สื่อกับความรุนแรง สภาพปัญหาและทางออก


อย่างไรก็ตาม ในประเด็นของการทำ MOU กับสื่อมวลชน ยังพบว่า คงต้องมีการทำงานเชิงรุกกับภาควิชาชีพสื่อมวลชน โดยควรคำนึงถึง (๑) ความรู้ (๒) เครือข่าย และ (๓) การบริหารจัดการ

ในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม) โดย สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ได้จัดสัมมนาเรื่อง "ความร่วมมือในการดำเนินการยุติความรุนแรงในครอบครัวระหว่าง พม กับองค์การพัฒนาเอกชน" โดยมีหัวข้อเรื่อง สื่อกับความรุนแรง ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตาม พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว

โดยที่ได้รับมอบหมายให้เปิดประเด็นเรื่อง สื่อกับความรุนแรง ในเบื้องต้นในนำเสนอถึง

  • อะไรคือความรุนแรง
  • การจำแนกความรุนแรงกับความสัมพันธ์ของสื่อ
  • สถานการณ์ที่สังคมไทยเผชิญอยู่
  • ข้อเสนอในการจัดการ (ดาวน์โหลดเอกสาร)

อย่างไรก็ตาม ในประเด็นของการทำ MOU กับสื่อมวลชน ยังพบว่า คงต้องมีการทำงานเชิงรุกกับภาควิชาชีพสื่อมวลชน โดยควรคำนึงถึง

(๑) องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับนำเสนอภาพความรุนแรงผ่านสื่อ หรือ การนำเสนอสื่อที่อาจส่งผลต่อความรุนแรงโดยไม่คาดคิด ซึ่งอาจจะต้องไปศึกษาถึง ประมวลจริยธรรม หรือ จริยธรรมทางวิชาชีพที่สื่อมวลชนถือปฏิบัติอยู่แล้ว

(๒) การสร้างเครือข่ายเชิงรุกกับสื่อมวลชนที่ทำงานด้านสื่อเพื่อสังคม และ ขยายไปยัง สื่อมวลชนต่างๆ และ รวมไปถึง เครือข่ายภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะเครือข่ายภาคประชาชนในฐานผู้ดูแลติดตาม รวมทั้ง เครือข่ายภาควิชาการในฐานะหน่วยสนับสนุนความรู้เชิงลึก

(๓) การบริหารจัดการเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและร่วมผลักดัน ขับเคลื่อนสื่อเพื่อสิทธิ

หมายเลขบันทึก: 318283เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2009 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 06:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท