ความว่าง


พุทธทาสภิกขุ อธิบายว่า ความลับของเรื่องอยู่ตรงที่ว่าเมื่อได้ยินว่า 70 ปี หนุ่มคนนี้ก็หมดความทะเยอทะยานโดยสิ้นเชิง จิตใจปกติ ปราศจากความกระหาย จิตว่างเช่นนี้แหละ ที่เหมาะที่จะรับการถ่ายทอดบางอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องทางจิตได้อย่างดี เส้นประสาทของหนุ่มคนนี้ก็ปกติ เพราะปราศจากความกระหาย ไหวพริบทุกชนิดจึงเป็นไปได้ถึงที่สุด

บันทึกจากการที่ได้อ่านบทความของ สุทธิชัย หยุ่น จากหนังสือเนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 710 ซึ่งรู้สึกว่าเคยได้รับประสบการณ์ลักษณะเช่นนี้จากอาจารย์ตอนนที่เรียนปริญญาโทอยู่เหมือนกัน สมัยก่อนตอนที่เรียนอยู่ป.ตรี ปี 2 ก็ได้เริ่มเข้าไปเรียนรู้เรื่องการทำงานวิจัยในห้องแล็ปแล้ว สิ่งที่ได้นอกจากความรู้แล้วก็คือได้รู้จักพี่ๆ ในแล็ป ซึ่งตอนนั้นทราบว่าการที่จะเรียนเรียนจบปริญญาโท ปริญญาเอกนั้นต้องใช้เวลานานประมาณ 9 - 10 ปี (เรียนโท 4 ปีแล้วเรียนเอกอีก 5 ปี) พี่ๆเค้าก็มักถามเราว่านานมั้ยเราก็บอกว่านาน แทบจะไม่เชื่อด้วย แต่ตอนนี้เราก็เรียนจบโท 2 ปีแล้วนะคงเป็นเพราะตอนเรียนมีจิตว่างมั้ง เรียนเพื่อเรียนไม่มีข้อผูกมัดเรื่องต้องใช้ทุน ไม่ต้องมีข้อจำกัดเรื่องเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เรียนได้เร็ว เหมือนกับบทความที่ได้มาอ่านนี้ก็เข้าใจความลับของอาจารย์ว่า เหมือนกับว่านักศึกษาตอนนั้นจิตไม่ว่างหรือเปล่า เนื่องจากส่วนใหญ่ได้รับทุนมาเรียน แล้วอยากเรียนให้จบตามเวลา จิตจึงไม่ว่างคิดแต่ว่าเรียนแล้วต้องจบอย่างเดียว เลยไม่ยอมรับอะไร ก็เลยยิ่งต้องให้เรียนนานๆ ซึ่งก็คล้ายๆกับที่ได้อ่านมาว่า พุทธทาสภิกขุท่านเล่านิทานเซนเรื่องหนึ่งว่า หนุ่มคนหนึ่งไปขอเรียนฟันดาบ อาจารย์บอกว่าราว 8 ปีจึงจะจบหลักสูตร

หนุ่มใจร้อนบอกว่า จะพยายามทำให้ดีที่สุด ขยันที่สุด จะกินเวลาสักเท่าไหร่?

อาจารย์บอกว่า 30 ปี

หนุ่มให้เหตุผลต่อว่า บิดาแก่มากแล้ว จวนจะตายแล้ว ขอเร่งการเรียนให้มากที่สุด เพื่อจบการเรียน จะได้ไปแสดงให้บิดาได้ชมเป็นขวัญตาก่อนตาย

อาจารย์บอกว่าถ้าอย่างนั้นต้องกินเวลาถึง 70 ปีจึงจะจบ

หนุ่มคนนั้นไม่มีทางเลือก ในที่สุด อาจารย์ก็สามารถใช้อุบายทำให้ลูกศิษย์คนนี้จบวิชาฟันดาบอย่างเยี่ยมได้ภายใน 2-3 ปี

พุทธทาสภิกขุ อธิบายว่า ความลับของเรื่องอยู่ตรงที่ว่าเมื่อได้ยินว่า 70 ปี หนุ่มคนนี้ก็หมดความทะเยอทะยานโดยสิ้นเชิง จิตใจปกติ ปราศจากความกระหาย

จิตว่างเช่นนี้แหละ ที่เหมาะที่จะรับการถ่ายทอดบางอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องทางจิตได้อย่างดี เส้นประสาทของหนุ่มคนนี้ก็ปกติ เพราะปราศจากความกระหาย ไหวพริบทุกชนิดจึงเป็นไปได้ถึงที่สุด

ทั้งหมดนี้เป็นไปโดยไม่รู้สึกตัว หรือเพราะ 'ความว่าง' เข้ามาแทนความทะเยอทะยานนั่นเอง

พุทธทาสภิกขุถามว่า เราจะรีบร้อนไปไหนกัน? ตอบว่า รีบร้อนไปหาความสงบ

ถ้ารีบไปหาความสงบ, ทำไมจะต้องรีบด้วยเล่า? มันจะมิยิ่งไกลออกไปหรือ?

ยิ่งรีบ, ยิ่งไกล, ยิ่งอยาก, ยิ่งไม่ได้, ยิ่งทำให้สงบ, ก็ยิ่งฟุ้ง, ยิ่งไม่รีบ, ก็ยิ่งเร็ว, ยิ่งไม่อยาก มันยิ่งได้, ยิ่งไม่ทำให้สงบ, มันยิ่งสงบลงไปอีก

ดังนั้น การจะทำให้ไม่ทุกข์ จะต้องทำให้ 'ว่าง'

ท่านอาจารย์บอกว่า ทำให้ 'ว่าง' ง่ายกว่าทำให้ 'สงบ' เพราะสงบยังมีตัวตนสยบอยู่ เผลอขึ้นมา มันก็ออกมาฟุ้งอีก ทำให้ว่างเสียให้หมด จะหมดปัญหาแน่นอน

หมายเลขบันทึก: 31591เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2006 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท