ศรีตรังเบิกบาน
สำนักงาน กศน.จังหวัดตรัง ศรีตรัง

การผสมผสานงานวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ


วิจัยเชิงคุณภาพต้องใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบคลุกคลีตีโมง..วิธีเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล

 

   การทำวิจัยปัจจุบันมักมีการผสมสานการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะงานวิจัยทางด้านการศึกษานอกโรงเรียน แต่มักมีปัญหา ว่าเราจะนำการวิจัยเชิงคุณภาพมาทำในช่วงใด ก่อน พร้อม หรือหลัง วิจัยเชิงคุณภาพต้องใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบคลุกคลีตีโมง..วิธีเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล..ความเชื่อระหว่างปรัชญาความเชื่อ Positivism และPhenomenology การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใชสถิติ และการวิเคราะห์ในเชิงเนื้อหา

   ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการของการการเชิงคุณภาพ (ในประเทศ ) ของสมาคมนักวิจัย ที่โรงแรมบางกอกพาเลส กรุงเทพฯ วันที่ 9-13 พฤศจิกายน  2552 โดยมีทีมวิทยากร คือ รศ. ดร. เบญจา  ยอดดำเนิน -แอ็กติกจ์ /รศ. ดร.จรรยา  เศรษฐบุตร /และผศ. ดร. พิมลพรรณ อิศรภักดี เป็นวิทยากร มีการไปเก็บข้อมูลภาคสนามที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม หลังจากมีการฝึกการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ  Content  Analysis /การฝึกการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อส่งพิมพ์วารสาร แล้ว..  เราก็มีการหยิบยกเรื่องนี้มาพูดคุยกันว่าเราจะผสมผสานกันตอนไหน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

  การผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพนั้นมาจากเหตุผล 4  ข้อคือ

             1.  เหตุผลทางด้านแนวคิด ทฤษฏี

             2. เหตุผลทางด้านข้อมูลและความลุ่มลึกของเรื่องที่ศึกษา

             3. เหตุผลทางด้านวัตถุประสงค์

             4. การแก้ไขข้อบกพร่องของวิธีการเก็บข้อมูลวิธีต่าง ๆ (เพื่อเสริมจุดดี จุดด้อยซึ่งกันและกัน

วิธีผสมผสาน  3  แนวทาง

1. แนวทางที่1.. ผสมผสานแบบแยกส่วน (Two-Phase Design Approach )

วิธีนี้ จะแยกวัตถุประสงค์/สมมุติฐาน ทฤษฎีอ้างอิง /การวิเคราะห์ 

 เช่นงานวิจัยเรื่อง การศึกษาการตายของทารกและเด็กในภาคใต้  

   
   

ข้อมูลเชิงปริมาณ ต้องการศึกษาอัตราการตายของทารกและเด็กในจังหวัดภาคใต้

ข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลแสดงเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพของสตรี ที่ช่วยอธิบาย

                       ถึงสาเหตุการตายของเด็กและทารกในกลุ่มมุสลิม 

    

2. แนวทางที่ 2 ..ผสมผสานแบบเน้นวิธีใดวิธีหนึ่ง(Dominant Design Approach )

ข้อตกลง  คือการวิเคราะห์ข้อค้นพบ/วิเคราะห์/ อภิปรายผล/เสริมซึ่งกันและกัน/

เช่นงานวิจัยเรื่อง  การศึกษาพฤติกรรมในการใช้บริการสาธารณสุขของประชากรในพื้นที่สูง จังหวัดกาญจนบุรี

ข้อมูลเชิงปริมาณ .. ต้องการศึกษาว่าประชากรต่างชาติพันธุ์มีการใช้บริการสาธารณสุข

                        ในระดับที่ต่างกัน

ข้อมูลเชิงคุณภาพ .. ปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม ทำให้ความเชื่อ เกี่ยวกับการเจ็บป่วยที่

                          ต่างกัน 

3. แนวที่ 3  .. ผสมผสานแบบควบคู่ (Mixed Methodology Design Approach )

 

เช่น งานวิจัยเรื่อง การประเมินผลโครงการนำร่องการเลือกสถานพยาบาลโดยความ

                      สมัครใจ

ข้อมูลเชิงปริมาณ ..สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อรูปแบบและการจัดการของรัฐ

                      .. เปรียบเทียบการใช้บริการก่อนและหลังการเลือกสถานพยาบาล

                      .. หารูปแบบการจัดการที่ประชาชนต้องการ

ข้อมูลเชิงคุณภาพ .. ศึกษาระบบการบริหารจัดการของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐและเอกชน

                       .. หารูปแบบที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เห็นว่าเหมาะสม

นอกจากนี้เราก็สามารถผสมผสานในด้านเทคนิควิธีการเก็บข้อมูล เช่น สำรวจ+สนทนากลุ่ม+สัมภาษณ์เชิงลึก+การสังเกตแบบมีส่วร่วม ..ไม่มีกฎตายตัว

สนใจรายละเอียด : www.ar.or.th (สมาคมนักวิจัย )นอกจากการฝึกอบรมแล้ว ทางสมาคมมีวารสารรายสามเดือน สำหรับสมาชิกด้วย

หมายเลขบันทึก: 313934เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2009 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท