดี
2.3) สิ่งที่ต้องพิจารณา ได้แก่ ศึกษาต้นทุนเดิมที่มีอยู่แล้วในองค์กร, ดู Vision ขององค์กร, สร้างฝันตามวิสัยทัศน์ ทำงานเป็นทีม, มีช่องทางการสื่อสารจากผู้รู้ในองค์กร, รู้จักตัวตนของคุณกิจให้มาก เพื่อให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยไม่ต้องพูด, มีการให้รางวัลกับผู้ทำงาน และนำผู้บริหารเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบกระบวนการ
2.4) การออกแบบการประชุม ประกอบด้วย เป็นทั้ง Formal/ Informal, เป็นการประชุมแบบ้ไร้รูปแบบ ในทุกโอกาสที่เป็นไปได้, เปลี่ยนแปลงการถ่ายทอดให้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้, นำคนเก่งในพื้นที่/ขอบข่ายมาเล่า และฝึกให้สมาชิกมีทักษะในการสังเกต จดบันทึก กระบวนการ การวางแผน และการสรุป
2.5) รูปแบบการเรียนรู้ ประกอบด้วย Action Learning, เพื่อนช่วยเพื่อน จากชาวบ้าน, การเล่าเรื่อง โดยมีการสอดแทรกอารมณ์ขัน, ศึกษาดูงาน, ส่งคนไปอบรม แล้วกลับมาเล่าให้คนในองค์กรฟัง, ให้คนไปศึกษาความรู้ ทักษะต่างๆ จากภายนอกแล้วนำกลับไปใช้ในองค์กร, Subtopic และเรียนรู้จากรูปธรรมสู่นามธรรมและนำสู่การกระท
2.6)กลุ่มเป้าหมายของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ และประชาชน
2.7)ปัญหา ได้แก่ บุคคลไม่สามารถเก็บเกี่ยวกระบวนการได้หมด และคนลืมเรื่องที่ตนเองจะทำ
2.7) แนวทางในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ ให้บุคลากรอ่านสรุปสิ่งที่ควรรู้ก่อนเข้าประชุม, ให้ทุกคนเล่าเรื่องอย่างละเอียด, ทำให้คุณเอื้อเข้าใจถึงปัญหาในการทำงาน ทางอ้อม, คนที่ทำหน้าที่ในการเป็นคุณอำนวยต้องทำตัวเป็นตัวอย่างในการทำ KM เพื่อให้เกิดศรัทธาจากคนในองค์กร
สำหรับวันนี้เป็นด้านที่สองที่คุณอำนวยต้องมี
พรพิมล หรรษาภิรมย์โชค