ถอดบทเรียนพื้นที่ชุ่มน้ำ


การสร้างองค์ความรู้เชิงประสบการณ์แก่เยาวชน มีการสร้างชุดความรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น นิทานทำมือ, หนังสือทำมือ, โครงงาน เป็นต้น ทำให้เยาวชนรับรู้ เข้าใจ เห็นคุณค่า และความหมาย เกิดสำนึกรักและหวงแหนสิ่งแวดล้อม

“พื้นที่ชุ่มน้ำ” เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่กำลังถูกทำลาย บุกรุก และเหลือน้อยลงไปเรื่อยๆ นี่เป็นอีกท้าทายหนึ่งของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

พื้นที่ชุ่มน้ำ หมายถึง ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่มที่ลุ่มชื้นแฉะ พรุ แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นที่มีน้ำขัง หรือน้ำท่วมอยู่ถาวรและชั่วคราวทั้งที่เป็นน้ำนิ่ง น้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม ที่น้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกไม่เกิน 6 เมตร เช่น แม่น้ำ ห้วย หนอง คลองบึง ทะเลสาบ

“โครงการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในประเทศไทยและลุ่มน้ำโขง (Community Management of Wetlands in Thailand and the Mekong River Basin)” เป็นโครงการหนึ่งที่องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย” WWF Thailand , World Wide Fund for Nature โดยความร่วมมือระหว่าง WWF เดนมาร์ก และ WWF ประเทศไทย ได้ริเริ่มดำเนินการในพื้นที่จังหวัดน่าน, เลย, หนองคาย

จังหวัดน่าน การดำเนินการใน ๕ พื้นที่ ได้แก่ ตำบลเมืองจัง, ตำบลน้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียง, ตำบลเรือง อ.เมือง, ต.ไหล่น่าน อ.เวียงสา, บ้านกิ่วม่วง ต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข

 การถอดบทเรียนการทำงาน“โครงการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ” เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญเพื่อนำเอาประสบการณ์และบทเรียนมาวางแผนพัฒนาในการดำเนินการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ

บทเรียนสำคัญ

๑. ชุมชนและท้องถิ่น สามารถทำการสำรวจแนวเขตพื้นที่ป่าชุมชนได้อย่างชัดเจนโดยนำเอา GPS มาเป็นเครื่องกำหนดพิกัดขอบเขตของป่าชุมชน ทำให้ทราบระยะขอบเขตที่ชัดเจน

๒. การทบทวนกฎกติกาของชุมชนที่กำหนดไว้แต่เดิม เช่น กฎกติกาการอนุรักษ์ป่าชุมชน, วังปลา ได้มีการทบทวนและปรับปรุงให้เหมาะสม และมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ประชาคมและอบต.รับรองกฎกติกานั้นๆ ทำให้เกิดการรับรองอย่างเป็นทางการ

๓. กระบวนการเรียนรู้ในโครงการฯ ทำให้เกิดการรับรู้ เข้าใจ และมีการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างจริงจัง

๔. การขยายผลเรื่องการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำไปยังกลุ่มเยาวชนในสถานศึกษา ทำให้เกิดการสร้างองค์ความรู้เชิงประสบการณ์แก่เยาวชน มีการสร้างชุดความรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น นิทานทำมือ, หนังสือทำมือ, โครงงาน เป็นต้น ทำให้เยาวชนรับรู้ เข้าใจ เห็นคุณค่า และความหมาย เกิดสำนึกรักและหวงแหนสิ่งแวดล้อม

แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการจัดการเรียนรู้เรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่องและขยายผลไปในวงกว้างให้มากยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 315483เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2009 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท