ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค$๔ จบปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑๘


และเมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตน รู้ความเกิด ความดับ คุณโทษแห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง.

ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค$๔ จบปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑๘

ตอนที่แล้วว่าถึงเรื่อง เอกัจจสัสสตทิฏฐิ ๔ ซึ่งรวมอยู่ในทิฏฐิ ๑๘ อย่างที่ว่าด้วยอดีต จึงมีชื่อว่า ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหม์พวกหนึ่งกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นไปตามขันส่วนอดีต ปรารภขันส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ” นี้แล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นไปตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด สมณหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าวด้วยเหตุ ๑๘ นี้เท่านั้น หรือด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน ๑๘ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งวาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น....

อนึ่งตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด และรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย.

และเมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตน รู้ความเกิด ความดับ คุณโทษแห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.....

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ....

สรูปในปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑๘ ประการ

  • สัสสตทิฏฐิ ๔

  • เอกัจจสัสสตทิฏฐิ ๔

  • อันตานันติกทิฏฐิ ๔

  • อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔

  • อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒

รวมเป็น ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑๘ ประการ

นี้คือทิฏฐิที่เป็นไปในอดีต ๑๘ ประการตามพระพุทธพจน์ครับ ท่านสาธุชนทั้งหลาย ผู้มีธุลีในจักษุน้อยได้โปรดพิจารณา เพิอให้เห็นจริง เพื่อให้แจ่มแจ้ง เพื่อความอาจหาญ ร่าเริงบันเทิงในธรรม.

 ข้าพเจ้าได้ยกเอาพุทธพจน์มาให้ท่านทั้งหลายใคร่สนใจใฝ่ในคำสอนที่เป็นเบื้องบนที่สุดคือ พระไตรปิฏก เป็นคำสอนในชั้นต้นที่สุดที่ควรจะใส่ใจ ต่อมาก็คือคำสอนที่ชื่อว่า สุตตานุโลม อันเป็นคำสอนที่พระอรรถกถาจารย์รจนาขึ้น อันต่อมาก็คือ อาจริยวาท คือวาทะของอาจารย์ต่างๆตั้งแต่ชั้นฎีกาอนุฎีกาและบุรพาจารย์รุ่นหลังเรียบเรียงไว้ ต่อมาอีกคือคำสอนที่เรียกว่า อัตโนมติ หมายถึง ความคิดเห็นของผู้พูด ผู้แสดงธรรมในพระพุทธศาสนา....

  ส่วนข้อที่ว่าคำสอนของใครน่าเชื่อถือมีเหตุ-ผลกว่านั้น ข้อนี้ขอให้ท่านสาธุชนจงใช้ปัญญาของตนๆพิจารณาตามอัชฌาสัยเถิด. แต่ธรรมที่ข้าพเจ้ายกมาให้ได้ยลนี้ กล่าวได้ว่าเชื่อถือได้ มากที่สุด กว่าคำสอนอื่นอันเราชาวพุทธควรที่จะมองดูด้วยจักษุอันเอิบอาบไปด้วยความศัทธา เพราะว่านี้คือคำสอนที่ออกจากพุทธโอฐ.

 อันปัญหาใดๆอันบัณฑิตผู้มีปัญญาเฉียบวิจารณ์แล้วพึงให้ยุติลงตรงที่พุทธพจน์นี้เอง เปรียบเหมือนการแก้ปัญหาต่างๆด้วยกฎหมาย แต่กฎหมายทั้งหลายเหล่านั้นต้องไม่ขัดกฎรัฐธรรมนูญ คำสอนของพุทธองค์อันจริงแท้มาในพระไตรปิฎก อันบุรพาจารย์ยอมสละชีวิตเพื่อสืบไว้เหมือนรัฐธรรม-นูญ ส่วนคำสอนอื่นเปรียบเหมือนกฎหมายช่วยให้กฎรัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ขัด ไม่ยิ่งไปกว่า....

  เพราะเหตุฉะนั้นข้าพเจ้าจึงมีเจตจำนงที่จะเอาคำสอนในพระไตรปิฎกมาประดิษฐานไว้ในใจของพวกเรา ขอให้เราได้ทำใจไว้ดั่งดอกบัวแรกแย้ม พร้อมที่จะพลิกลีบออกรับเอาแสงอรุณคือพระธรรมเถิด.... สวัสดี สวัสดี สวัสดีฯฯฯฯฯฯฯฯ

หมายเลขบันทึก: 317073เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2009 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สาธุ

ธรรมที่ลึกซึ้งนั้น เรายังไม่รู้ได้ทั้งหมด

มีแต่ความเพียรเท่านั้นนะคะที่จะทำให้ค่อยๆกระจ่างขึ้น

ขอบคุณค่ะ

คุณณัฐ ขอบพระคุณครับที่ติดตามอ่าน และก็ข่าวการจากไปของคุณนก ที่จริงผมเด็กใหม่ก็เลยยังไม่รู้จักคุณนก แต่ผมมาอ่านบันทึกต่างๆเลยรู้ข่าว ขอบุณอันใดที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้วๆ บุญทั้งหลายจงเป็นผลอันไพบูรณ์แก่คุณนกด้วย "แม้ไม่รู้จักแต่ก็เสียใจไปกับท่านทั้งหลาย" ทุกข์อะไรที่ยิ่งไปกว่าการพลัดพรากไม่มี เหตุฉะนั้นพุทธองค์จึงหาวิธีดับทุกข์อันร้ายกาจนี้ ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามอ่าน ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท