แรงจูงใจ (ต่อ)


1. ทฤษฎีเนื้อหาของการจูงใจ ( Content theories of Motivation)

ทฤษฎีนี้อธิบายถึงความต้องการหรือปรารถนาภายในของบุคคล  ซึ่งกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม  หรือเป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงกลไกความต้องการของพนักงาน  ซึ่งได้แก่  สาเหตุที่พนักงานมีความต้องการที่แตกต่างกันในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน (McShane and Von Glinow : 597)

ทฤษฎีเนื้อหาเป็นที่รู้จักและยอมรับมี 4 ทฤษฎี คือ

(1)    ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์

(2)    ทฤษฎีการจูงใจ ERG ของ  Alderfer

(3)    ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแมคคลีแลนด์(McClelland)

(4)    ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์ซเบอร์ก

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s hierarchy of needs theory)

เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์  ซึ่งกำหนดโดยนักจิตวิทยา  ชื่อ มาสโลว์ (Abraham  Maslow)  เป็นทฤษฎีการจูงใจที่มีการกล่าวขวัญอย่างแพร่หลาย   มาสโลว์มองว่าความต้องการของมนุษย์มีลักษณะเป็นลำดับขั้น  จากระดับต่ำสุดไปยังระดับสูงสุด  เมื่อความต้องการในระดับหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว  มนุษย์ก็จะมีความต้องการอื่นในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

จากทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์  สามารถแบ่งความต้องการออกได้เป็น 2 ระดับ คือ

  1. 1.       ความต้องการในระดับต่ำ (Lower  order needs)  ประกอบด้วยความต้องการทางร่างกาย, ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง และความต้องการความผูกพันหรือการยอมรับ
  2. 2.       ความต้องการในระดับสูง (Higher order needs)  ประกอบด้วย  ความต้องการการยกย่องและความต้องการความสำเร็จในชีวิต

ทฤษฎีการจูงใจ ERG  ของ Alderfer

เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์  แต่ไม่คำนึงถึงขั้นความต้องการว่า  ความต้องการใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลัง  และความต้องการหลายๆอย่างอาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้   ความต้องการตามทฤษฎี ERG จะมีน้อยกว่าความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประการ ดังนี้

1. ความต้องการเพื่อความอยู่รอด  (Existence needs (E))  เป็นความต้องการพื้นฐานของร่างกายเพื่อให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้   เช่น ความต้องการอาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  ยารักษาโรค  เป็นต้น  เป็นความต้องการในระดับต่ำสุดและมีลักษณะเป็นรูปธรรมสูงสุด   ประกอบด้วยความต้องการทางร่างกายบวกด้วยความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคงตามทฤษฎีของมาสโลว์   ผู้บริหารสามารถตอบสนองความต้องการในด้านนี้ได้ด้วยการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม   มีสวัสดิการที่ดี  มีเงินโบนัส  รวมถึงทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกมั่นคงปลอดภัยจากการทำงาน ได้รับความยุติธรรม มีการทำสัญญาว่าจ้างการทำงาน เป็นต้น

2. ความต้องการมีสัมพันธภาพ (Relatedness needs (R))   เป็นความต้องการที่จะให้และได้รับไมตรีจิตจากบุคคลที่แวดล้อม เป็นความต้องการที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมน้อยลง  ประกอบด้วยความต้องการความผูกพันหรือการยอมรับ (ความต้องการทางสังคม) ตามทฤษฎีของมาสโลว์   ผู้บริหารควรส่งเสริมให้บุคลากรในองค์การมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลภายนอกด้วย  เช่น การจัดกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตาม เป็นต้น

3. ความต้องการความเจริญก้าวหน้า (Growth needs (G))   เป็นความต้องการในระดับสูงสุดของบุคคลซึ่งมีความเป็นรูปธรรมต่ำสุดประกอบด้วยความต้องการการยกย่องบวกด้วยความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตตามทฤษฎีของมาสโลว์  ผู้บริหารควรสนับสนุนให้พนักงานพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้าด้วยการพิจารณาเลื่อนขั้น  เลื่อนตำแหน่ง  หรือมอบหมายให้รับผิดชอบต่องานกว้างขึ้น  โดยมีหน้าที่การงานสูงขึ้น  อันเป็นโอกาสที่พนักงานจะก้าวไปสู่ความสำเร็จ

ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแมคคลีแลนด์ McClelland

ทฤษฎีนี้เน้นอธิบายการจูงใจของบุคคลที่กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการความสำเร็จมิได้หวังรางวัลตอบแทนจากการกระทำของเขา  ซึ่งความต้องการความสำเร็จนี้ในแง่ของการทำงานหมายถึงความต้องการที่จะทำงานให้ดีที่สุดและทำให้สำเร็จผลตามที่ตั้งใจไว้  เมื่อตนทำอะไรสำเร็จได้ก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้ทำงานอื่นสำเร็จต่อไป  หากองค์การใดที่มีพนักงานที่แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จำนวนมากก็จะเจริญรุ่งเรืองและเติบโตเร็ว

ในช่วงปีค.ศ. 1940s   นักจิตวิทยาชื่อ David I. McClelland   ได้ทำการทดลองโดยใช้แบบทดสอบการรับรู้ของบุคคล (Thematic Apperception Test (TAT)) เพื่อวัดความต้องการของมนุษย์ โดยแบบทดสอบTAT เป็นเทคนิคการนำเสนอภาพต่างๆ แล้วให้บุคคลเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เขาเห็น จากการศึกษาวิจัยของแมคคลีแลนด์ได้สรุปคุณลักษณะของคนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงมีความต้องการ 3 ประการที่ได้จากแบบทดสอบTAT ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะเข้าใจถึงพฤติกรรมของบุคคลได้ดังนี้

  1. 1.       ความต้องการความสำเร็จ (Need for Achievement (nAch)) เป็นความต้องการที่จะทำสิ่งต่างๆให้เต็มที่และดีที่สุดเพื่อความสำเร็จ  จากการวิจัยของ McClelland  พบว่า  บุคคลที่ต้องการความสำเร็จ (nAch) สูง  จะมีลักษณะชอบการแข่งขัน  ชอบงานที่ท้าทาย  และต้องการได้รับข้อมูลป้อนกลับเพื่อประเมินผลงานของตนเอง  มีความชำนาญในการวางแผน  มีความรับผิดชอบสูง และกล้าที่จะเผชิญกับความล้มเหลว
  2. 2.       ความต้องการความผูกพัน (Need for Affiliation (nAff))  เป็นความต้องการการยอมรับจากบุคคลอื่น  ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม  ต้องการสัมพันธภาพที่ดีต่อบุคคลอื่น บุคคลที่ต้องการความผูกพันสูงจะชอบสถานการณ์การร่วมมือมากกว่าสถานการณ์การแข่งขัน  โดยจะพยายามสร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น
    1. 3.       ความต้องการอำนาจ (Need for power (nPower))  เป็นความต้องการอำนาจเพื่อมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น  บุคคลที่มีความต้องการอำนาจสูง  จะแสวงหาวิถีทางเพื่อทำให้ตนมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น   ต้องการให้ผู้อื่นยอมรับหรือยกย่อง   ต้องการความเป็นผู้นำ  ต้องการทำงานให้เหนือกว่าบุคคลอื่น   และจะกังวลเรื่องอำนาจมากกว่าการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

จากการศึกษาพบว่าพนักงานที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงมักต้องการจะทำงานในลักษณะ 3 ประการดังนี้

  1. 1.       งานที่เปิดโอกาสให้เขารับผิดชอบเฉพาะส่วนของเขา และเขามีอิสระที่จะตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
  2. 2.       ต้องการงานที่มีระดับยากง่ายพอดี ไม่ง่ายหรือยากจนเกินไปกว่าความสามารถของเขา
  3. 3.       ต้องการงานที่มีความแน่นอนและต่อเนื่องซึ่งสร้างผลงานได้และทำให้เขามีความก้าวหน้าในงานเพื่อจะพิสูจน์ตนเองถึงความสามารถของเขาได้

นอกจากงานในลักษณะดังกล่าวแล้วแมคคลีแลนด์ได้พบว่าปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการทำงานเพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพคือสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับงานที่เขาทำด้วย

ทฤษฎี 2 ปัจจัยของเฮอร์ซเบอร์ก( Herzberg)

ทฤษฎีเฮอร์ซเบอร์กเน้นอธิบายและให้ความสำคัญกับปัจจัย 2 ประการได้แก่ตัวกระตุ้น(Motivators) และการบำรุงรักษา(Hygiene) สองปัจจัยมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของงานเป็นอย่างยิ่ง  เฮอร์ซเบอร์กได้ทำการศึกษาโดยสัมภาษณ์ความพอใจและไม่พอใจทำงานของนักบัญชีและวิศวกรจำนวน 200 คน  ผลการศึกษาสรุปว่าความพอใจในการทำงานกับแรงจูงใจในการทำงานของคนมีความแตกต่างกันคือการที่บุคคลพอใจในงานไม่ได้หมายความว่าคนนั้นมีแรงจูงใจในงานเสมอไป  แต่ถ้าคนใดมีแรงจูงใจในการทำงานแล้วคนนั้นจะตั้งใจทำงานให้เกิดผลดีได้  ผลการศึกษาจึงแสดงให้เห็นผลของปัจจัย2 ตัว  คือด้านตัวกระตุ้นและการบำรุงรักษาต่อเจตคติงานของบุคคล 

  1. ปัจจัยด้านตัวกระตุ้น (Motivator  factors)  เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน  ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ผลผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้บุคคลเกิดความพึงพอใจในการทำงาน(Job satisfaction) ตัวกระตุ้นประกอบด้วยปัจจัย 6 ประการดังนี้
  • การสัมฤทธิ์ผล คือ พนักงานมีความรู้สึกว่าเขาทำงานได้สำเร็จ
  • การยอมรับนับถือจากผู้อื่น คือพนักงานมีความรู้สึกว่าเมื่อทำสำเร็จมีคนยอมรับเขา
  • ลักษณะงานที่น่าสนใจ คือพนักงานรู้สึกว่างานที่ทำน่าสนใจ น่าทำ
  • ความรับผิดชอบ คือพนักงานรู้สึกว่าเขาต้องรับผิดชอบตนเองและงานของเขา
  • โอกาสที่จะเจริญก้าวหน้า คือ พนักงานรู้สึกว่าเขามีความก้าวหน้าในงานที่ทำ
  • การเจริญเติบโต คือ พนักงานตระหนักว่าเขามีโอกาสที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมและมีความเชี่ยวชาญ
  1. ปัจจัยด้านการบำรุงรักษา (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่ช่วยให้พนักงานยังคงทำงานอยู่และยังรักษาเขาไว้ไม่ให้ออกจากงานเมื่อไม่ได้จัดให้พนักงาน เขาจะไม่พอใจและไม่มีความสุขในการทำงานปัจจัยนี้ประกอบด้วย 10 ประการดังนี้
  • นโยบายและการบริหารคือ พนักงานรู้สึกว่าฝ่ายจัดการมีการสื่อสารที่ดีและเขารู้ถึงนโยบายขององค์การที่เขาอยู่
  • การนิเทศงาน คือพนักงานรู้สึกว่าผู้บริหารตั้งใจสอนงานและให้งานตามหน้าที่รับผิดชอบ
  • ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน คือ พนักงานรู้สึกดีต่อหัวหน้างานของเขา
  • ภาวะการทำงาน คือพนักงานรู้สึกดีต่องานที่ทำและสภาพการณ์ของที่ทำงาน
  • ค่าตอบแทนการทำงาน คือพนักงานรู้สึกว่าค่าตอบแทนเหมาะสม
  • ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน คือพนักงานมีความรู้สึกที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน
  • ชีวิตส่วนตัว คือพนักงานรู้สึกว่าชั่วโมงการทำงานไม่ได้กระทบต่อชีวิตส่วนตัว
  • ความสัมพันธ์กับลูกน้อง คือหัวหน้างานมีความรู้สึกที่ดีต่อลูกน้อง
  • สถานภาพ คือพนักงานรู้สึกว่างานเขามีตำแหน่งหน้าที่ดี
  • ความมั่นคง คือพนักงานรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในงานที่ทำอยู่

ปัจจัยบำรุงรักษาไม่ใช่สิ่งจูงใจที่จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น   แต่เป็นข้อกำหนดที่ป้องกันไม่ให้พนักงานเกิดความไม่พึงพอใจในงานที่ทำ  ถ้าไม่มีปัจจัยเหล่านี้แล้วอาจก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจแก่พนักงานได้   ซึ่งพนักงานอาจรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องหรือต่อรอง  ผู้บริหารจึงมักจัดโครงการด้านผลประโยชน์พิเศษต่างๆเพื่อให้พนักงานพึงพอใจ  เช่น การลาป่วย การลาพักร้อน และโครงการที่เกี่ยวกับสุขภาพและสวัสดิการของพนักงาน

ทฤษฎีเนื้อหา (Content  theories)  ยังคงได้รับความนิยมในด้านการบริหาร  เพราะง่ายต่อการเข้าใจและมีการเชื่อมโยงโดยตรงที่ชัดเจนจากความต้องการกับพฤติกรรม ในขณะเดียวกันก็ไม่มีทฤษฎีใดเชื่อมโยงโดยตรงกับพฤติกรรมการจูงใจโดยผู้บริหาร  ในทางตรงกันข้ามผู้บริหารมักจะมีการตีความผิดพลาดและไม่เหมาะสม  โดยคิดว่าพวกเขารู้ถึงความต้องการของผู้ใต้บังคับบัญชา

หมายเลขบันทึก: 315139เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2009 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 00:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

หาข้อมูลได้เร็วมากเลย ขอชื่นชม

ชื่อกลาง "ฟิล" เป็นชื่อทางศาสนา ย่อมาจาก ฟิลิป (Phillip)ครับ

ขอบคุณค่ะ คุณพ่อ ที่เข้ามาชม (ขออนุญาติสงสัยต่อ แล้ว ฟิลิป แปลว่าอะไรค๊ะ)

ขอชื่นชมด้วยคน....แต่สงสัยว่า อนุญาติ แปล ญาติเล็ก ๆ เหมือนกับ อนุภรรยา รึเปล่า...

คุณไพรินทร์ ขณะนี้กำลังทำการบ้านอยู่ ถ้าเสร็จแล้วจะส่งไปให้นะ ส่วนเรื่องจองห้อง ยังไม่รู้ว่าจะค้างรึเปล่าเลยไม่กล้าให้จอง ไว้บอกวันพรุ่งนะ เสียงที่ได้ยินขึ้นไปชั้นบนน่ะ เสียงชั้นทำการบ้านแล้วโทรไปหาแกสิ ไม่มีเสียงอย่างที่คิดหรอกย่ะ อีกเรื่องนึงสำคัญมาก ขนหนังสือภาวะผู้นำมาให้เพื่อนด้วย ห้ามลืม ขอบคุณมากๆ

น้องทิต รับสายตอนน้องยาทำการบ้าน ได้ยินอะไรบ้าง..เล่าให้ฟังบ้างนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท