ร่วมแสดงความคิดเห็น


สารที่อาจสู้กับไข้หวัดนกได้

ผู้เชี่ยวชาญจำแนกสารที่อาจสู้กับไข้หวัดนกได้

ผู้เชี่ยวชาญในฮ่องกงและสหรัฐอเมริกาได้ค้นพบสารส้งเคราะห์ที่ปรากฏว่าสามารถหยุดการจำลองตัวเองของเชื้อไข้หวัด รวมถึงเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 การค้นหาสารที่เป็นตัวยับยั้งนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปีที่ผ่านมาเพื่อนำมาเป็นสารเพื่อการผลิตยา เหมือนอย่าง oseltamivir ซึ่งเป็นยาที่ไม่ได้ผลแล้วต่อไวรัสไข้หวัด อย่างเช่นไข้หวัดตามฤดู H1N1 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญต่างตั้งคำถามว่ายาจะออกฤทธิ์ได้ดีและยาวนานแค่ไหนในการต่อต้านไวรัส H5N1 เมื่อเกิดการระบาดครั้งใหญ่

 

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮ่องกงและสหรัฐอเมริกาได้ทำการจำแนกสารประกอบกว่า 230,000 สาร ซึ่งถูกจัดหมวดหมู่ในสถาบันมะเร็งแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา และค้นพบสาร 20 ตัวที่อาจมีคุณสมบัติในการหยุดการแพร่ขยายตัวของไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ซึ่งหนึ่งในสารนั้นที่มีชื่อว่า NSC89853 ใด้แสดงผลที่น่าพอใจ

 

สารดังกล่าวมีความแตกต่างจาก oseltamivir แต่กลับทำงานในแบบเดียวกัน เปรียบเสมือนว่าไวรัสเป็นประตูที่มีรูกุญแจ แต่รูนั้นกลับมีลักษณะที่เปลี่ยนไป ทำให้กุญแจที่จะล๊อกประตูคือ สาร oseltamivir นั้นไม่สามารถล๊อกประตูได้อีกต่อไป แต่ในการค้นพบนี้นักวิจัยค้นพบรูกุญแจรูใหม่และกุญแจดอกใหม่ที่จะสามารถล๊อกประตูได้

 

รายงานนี้ตีพิมพ์ลงวารสาร Journal of Medicinal Chemistry โดยในการทดลอง นักวิจัยได้ทำการติดเชื้อเซลล์มนุษย์กับไวรัสหวัดทั่วไปและไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 แบบเป็นรอบ ๆ ที่แยกกัน และพบว่าสารประกอบเบอร์ 1 หรือสาร NSC89853 นั้นสามารถป้องกันการจำลองตัวเองของไวรัสทั้ง 2 แบบ

 

จากการที่พบปัญหาไวรัสต้านทานยา สารนี้จะสามารถช่วยให้เราพัฒนายาชนิดใหม่ขึ้นได้ แต่นักวิจัยได้เตือนว่าต้องใช้่เวลาอย่างน้อย 8 ปีกว่าที่ยาดังกล่าวจะออกสู่ท้องตลาดได้ ในหลายประเทศได้เตรียมพร้อมในการจัดเก็บยา oseltamivir และ zanamivir หรือยาในตระกูลระดับเดียวกันที่สามารถหยุดการแพร่เชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1

 

แต่จากกรมควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกาได้ระบุว่า 98% ของตัวอย่างไข้หวัดนกที่มาจากสายพันธุ์ H5N1 ในปัจจุบันนั้น ต่างมีความต้านทานต่อยา oseltamivir หมดแล้ว ไวรัสและแบคทีเรียนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต่อสู้เพื่ออยู่รอดและสามารถปรับตัวเพื่อให้ทนต่อยาที่ใช้ในการฆ่าพวกมันได้อย่างรวดเร็ว

 

ที่มา - reuters.com

 

เอกสารอ้างอิง - Journal of Medicinal Chemistry

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 314592เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2009 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท