ระบบการดูแลผู้ป้วยเบาหวานโรงพยาบาลสีชมพู (ต่อ)


เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง

ครั้งที่แล้วเราทราบควาทุกข์ของคลินิกเบาหวานแล้ว วันนี้เรามาดูกันนะคะ ว่า คลินิกของเรามีการปรับกระบวนการดูแลใหม่อย่างไร...โดยคลินิกเบาหวานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพได้เห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น  จึงได้ประชุมทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้ได้ตามมาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุข  ตามมาตรฐาน TCEN  และตามมาตรฐานที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด  จึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเพื่อเพิ่มคุณการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวมขึ้น

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวานเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง

2. เพื่อให้ผู้ป่วยบาหวานได้รับการดูแลตามมาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขและตาม   สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

3. ผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวานเกิดความพึงพอใจในบริการ   

4. เพื่อให้เครือข่ายจิตอาสามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน 

5. เพื่อเพิ่มความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่

  วิธีการดำเนินงาน

 1.จัดประชุมทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

2.จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ด้วย แพทย์  พยาบาล  เภสัชกร พยาบาล  ทันตแพทย์  นักกายภาพ เจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์  ทีมสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ ผู้ช่วยเหลือคนไข้   รวมทั้งจิตอาสา

3.ประชุมชี้แจงคณะทำงานในการปรับกระบวนการทำงานดังนี้

 

กระบวนการเดิม

กระบวนการที่ปรับแล้ว

ผลลัพธ์

ห้องบัตรค้นบัตรในตอนเช้าวันที่มีคลินิกเบาหวาน

จัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ห้องบัตรในเวรบ่ายวันจันทร์และวันอังคารเพื่อเตรียมบัตรเพื่อให้บริการวันอังคาร และวันพุธ

 

การค้นบัตรเร็วขึ้น  จะไม่รวมกับบัตรผู้ป่วยทั่วไป

ผู้ป่วยมารับบัตรคิวตั้งแต่เวลา  เช้ามืด(บางวัน ตั้งแต่ 6 ทุ่ม )

 

ผู้ป่วยนำบัตรนัดมารับบัตรคิว ณ จุดดัดกรองกับประชาสัมพันธ์ ด้วยตนเอง เริ่มเวลา 6.30 น.

จำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการตั้งแต่เช้ามืดลดลง 

พยาบาลซักประวัติ ประเมิน V/S  ขณะซักประวัติ เวลา 8.30 น.

 

จัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่เพื่อ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต วัดรอบเอว ตั้งแต่เวลา 6.30 น.

การให้บริการรวดเร็วขึ้น

เจ้าหน้าที่ห้องแลป  ให้บริการตรวจเลือดเวลา 6.30 น.วันละ 2 คนรวมทั้งลงผลเลือดในคอมพิวเตอร์

 

 จัดอัตรากำลังพยาบาลเพื่อช่วยเจาะเลือดในตอนเช้า  เวลา6.30- 8.30 น.เพิ่มอีกวันละ 2 คน

 ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารเร็วขึ้นและผลเลือดออกเร็วขึ้น ก่อน 8.30 น.

 การตรวจตามลำดับคิวทำให้ผู้ป่วยรอนาน

เวลา 8.30น. แยกกลุ่มผู้ป่วยตาม FBSถ้ามากกว่า 200 และน้อยกว่า 70  เพื่อทำกิจกรรม  self  help  group  โดยจิตอาสา และพยาบาล  หลังจากนั้นจึงซักประวัติและส่งพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษา

 

การให้บริการรวดเร็วขึ้น ไม่ต้องรอคิวเพื่อซักประวัติ และรอคิวเพื่อส่งไปพบแพทย์ ที่ OPD

ไม่มีกระบวนการนี้

 กลุ่มที่ FBS  ไม่เกิน 200  จะมีจิตอาสานำออกกำลังกาย โดยวิธีดุลยภาพบำบัดทุกวันเวลา 9.00 – 9.30 น.(6 เดือนแรกออกกลังกายทุกวันอังคาร 6 เดือนหลังนำออกกำลังกายทุกวันพุธ ) 

 

 ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในกิจกรรมออกกำลังกาย และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

มีการให้ความรู้แต่ไม่สม่ำเสมอ

จัดตารางให้ความรู้เป็นรายเดือนในวันที่ไม่มีกิจกรรมออกกำลังกาย (6 เดือนแรกให้ความรู้ทุกวันพุธ 6 เดือนหลังให้ความรู้ทุกวันอังคาร )

 

ทีมสหวิชาชีพมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยได้รับความรู้ที่หลากหลาย

ไม่มีกระบวนการนี้

กลุ่มผู้ป่วยที่ฉีดอินสุลิน จะแยกกลุ่มไปทบทวนวิธีการฉีดอินสุลิน โดยเภสัชกร ตั้งแต่เวลา 8.00 -9.00 ทุกวัน

 

ผู้ป่วยที่ฉีดอินสุลินได้รับการทบทวนวิธีการฉีดทุกคนครบ 100%

พยาบาลที่ทำหน้าที่ตรวจ มีเฉพาะพยาบาลที่คลินิกเบาหวาน เพียง 2 คน

เพิ่มทีมตรวจรักษาจากพยาบาลห้องผ่าตัด 1 คน และเภสัชกรอีก 1 คน รวม 4 คน โดยแบ่งระดับ FBS ถ้าน้อยกว่า 160 พบพยาบาล ถ้า FBS มากกว่า 160 พบเภสัชกร

 

การให้บริการตรวจรักษาและคำแนะนำผู้ป่วยรายบุคคล  เร็วขึ้นผู้ป่วยจะตรวจเสร็จก่อนเวลา 12.00น.

ไม่มีการตรวจสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยเบาหวาน

มีเจ้าหน้าที่จากห้องทันตกรรมมาตรวจสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยเบาหวานทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.30 -12.00 น.

 

ผู้ป่วยได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้นนอกจากการมาตรวจเบาหวาน

มีการตรวจเท้าผู้ป่วยแต่ไม่สม่ำเสมอ

 มีนักกายภาพร่วมกับพยาบาล และผู้ช่วยเหลือคนไข้ ในการดูแลสุขภาพเท้า  ตรวจเท้า เพื่อป้องกันการเกิดแผล  และดูแลแผลในผู้ป่วยที่มีแผลที่มีแผล  รวมทั้งติดตามอาการ ทุกสัปดาห์หรือแล้วแต่ความสะดวกของผู้ป่วย

 

 มีการดูแลผู้ป่วยได้ตามมาตรฐาน และมีการทำงานร่วมกันเป็นทีมผู้ป่วยที่มีแผลได้รับการดูแลเอาใจใส่เพิ่มขึ้น

ไม่มีการตรวจตาโดยจักษุแพทย์ในผู้ป่วยเบาหวาน

จัดทำโครงการคัดกรองจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานทั้งอำเภอ โดยเชิญแพทย์เฉพาะทางจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มาตรวจให้และมีการเตรียมผู้ป่วยโดยให้เจ้าหน้าที่แต่ละสถานีอนามัยเตรียมผู้ป่วยในพื้นที่รับผิดชอบมารับการตรวจที่โรงพยาบาล และในรายที่มีปัญหาส่งตัวรักษาต่อที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น  และ  โรงพยาบาลศรีนครินทร์

 

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจจอประสาทตาตามมาตรฐาน  และส่งตัวรักษากรณีที่มีความผิดปกติ

มีการตรวจเลือดเพื่อหาภาวะแทรกซ้อนประจำปี เฉพาะรายที่แพทย์สั่ง

ประสานงานกับห้องชันสูตร เพื่อเตรียมในเรื่องงบประมาณ และน้ำยาในการตรวจเพิ่มขึ้น และดำเนินการนัดตรวจผู้ป่วย เพื่อหาภาวะแทรกซ้อนประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (lab ที่ตรวจได้แก่ HbA1C ,Cr , LDL ,Uric  ,urine  albumin )

 

 ผู้ป่วยได้รับการตรวจเลือดหาภาวะแทรกซ้อนประจำปีเพิ่มมากขึ้น

ไม่มีการติดตามเยี่ยมบ้าน

มีการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน เช่น Admit บ่อยๆ ด้วยภาวะHypo- Hyperglycemia และมีภาวะแผลเรื้อรัง

 

 ผู้ป่วยได้รับการดูแลติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อค้นหาปัญหาของผู้ป่วย

 

 

หมายเลขบันทึก: 314838เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2009 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-เป็นรูปแบบขั้นตอน เห็นภาพชัดเจนดีครับ

-อย่าลืมดึง PCU เข้ามามีส่วนร่วมด้วยนะครับ

ขอบคุณค่ะคุณวัชรพงษ์ จากการประชุมแนวทางร่วมกันในปีนี้เราจะการประสานงานและส่งต่อผู้ป่วย จากโรงพยาบาลไป สอ. และจากสอ.มาโรงพยาบาลให้ชัดเจนและ เป็นรูปธรรมมากขึ้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท