ประสาร สุขสุคนธ์
นาย ประสาร ประสาร สุขสุคนธ์ สุขสุคนธ์

สรุปงานวิจัย เรื่องที่ 5


เรื่องที่ 5

ชื่อเรื่อง สภาพการใช้และปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้วิจัย  อรอำไพ  ศรีสุวรรณ

ปีที่วิจัย 2548

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา

2. เพื่อศึกษาปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา

 

วิธีวิจัย เชิงสำรวจ

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                ประชากร   ประชากรที่ใช้ในศึกษาได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน ชลบุรี ในปี พ.ศ. 2547 จำนวน 1,754 คน

                กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ บุคลากรข้าราชการ ,  พนักงาน สาย ก ข ค และลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 317 คน

 

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

  1. กำหนดนิยามตามเชิงปฏิบัติการของสภาพการใช้และปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรในมหาวิทยาลัย
  2. ศึกษาการสร้างแบบสอบถามจากเอกสารตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพการใช้และปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
  3. ดำเนินการสร้างข้อคำถามที่กำหนดในนิยามเชิงปฏิบัติการ

 

แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 4 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 แบบสอบถามแบบเลือกตอบ (Check List) เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม

ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 27 ข้อ

แบบที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 28 ข้อ

แบบที่ 4 แบบสอบถามคำถามปลายเปิด ข้อเสนอแนะอื่น ๆ เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา ในแต่ละด้าน 4 ด้าน

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

  1. ผู้วิจัยขอหนังสือแนะนำตัวจากวิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพาเพื่อขอความร่วมมือในการแจกแบบสอบถามแก่ข้าราชการ พนักงาน สาย ก ข ค และลูกจ้างชั่วคราว ที่สังกัด กอง/คณะ/โครงการจัดตั้ง ของมหาวิทยาลัย
  2. นำหนังสือแนะนำตัวพร้อมแบบสอบถาม จำนวน 317 ฉบับ ไปทำการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มประชากรของกอง/คณะ/โครงการจัดตั้ง ของมหาวิทยาลัย โดยผู้วิจัยดำเนินการจัดส่งแบบสอบถามรวมทั้งการเก็บแบบสอบถามคืนด้วยตนเอง ได้จำนวน 317 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 และเป็นฉบับที่สมบูรณ์นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์

การวิเคราะห์ข้อมูล

              1.นำแบบสอบถามมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์

                2.แบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์มาตรวจให้คะแนนตามที่กำหนด

                3. นำแบบสอบถามที่ตรวจให้คะแนนไปดำเนินการตามสถิติ ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ แล้วนำมาแปลความหมายข้อมูลโดยนำมาเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย (mean)

 

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติพื้นฐาน   ค่าเฉลี่ย    ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน   

สถิติอ้างอิง    การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)

สรุปผลการวิจัย

  1. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพ ความรู้และประสบการณ์ของบุคลากรในในมหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า เมื่อจำแนกตามเพศ บุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุ 35-42 ปี รองลงมาอายุ 27-34 ปี มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี รองลงมาปริญญาตรี อยู่ในสายงานลูกจ้างชั่วคราว รองลงมาข้าราชการสาย ก มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 1-6 ปีรองลงมา 7-12 ปี
  2. สรุปผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ด้านวัตถุประสงค์การใช่เทคโนโลยีสารสนเทศ  โดยรวมอยู่ในระดับมาก

ด้านการใช้ฮาร์ดแวร์ พบว่า บุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพามีระดับการใช้ฮาร์ดแวร์อยู่ในระดับมาก

ด้านการใช้ซอฟแวร์ พบว่า บุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพามีระดับการใช้ฮาร์ดแวร์อยู่ในระดับปานกลาง

ด้านการใช้ระบบฐานข้อมูล พบว่า บุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพามีระดับการใช้ฮาร์ดแวร์อยู่ในระดับมาก

ด้านการใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคม พบว่า บุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพามีระดับการใช้ฮาร์ดแวร์อยู่ในระดับปานกลาง

3. สรุปผลปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา

ด้านฮาร์ดแวร์ พบว่าบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพามีปัญหาด้านฮาร์ดแวร์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

ด้านซอฟแวร์ พบว่าบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพามีปัญหาด้านฮาร์ดแวร์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

ด้านบุคลากร พบว่าบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพามีปัญหาด้านฮาร์ดแวร์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

ด้านองค์ประกอบสนับสนุนอื่น ๆ  พบว่าบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพามีปัญหาด้านองค์ประกอบสนับสนุนอื่น ๆ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

4. สรุปผลการเปรียบเทียบสภาพการใช้และปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า ปัญหาโดยรวมตัวแปรสถานที่ปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปรอายุ ระดับการศึกษา สายงาน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน จำนวนปีในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

หมายเลขบันทึก: 317906เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2009 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขยันกันจริ๊ง-จริงพี่เรา

ตามมาติดๆเลยนะ...แต่มีข้อสงสัย พนักงานสาย ก ข ค คืออะไร

โอ้โฮอะไรจะเร็วปานนั้นเนี่ย จะไม่รอเพื่อนเลยเหรอ กดดันนะเนี่ย

พี่บอยโปรดทราบ ผอ.ให้ส่งแผนด่วนจ้า ขอย้ำว่าด่วนจ้า (ไม่ต้องรีบส่งเรื่องที่ 6 ก็ได้จ้า)

จะลงเรื่องที่ 5 ต่อนะเนี่ย พอดีข้อมูลหมด เดี๋ยวพี่หาข้อมูลก่อนนะบอย พี่กลัวบอย chock ฮิ ฮิ

ไหนบอกว่าไม่ทันเพื่อน เรื่องที่ 5 แล้ว พักผ่อนบ้างเถอะ ให้เวลาคนที่บ้านบ้าง พี่ว่าจะลงเรื่องที่ 6 แล้วล่ะ แต่กลัวบอยเกลียด เส้นสมองอักเสบ สงสารว่ะ

พิมพ์ผิด จากเกลียด เปลี่ยนเป็น เครียด แก่แล้วทำไงได้ ปิด 3 วัน เที่ยวให้สนุกนะจ๊ะ แต่ระวังแสงแดดด้วยนะจ๊ะ เดี๋ยวผิวน้องบอยจะเสีย ยิ่งขาวอยู่ด้วย

ช่วยด้วย !พี่ประสานทำไหมหนูคัดลอกลงบล็อกไม่ได้

วราภรณ์ ขั้นตอนไหนครับ ไม่ทราบว่าพิมพ์จาก Ms-word หรือป่าว ถ้าใช่ ก็ select all แล้ว copy มาวางลงบล็อคได้เลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท