ผลสำรวจชี้ น้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือ กำลังละลายไปอย่างรวดเร็ว


ขั้วโลกเหนือ




ผลของการสำรวจบริเวณขั้วโลกเหนือครั้งใหม่แสดงให้เห็นว่า น้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือกำลังละลายไปอย่างรวดเร็วกว่าที่คาดคิดกันไว้

นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ พยากรณ์ว่า บริเวณส่วน ใหญ่ของมหาสมุทรอาร์กติก จะปราศจากน้ำแข็งตอนฤดูร้อนภายในเวลาอีกสิบปีข้าง หน้า คาดกันว่าข้อเท็จจริงที่พบนี้จะเป็นเรื่องที่นำไปอภิปรายถกเถียงเพิ่ม ขึ้นอีกเรื่องหนึ่งในการประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิ อากาศ ซึ่งจะมีขึ้น ณ กรุงโคเปนเฮเก้น ประเทศเดนมาร์ค ในเดือนธันวาคมปีนี้

เมื่อต้นปีนี้ นักสำรวจชาวอังกฤษ เพน ฮาโดว และคณะ ใช้เวลาสามเดือนเดิน ทางข้ามมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งน้ำจับตัวเป็นน้ำแข็งและจดบันทึกผลของการวัด สอบ และสังเกตการณ์เกี่ยวกับน้ำแข็งในบริเวณนั้น

นักสำรวจชาวอังกฤษ เพน ฮาโดว กล่าวไว้ตอนนี้ว่า "เราเคยเชื่อว่าเราจะพบ น้ำแข็งเก่าแก่หนาปึก ซึ่งอยู่มานานเป็นปีๆ และมีลักษณะที่หนาปึกมากขึ้น เรื่อยๆ แต่ที่จริงนั้น เราไม่พบน้ำแข็งที่อยู่มานานเป็นปีๆ นั้นเลย"

ผลของการสังเกตการณ์โดยอาศัยดาวเทียมก็ดี และการส่งเรือดำน้ำไปสำรวจก็ ดี ในระยะไม่กี่ปีมานี้แสดงว่าปริมาณของน้ำแข็งในย่านขั้วโลกเหนือลดน้อย ลง แต่ผลของการวัดสอบเมื่อเร็วๆ นี้แสดงว่า น้ำแข็งมีปริมาณลดลงอย่างเห็น ได้ชัดเกินกว่าที่เคยคิดกันไว้ นักสำรวจ เพน ฮาโดว กล่าวว่า น้ำแข็งที่ปก คลุมมหาสมุทรอาร์กติกนั้นละลายไปราวร้อยละ 80 ในช่วง 10 ปี และละลายหายไป หนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม ในช่วงเกือบ 20 ปี

ส่วนนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ปีเตอร์ วาดัมส์ ผู้ทำการ วัดสอบและติดตามสอดส่องขั้วโลกเหนือ มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2520 กล่าว ว่า เราไม่สามารถทำให้เรื่องดังกล่าวผันกลับไปอีกทางหนึ่งได้

นักวิทยาศาสตร์ ปีเตอร์ วาดัมส์ กล่าวไว้ตอนนี้ว่า "ยิ่งน้ำแข็งละลาย หายไปมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะเกิดบริเวณที่เป็นเวิ้งน้ำมากขึ้นเท่านั้น และ อุณหภูมิของน้ำนั้นจะสูงขึ้นระหว่างฤดูร้อน น้ำจะจับตัวเป็นน้ำแข็งน้อยลง ตอนฤดูหนาว และในฤดูร้อนต่อมาน้ำแข็งก็จะละลายหายไปอีก เรื่องที่ว่านี้กลาย เป็นกระบวนการแห่งการสลายตัว ซึ่งทุกอย่างจบลงแบบเร่งรีบ จนกระทั่งหายสูญไป หมด"

ส่วนคุณ มาร์ติน ซอมเมอร์คอร์น ผู้อำนวยการของโครงการอาร์กติก ของ องค์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กองทุนสัตว์ป่าแห่ง โลก หรือ World Wildlife Fund กล่าวไว้ตอนนี้ว่า น้ำแข็งทางมหาสมุทร อาร์กติกทรงความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบสภาพภูมิอากาศของโลก และกำลังเสื่อม สลายไปเร็วเกินความคาดหมาย ตามความเป็นจริง

แล้วเรื่องนั้นหมายถึงว่า จะต้องดำเนินงานแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศโดยรีบด่วน และลดการปล่อยมลพิษลง คุณมาร์ติน ซอมเมอร์ คอน กล่าวว่า ที่ประชุมสุดยอดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิ อากาศ ณ กรุงโคเปนเฮเก้น ในเดือนธันวาคมจะต้องกำหนดแผนการที่จะลดปริมาณของ ก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา ซึ่งโดนโทษว่าเป็นตัวการทำให้โลกอุ่นขึ้นนั้น กันให้ได้

ส่วนนักวิทยาศาสตร์ ปีเตอร์ วาดัมส์ เห็นด้วยกับเรื่องที่ว่าจะต้อง แก้ไขปัญหานั้นอย่างรีบด่วน เพราะคาร์บอนที่เราปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศนั้น มี ผลทำให้โลกร้อนขึ้นมา 100 ปีแล้ว และเราจะต้องใช้เวลานานทีเดียวสำหรับแก้ ปัญหาดังกล่าว เขากล่าวว่าปัญหาโลกร้อนขึ้นนี้ แก้ไม่ได้ด้วยวิธีไม่ปล่อย คาร์บอนสู่บรรยากาศอีกในอนาคต แต่จะต้องเริ่มทำเช่นนั้นตั้งแต่เดี๋ยว นี้ เขากล่าวด้วยว่า จะแก้ไขเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยใช้ เครื่องมือเทคนิคนั้นไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ เขาและนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ กล่าว ว่า มีทางเลือกขั้นพื้นฐานอยู่สองประการ คือ ผลิตพลังงานชนิดที่มีให้ใช้ไม่ มีวันหมด มาใช้แทนที่เชื้อเพลิงที่ขุดจากพื้นดิน หรือไม่ก็นำพลังงาน นิวเคลียร์มาใช้แทน.

ที่มา http://www.sudipan.net

คำสำคัญ (Tags): #น้ำแข็ง
หมายเลขบันทึก: 315766เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2009 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท