สรุปงานวิจัยเล่มที่ 4


สรุปงานวิจัย

เรื่อง  ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชการครูเขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้วิจัย  ดาวเรือง  จงจิตร์

ปีที่วิจัย  มิถุนายน  2547

ความมุ่งหมายของการวิจัย

  1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการทำงานข้าราชการครู  เขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร  จำแนกตำแหน่ง  และสายการสอน
  2. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการทำงานของข้าราชการครู  เขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร  จำแนกตามตำแน่งและสายงาน
  3. เพื่อศึกษาความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชการครู  เขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร   จำแนกตามตำแหน่งและสายการสอน
  4. เพื่อเปรียบเทียบความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชการครู  เขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร  จำแนกตามตำแหน่งและสายงาน
  5. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชการครู  เขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้ศึกษากับประชากรและกลุ่มตัวอย่างดังนี้

  1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ ข้าราชการครูเขตคลองสามวา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกเป็น ระดับตำแหน่งอาจารย์  1  ระดับ  3-5 จำนวน  166  คน อาจารย์ 2  ระดับ  6-7 จำนวน  225  คน  รวมทั้งสิ้น  391  คน
  2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า  ได้จัดกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น(Stratified Random sampling)  ได้แก่ ข้าราชการครูคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร   จำแนกตามระดับ  ตำแหน่ง  และสายการสอน  ได้ข้าราชการครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเป็นระดับตำแหน่งอาจารย์  ระดับ  3-5  จำนวน 98  คน  และอาจารย์2  ระดับ  6-7  จำนวน 98 คน  รวมทั้งสิ้น  196   คน   โดยใช้เกณฑ์กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างจากตารางการสุ่มตัวอย่างของ  เครซี่  และมอร์แกน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล  เป็นแบบสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชการครูเขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร  แบ่งออกเป็น  3  ตอน  คือ

                ตอนที่  1  แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม  เป็นแบบตรวจสอบรายการ

                ตอนที่  2   แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในการทำงานของข้าราชการครูเขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร  ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ คือ  มากที่สุก  มาก ปานกลาง  น้อย  น้อยที่สุด  เป็นการพัฒนามาจาก  วิชัย  คำสำเภา  (2544)

                ตอนที่  3  แบบสอบถามเกี่ยวกับความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชการครูเขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร  ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  คือ  มากที่สุก  มาก  ปานกลาง  น้อย  น้อยที่สุด

การเก็บรวบรวมข้อมูล

  1. ผู้วิจัยขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัยบูรพาถึงผู้อำนวยการเขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร  เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้าราชการครู เขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร
  2. จัดส่งแบบสอบถามจำนวน  196  ฉบับไปยังโรงเรียนในเขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร  เพื่อให้ข้าราชการครูตอบแบบสอบถามโดยผู้วิจัยจัดส่งถึงโรงเรียนและเก็บกลับคืนมาด้วยตังของผู้วิจัยเอง
  3. ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามกลับคืน  จำนวน  196  ฉบับ  คิดเป็นร้อยละ  100

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

                ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS for  windows  ดังนี้

1. การศึกษาความพึงพอใจในการทำงานข้าราชการครู  เขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร  จำแนกตำแหน่ง  และสายการสอน โดยหาคะแนนเฉลี่ย  (X)  และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD)

2.  การเปรียบเทียบความพึงพอใจในการทำงานของข้าราชการครู  เขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร  จำแนกตามตำแน่งและสายงาน โดยการทดสอบค่าที (t-test)

3.  การศึกษาความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชการครู  เขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร   จำแนกตามตำแหน่งและสายการสอน  โดยการหาค่าเฉลี่ย  (X) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD)

4.  เปรียบเทียบความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชการครู  เขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร  จำแนกตามตำแหน่งและสายงาน  โดยการทดสอบค่าที (t-test)

5.  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชการครู  เขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร ใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์อย่างง่าย  (Simple Correlation)

การวิเคราะห์ข้อมูล

  1. ข้าราชการครูเขตคลองสามวา สังกัดกรุงเทพมหานคร  มีความพึงพอใจในการทำงาน ด้านปัจจัยกระตุ้น  และ ด้านปัจจัยค้ำจุน  โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
  2. ความพึงพอใจในการทำงานของข้าราชการครูเขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานครจำแนกตามตำแหน่งและสายการสอน  ด้านปัจจัยกระตุ้นและปัจจัยค้ำจุนโดยรวมและรายด้านพบว่าแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  ยกเว้นด้านความสำเร็จในการทำงานและด้านการยอมรับนับถือแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05
  3. ข้าราชการครูคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานคร  มีความทุ่มเทในการทำงานโดยรวมและรายข้อทุกข้ออยู่ในระดับมาก
  4. ความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชการครูเขตคลองสามวา  สังกัดกรุงเทพมหานครจำแนกตามตำแหน่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสายการสอนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
  5. ความพึงพอใจในการทำงานกับความทุ่มเทในการทำงานของข้าราชครูเขตคลองสามวา

       สังกัดกรุงเทพมหานคร  ด้านปัจจัยกระตุ้นและปัจจัยค้ำจุนพบว่ามีความสัมพันธ์กัน

       อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

คำสำคัญ (Tags): #สรุปงานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 317943เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2009 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 09:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ภัทรชรา ตั๊กหายไปไหนนี่ ตามด่วนเลย

ไปไหนมาหนีเที่ยวล่ะซิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท