ผู้ค้นพบกฎการหักเหของแสง


อิบนุ ซะฮล์

อิบนุ ซะฮล์

Ibn Sahl

อิบนุซะฮล์ (Abu Sa`d al-`Ala' ibn Sahl ค.ศ.940-1000) เป็นนักวิทยาศาสตร์อาหรับในราชสำนักอับบาซียาฮ์ที่กรุงแบกแดด ในปีค.ศ.984 เขาได้ตีพิมพ์หนังสือ On the Burning Instruments (เครื่องมือรวมแสง) หรือ On Burning Mirrors and Lenses อธิบายเรื่องความโค้งของกระจกเงาโค้งและเลนส์ว่าทำให้เกิดการรวมแสงได้อย่างไร

ดังนั้นอิบนุซะฮล์จึงสมควรจะได้เครดิตว่าเป็นผู้ค้นพบกฎการหักเหของแสงเป็นคนแรก แต่ปรากฎว่าในปัจจุบันเราเรียกกฎการหักเหของแสงว่า กฎของสเนลล์ (Snell s law) ซึ่งใช้อธิบายการหักเหของคลื่นเมื่อเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน กฎของสเนลล์มีใจความว่า สำหรับมุมตกกระทบค่าหนึ่ง อัตราส่วนของค่าไซน์ของมุมตกกระทบกับค่าไซน์ของมุมหักเหมีค่าคงตัว สเนลล์ (Willebrord Snellius ค.ศ.1580-1626) นักดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ เกิดทีหลังอิบนุซะฮล์ตั้ง 600 ปีได้เครดิตไปอีกแระ!

ในปี 1990 รอชดี ราเชด (Prof. Dr. Roshdi Rashed ค.ศ.1936-) นักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ชาวอียิปต์-ฝรั่งเศส ได้ตีพิมพ์หนังสือ On the Burning Instruments ของ อิบนุซะฮล์ โดยรวบรวมตำราคัดด้วยลายมือของอิบนุซะฮล์ที่เป็นชิ้นส่วนต่างๆ กระจัดกระจายไปทั้งในห้องสมุดเมืองดามัสกัสและเตหะราน ราเชดนำทั้งหมดมารวบรวมเข้าไว้ด้วยกัน, แปล, และศึกษา จนกระทั่งออกมาเป็นหนังสือ

ใน หนังสือเล่มนี้ เราพบว่าอิบนุซะฮล์ใช้กฎการหักเหของแสงทดสอบรูปแบบของเลนส์ที่รวมแสงโดยไม่ มีการบิดเบือนเชิงเรขาคณิต ซึ่งเรียกกันว่า เลนส์ anaclastic

ในการทำแผนผังจำลองจากตำราอิบนุซะฮล์ขึ้นมาใหม่ จากรูปขวามือบน: ส่วนที่สำคัญที่สุดคือสามเหลี่ยมมุมฉาก ด้านในของสามเหลี่ยมมุมฉากที่อยู่ตรงข้ามกับมุมฉากแสดงให้เห็นแนวรังสีตก กระทบ ส่วนด้านนอกของสามเหลี่ยมมุมฉากที่อยู่ตรงข้ามกับมุมฉากแสดงให้เห็นการขยาย ออกของแนวรังสีหักเหหากรังสีตกกระทบทำกับเส้นแนวฉากของผลึกที่ด้านของสาม เหลี่ยมมุมฉากที่อยู่ตรงกันข้ามกับมุมฉากสองเส้นตัดกัน ราเชดบอกว่าอัตราส่วนของความยาวของด้านของสามเหลี่ยมมุมฉากที่อยู่ตรงกัน ข้ามกับมุมฉากที่สั้นกว่าต่อด้านที่ยาวกว่าจะเป็นไปในทำนองเดียวกับดัชนีหัก เหของผลึก

ด้านล่างของภาพได้แสดงให้เห็นเลนส์นูนแกมระนาบ (ด้านขวา) และเส้นแกนมุขสำคัญ (เส้นตัดแนวนอน) ความโค้งของส่วนนูนของเลนส์ทำให้รังสีทั้งหมดขนานกับแกนนอน (และสัมผัสเลนส์จากทางขวา) ไปยังจุดรวมแสงของแกนทางด้านซ้าย

ใน ส่วนที่เหลือของหนังสือเล่มนี้ อิบนุซะฮล์ได้เขียนเรื่องกระจกสะท้อนแสงแบบโค้งวงกลมและแบบทรงรี เลนส์นูนสองด้าน และเทคนิคในการวาดส่วนโค้งของรูปพาราโบลา

ในเวลาต่อมา ตำราของอิบนุซะฮล์ถูกอ้างอิงโดยอิบนุอัล-ไฮษัม (Ibn al-Haitham ค.ศ.965-1039) นักวิทยาศาสตร์อาหรับผู้เรืองนามด้านแสงและสายตา

ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Ibn_Sahl

คำสำคัญ (Tags): #นักวิทยาศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 317911เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2009 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะ ได้ควาวรู้ดี

ขอบคณุที่ให้ความรู้นะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท