สรุปงานวิจัย


สรุปงานวิจัยเล่มที่3

สรุปงานวิจัยเรื่องที่ 3

เรื่อง  ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาปราจีนบุรี

ผู้วิจัย  ไพฑูรย์  ทิพยสุข

ปีที่วิจัย  2551

วัตถุประสงค์การวิจัย

  1. เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี
  2. เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  จำแนกตามสถานภาพทางเพศ  และประเภทของโรงเรียน

วิธีการวิจัย

  1.  การวิจัยเชิงสำรวจ
  2. กลุ่มตัวอย่าง

-          ประชาการได้แก่  ครูผู้สอนโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  ปีการศึกษา  2551  จำนวนทั้งสิ้น  3,237  คน

-           กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  ปีการศึกษา  2551  ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง  โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของงเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie&Morgan,1970pp 607-608)  ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 344 คน  โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling)

-          ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น  ได้แก่  สถานภาพทางเพศ 

  1.  ชาย
  2. หญิง

ประเภทโรงเรียน

  1.  โรงเรียนช่วงชั้นที่ 1 -2
  2. โรงเรียนช่วงชั้นที่ 1- 3
  3. โรงเรียนช่วงชั้นที่ 3_- 4

ตัวแปรตาม  ได้แก่  ปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  สรุปเป็น  6 ด้านดังนี้

  1.  ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร
  2. ด้านการวิจัยในชั้นเรียน
  3. ด้านการจัดการเรียนการสอน
  4. ด้านการนิเทศภายใน
  5. ด้านการวัดผลประเมินผลการศึกษา
  6. ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

  1.  แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทางเพศและประเภทโรงเรียนเป็นแบบตรวจสอบรายการ(Check List) จำนวน 2 ข้อ
  2. เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  แบ่งเป็น 6 ด้าน

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

  1.  ขอหนังสือจากภาควิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพาเพื่อขอความร่วมมือและความอนุเคราะห์จากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี
  2. ผู้วิจัยนำแบบสอบถามแนบหนังสือขอความร่วมมือการกรอกแบบสอบถามจากผำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  จัดส่งแบบสอบถาม  จำนวน  344  ฉบับ ไปยังผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน
  3. ในกรณีที่ยังไม่ได้รับแบบสอบถามคืนตามเวลาที่ผู้วิจัยกำหนดไว้  ผู้วิจัยได้ติดตามเก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเองจนครบทุกฉบับ

การวิเคราะห์ข้อมูล

  1.  นำแบบสอบถามมาลงรหัส  ให้คะแนนตามน้ำหนักคะแนนแต่ละข้อ  และบันทึกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์  เพื่อวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS For  Windows
  2. นำผลการคำนวณ  มาวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
  3. การให้คะแนน  กำหนดการให้คะแนนตามเกณฑ์น้ำหนักความหมายดังนี้ คือ

มากที่สุด                                มีค่าท่ากับ              4              คะแนน

มาก                        มีค่าเท่ากับ            3              คะแนน

น้อย                        มีค่าเท่ากับ            2              คะแนน

น้อยที่สุด                                มีค่าเท่ากับ            1              คะแนน

                หลังจากนั้นจะนำมาหาค่าเฉลี่ย  โดยใช้เกณฑ์พิจารณาขอบเขตคะแนนเฉลี่ยเพื่อใช้ในการแปลความหมายตามความคิดเห็นในปัญหาการบริหารงานวิชาการ  โดยกำหนดการแปลความหมายของคะแนนพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ย  ซึ่งกำหนดเกณฑ์โดยอาศัยแนวทางของบุญชม  ศรีสะอาดและบุญส่ง  นิลแก้ว ดังนี้

                                3.51 -  4.00           หมายถึง                 ปัญหาการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมากที่สุด

                                2.51 – 3.50           หมายถึง                 ปัญหาการบริหารงานิชาการอยู่ในระดับมาก

                                1.51 – 2.50           หมายถึง                 ปัญหางานวิชาการอยู่ในระดับน้อย

                                1.00 – 1.50           หมายถึง                 ปัญหาการบริหารงานวิชาการน้อยที่สุด

                สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

                                ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ผู้วิจัยได้ใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS  for  Windows  ซึ่งใช้ค่าสถิติดังนี้

  1.  ศึกษาปัญหางานวิชาการเป็นรายข้อ  รายด้านและภาพรวม  วิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน คะแนนเฉลี่ย (X) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
  2. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี  จำแนกสถานภาพทางเพศ  โดยใช้สถิติการทดสอบค่าที ( t – test)
  3. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสงกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี จำแนกตามประเภทของโรงเรียนโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และเมื่อพบความแตกต่างได้ทำการทดสอบรายคู่ด้วยวิธี Least Significance Difference (LSD)
หมายเลขบันทึก: 315608เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2009 02:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เก่งจัง ขออนุญาตชื่นชมค่ะ

อ่านแล้วครับ ขยันจังเลยครับพี่ พักผ่อนบ้างนะครับ

ฝากเยี่ยมชมบล็อกนี้ด้วยครับ

http://www.misterfriendship.com/th/site/home_album.asp?id=1279

ขอบคุณครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท