Approaches to Health Development (แนวทางการพัฒนาสุขภาพ)


แนวทางการพัฒนาสุขภาพ

Approaches to Health Development (แนวทางการพัฒนาสุขภาพ)

                ในอดีตคำว่า สุขภาพ หมายถึง สุขภาพกายเป็นหลัก ต่อมาจึงได้กล่าวถึงสุขภาพจิตร่วมไปด้วย เพราะเห็นว่าคนที่มีสุขภาพกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่สุขภาพจิตเสื่อมโทรมหรือเป็นโรคจิตก็ไม่สามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติสุขได้ ซ้ำร้ายอาจจะทำร้ายผู้อื่นได้อีกด้วย ในปัจจุบันความหมายรวมๆก็จะหมายถึงสุขภาพกายสมบูรณ์แข็งแรงทางกาย ทางจิตใจ ทางปัญญา(จิตวิญญาน) และสังคม เชื่อมโยงเป็นองค์รวมอย่างสมดุล  สรุปว่าในความหมายของ "สุขภาพ" ในปัจจุบันมีองค์ประกอบ 4 ส่วน ด้วยกันคือ

1. สุขภาพกาย หมายถึง สภาพที่ดีของร่างกาย กล่าวคือ อวัยวะต่างๆอยู่ในสภาพที่ดีมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ทำงานได้ตามปกติ และมีความสัมพันธ์กับทุกส่วนเป็นอย่างดี และก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน

        2. สุขภาพจิต หมายถึง สภาพของจิตใจที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ มีจิตใจเบิกบานแจ่มใส มิให้เกิดความคับข้องใจหรือขัดแย้งในจิตใจ สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข

        3. สุขภาพสังคม หมายถึง สภาวะที่ดีของปัญญาที่มีความรู้ทั่ว รู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดีความชั่ว ความมีประโยชน์และความมีโทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

        4. สุขภาพศีลธรรมหมายถึง บุคคลที่มีสภาวะทางกายและจิตใจที่สุขสมบูรณ์ สามารถปฏิสัมพันธ์และปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดีและมีความสุข

                แนวทางการพัฒนาสุขภาพประชากร จะใช้หลักการของพระพุทธเจ้า ซึ่งประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค มีรายละเอียดดังนี้

ทุกข์ คือสิ่งที่ทำให้เป็นทุกข์ ไม่มีความสุขในเรื่องราวต่างๆเช่นมีโรคประจำตัว เป็นต้น

สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์(สาเหตุของปัญหา) สาเหตุของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

 นิโรธ คือ ความดับทุกข์ (แนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง) เช่น เจ็บป่วยก็ต้องหาแนวทางรักษา

มรรค คือ หนทางในการดับทุกข์ โดยใช้ กฎบัตรอ็อตตาว่า ได้นำเสนอกลยุทธ์แห่งการสร้างเสริมสุขภาพไว้ 5 ประการ คือ

  1. 1.              สร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Build healthy public policy)

การส่งเสริมสุขภาพโดยเข้าไปกำหนดนโยบาย ในทุกภาค และทุกระดับ เป็นการนำให้เขาเหล่านั้น ได้ตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้น จากการตัดสินใจของเขา และให้เขาได้รับว่า เป็นความรับผิดชอบเพื่อสุขภาพ นโยบายส่งเสริมสุขภาพรวมแนวทางหลายแนว ที่เสริมซึ่งกันและกัน คือ การออกกฎหมาย  เช่น ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ การเฝ้าระวังและประเมินผลกระทบจากนโยบายและการกระทำต่าง ๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ เป็นต้น ตัวอย่าง โครงการที่ประสบความสำเร็จที่ผ่านมาในระดับประเทศ เช่น โครงการถุงยางอนามัย ๑๐๐% ของนพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร

2.สร้างสรรค์สภาพแวดล้อม ที่สนับสนุนสุขภาพ (Create supportive environment for health) เช่น ศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหลักการโดยทั่วไปก็คล้ายๆกัน คือ จำต้องสนับสนุนให้เกิดการดำรงอยู่ร่วมกัน คือ ต้องดูแลซึ่งกันและกัน ดูแลชุมชน และสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เป็นต้น

3. สร้างความเข้มแข็งให้แก่ปฏิบัติการชุมชน (Strength community action)

โดยให้ความสำคัญ การตัดสินใจ การวางแผนกลยุทธ์ เป็นสิทธิ์ของชุมชนแล้วดำเนินการเพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดีขึ้น แล้วดำเนินการเพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการเพิ่มอำนาจให้ชุมชน เสริมสร้างการพึ่งพาตนเอง และสังคมเพื่อพัฒนาระบบที่ยั่งยืน ซึ่งจำเป็นที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะต้องมีส่วนร่วม และชี้นำในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งนี้ต้องมีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร อย่างเต็มที่ และต่อเนื่อง เข้าถึงโอกาสที่จะเรียนรู้เรื่องสุขภาพ เป็นต้น

4. พัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Develop personal skill)

การส่งเสริมสุขภาพและการการพัฒนาบุคคล และสังคม โดยการให้ข้อมูลข่าวสาร การศึกษาเพื่อสุขภาพ และการเสริมทักษะชีวิต ด้วยการกระทำเหล่านี้ การส่งเสริมสุขภาพจึงเพิ่มทางเลือก ให้ประชาชนใช้ควบคุมสุขภาพของตนเอง

5. ปรับเปลี่ยนบริการสุขภาพ (Reorient health services)

เป็นการแบ่งกันรับผิดชอบ โดยบุคคล กลุ่มชุมชน นักวิชาชีพสุขภาพ สถาบันบริการสุขภาพ และรัฐบาล ทุกฝ่ายต้องทำงานร่วมกัน เพื่อระบบบริบาลสุขภาพ ซึ่งนำมาซึ่งสุขภาพดี 

หมายเลขบันทึก: 316694เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2009 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท