ทีฆนิกาย-สีลขันธวรรค


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ เป็นนักตรึกเป็นนักตรอง กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ตรองได้อย่างนี้ว่า สิ่งที่เรียกว่า ตาก็ดี หูก็ดี จมูกก็ดี ลิ้นก็ดี กายก็ดี นี้ ชื่อว่าอัตตา เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.

ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค $

เอกัจจสัสตทิฏฐิ ๔ ต่อ

ตอนก่อนได้นำเสนอเอกัจจสัสตทิฏฐิ ๔ ข้อนำเสนอไปแล้วหนึ่งข้อ ดังจะขอยกมาหน่อยหนึ่งครับ.....

  • ต่อมาสัตว์เหล่าอื่นก็จุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงพรหมวิมาน อันเป็นสหายของสัตว์ผู้นั้น. แม้สัตว์เหล่านั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีในตัวเอง เที่ยวไปในอากาศได้ อยู่ในสถานที่สวยงาม ดำรงอยู่ในภพนั้นตลอดกาลช้านาน.....

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลก ว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.

  • อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า

บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยงฯ

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเทวดาชื่อว่า ขิฑฑาปโทสิกะ เทวดาพวกนั้นพากันหมกหมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา.

เมื่อเทวดาพวกนั้นพากันหมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นจนเกินเวลา ก็หลงลืมสติ เทวดาพวกนั้นจึงจุติ(ตาย)จากหมู่(เทวดา)นั้น.

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากหมู่นั้นแล้วมา(เกิด)เป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แล้วอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึงขันธ์(ตัวเอง)ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ เกินกว่านั้นระลึกไม่ได้.

เขากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่า ขิฑฑาปโทสิกะ ไม่หมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา.

เมื่อเทวดาพวกนั้นไม่พากันหมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลาก็ไม่หลงลืมสติ.

เพราะไม่หลงลืมสติ เทวดาพวกนั้นจึงไม่จุติจากหมู่นั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปอย่างนั้นที่เดียว.

ส่วนพวกเราได้เป็นขิฑฑาปโทสิกะหมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา.

เมื่อพวกเรานั้นพากันหมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา ก็หลงลืมสติ.

เพราหลงลืมสติ พวกเราจึงจุติจากหมู่นั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย มีจุติเป็นธรรมดา ต้องมาเป็นอย่างนี้ ดังนี้.

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้วจึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.

  • อนึ่งในฐานะที่ ๓ สมณพรามณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.

   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเทวดาชื่อว่า มโนปโทสิกะ เทวดาพวกนั้นมักเพ่งโทษกันและกันเกินขอบเขต.

เมื่อเทวดาพวกนั้นเพ่งโทษกันและกันเกินขอบเขต ย่อมคิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงลำบากกายลำบากใจ พากันจุติจากหมู่นั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้....

ก็ออกจากเรือนบวช.... ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ เกินกว่านั้นระลึกไม่ได้. เขากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่ามโนปโทสิกะ ไม่เพ่งโทษกันและกันเกินขอบเขต..... เทวดาพวกนั้นจึงไม่จุติจากหมู่นั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปอย่างนั้นทีเดียว......

   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.

  • อนึ่งในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ เป็นนักตรึกเป็นนักตรอง กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ตรองได้อย่างนี้ว่า สิ่งที่เรียกว่า ตาก็ดี หูก็ดี จมูกก็ดี ลิ้นก็ดี กายก็ดี นี้ ชื่อว่าอัตตา เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.

ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิต หรือใจ หรือวิญญาณ นี้ชื่อว่าอัตตา เป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปอย่างนั้นทีเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๕ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว จึงมีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.....

  ข้อวิภาษของผู้เขียน

ในข้อที่ ๒ ดูเหมือนว่าเทวดาชื่อว่า ขิฑฑาปโทสิกะ จะบอบบางเสียเหลือเกิน ไม่น่าที่จะเป็นไปได้แค่การหมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลาแค่นี้ครับ ก็เป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นจุติได้ ก็ฝากให้ท่านผู้รู้ทั้งหลายพิจารณา.

โดยส่วนตัวผมแล้วเชื่ออย่างนั้น และก็มาเปรียบเทียบกับเทวดาในปัจจุบันในโลกมนุษย์ของเรา(เทวดาเดินดิน) ก็เหมือนคนสมัยนี้เป็นเทวดาโดยสมมุติครับ คนสมัยนี้โดยส่วนมากบอบบางเหมือนเทวดาชื่อ ขิฑฑาปโทสิกะเลย โดนแดดหน่อยก็จะเป็นลมต้องอยู่ในห้องแอร์ตลอด เดินไกลๆหน่อยก็เหนื่อย ที่สำคัญคือทำงานหนักไม่ได้เหมือนคนสมัยก่อนครับ ลองดูก็ได้แค่เดินสักสองกิโลไปทำงาน ท่านทั้งหลายจะรู้สึกว่าเหนื่อยมากๆ

  เห็นง่ายๆเหมือนเด็กๆสมัยนี้ไม่ต้องทำงานอะไรไม่ว่างานเล็กๆน้อยๆก็ไม่อยากทำ คอยแต่แบมือขอเงินพ่อแม่อย่างเดียวเหมือนเทวดาเลย ไม่ต้องทำอะไรอยากได้อะไรก็เนรมิตเอา คิดๆแล้ว คนสมัยนี้ก็มีบุญนะครับ นอนกินนอนใช้เหมือนเทวดา.

สิ่งที่เหมือนอีกอย่างก็คือ อยู่สบายแล้วไม่พอ เด็กๆ วัยรุ่นสมัยนี้ พอโดนขัดใจหน่อยเดียวแค่ไม่ให้ไปเที่ยวกับเพื่อนเท่านั้นแหละ จะเป็นจะตายเสียให้ได้ บางคนถึงกับผูกคอตายเลยก็มีครับ คนสมัยนี้มีหลายอย่างที่เหมือนเทวดา.

   ส่วนเทวดาพวก มโนปโทสิกะ ก็เหมือนกัน เพ่งโทษและติเตียนกันเกินขอบเขต คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมี่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงลำบากกายลำบากใจ พากันจุติ(ตาย)จากหมู่นั้น.

คิดเล่นนะครับ ใครที่กำลังเป็นเทวดา มโนปโทสิกะ อยู่ก็ให้ระวังอย่าเพ่งโทษอย่ามุ่งร้ายกันและกัน มันจะลำบากกายลำบากใจ จะพากันจุติง่ายๆเอานา เฮอะ เฮอะ เฮอะ......

  มีมากข้อคิดในทิฏฐิ ๔ ข้อนี้ขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจอ่านแล้วจะได้ข้อคิดมากมาย ผมไม่อยากนำมาเขียนให้ยาวเกินไป ขอความสุขจงเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย สวัสดีครับ.......

หมายเลขบันทึก: 315812เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2009 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

มาอ่านต่อค่ะ

ขอบคุณนะคะ

คุณณัฐนี่เองครับขอบพระคุณที่ตามอ่าน บกพร่องตรงไหนก็บอกนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท