เครื่องปรับอากาศประหยัดไฟฟ้า


เครื่องปรับอากาศประหยัดไฟฟ้า

เครื่องปรับอากาศประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5

 

จากความสำเร็จในการติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพเบอร์ 5 บนตู้เย็นประหยัดไฟฟ้า กฟผ.ได้ใช้วิธีเดียวกันผลักดันให้เกิดเครื่องปรับอากาศ
ประหยัดไฟฟ้าเนื่องจากเครื่องปรับอากาศเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการเติบโตสูงและใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนทั้งในภาค
ที่อยู่อาศัยและภาคธุรกิจ โดยเริ่มเปิดตัวโครงการฯ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2538 ด้วยความร่วมมือจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ ในการ
กำหนดระดับประสิทธิภาพและพัฒนาเครื่องปรับอากาศ เพื่อติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพเบอร์ 5โดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
(สฟอ.) เป็นหน่วยงานทดสอบค่าประสิทธิภาพ

ปี 2548 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานขั้นต่ำ (Minimum Energy
Performance Standard (MEPS) โดยกำหนดให้เครื่องปรับอากาศสำหรับห้องขนาดไม่เกิน 8,000 และ 12,000 วัตต์ มีอัตราส่วน
ประสิทธิภาพพลังงานไม่น้อยกว่า 2.82 และ 2.53 (9.6 และ 8.6 BTU/hr/W) ตามลำดับมีผลบังคับใช้ตั้งแต่มีนาคม 2548 ดังนั้นเครื่อง
ปรับอากาศในขอบข่ายดังกล่าวจะต้องผ่านมอก. 2134-2545 จึงจะสามารถผลิตและนำเข้าเพื่อจำหน่ายภายในประเทศได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิด
การพัฒนาและประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้น กฟผ. จึงได้ปรับเกณฑ์ประสิทธิภาพเบอร์ 5จากเดิม ค่าประสิทธิภาพพลังงาน EER 10.6 เป็น EER
11 ซึ่งสามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณ ร้อยละ 5 โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ มกราคม 2549 เป็นต้นมา

 

 

ประสิทธิภาพ Energy Efficiency Ratio (EER)

EER =

ขีดความสามารถทำความเย็นของเครื่่องปรับอากาศ (BTU/Hr)

จำนวนกำลังไฟฟ้าที่เครื่องใช้ (Watt)

=

12,000 BTU/Hr

1,000 Watt

=

12 BTU/ชั่วโมง/วัตต์

 

เกณฑ์ระดับประสิทธิภาพพลังงาน (EER)
เครื่องปรับอากาศประหยัดไฟเบอร์ 5

ระดับประสิทธิภาพ

อัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน (EER)

เบอร์ 5

มากกว่าหรือเท่ากับ 11.0

เบอร์ 4

มากกว่าหรือเท่ากับ 10.6 - น้อยกว่า 11.0

เบอร์ 3

มากกว่าหรือเท่ากับ 9.6 - น้อยกว่า 10.6

 


เครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 คุ้มค่ากว่า

ขนาด

เปรียบเทียบประสิทธิภาพ
(บีทียู/ชั่วโมง/วัตต์)

ผลการประหยัดที่ได้ต่อปี

บีทียู/ชม.

ตันความเย็น

เบอร์ 5

มอก. 2134-2545

หน่วย (kWh)
ประมาณ

บาท
ประมาณ

12,000

1

12.24

9.6

787.25

2,582.20

18,000

1.5

11.84

9.6

1,035.81

3,397.46

24,000

2

11.76

9.6

1,340.82

4,397.88

28,000

2.33

11.50

8.6

2.397.41

7,863.51

 

 

หมายเหตุ

มอก. 2134-2545 คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศสำหรับห้อง
เฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม : ประสิทธิภาพพลังงาน
ให้เครื่องปรับอากาศใช้งาน 8 ชั่วโมง/วัน
ค่าพลังงานไฟฟ้าต่อหน่วย = 3.28 บาท / หน่วย

 

 

การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศประหยัดไฟฟ้า

การใช้เครื่องปรับอากาศอย่างถูกวิธี จะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน ดังนั้นก่อนซื้อเครื่องปรับอากาศ ควรพิจารณาดังนี้

1. เลือกเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับขนาดของห้อง

 

ขนาดห้อง
(ตารางเมตร)

ห้องนอน

ห้องทำงาน/ห้องรับแขก

ไม่โดนแดด(BTU/hr)

โดนแดด(BTU/hr)

ไม่โดนแดด(BTU/hr)

โดนแดด(BTU/hr)

9-12

7,000

8,000

8,000

9,000

13-14

8,000

9,000

9,000

11,000

15-17

9,500

11,000

11,000

13,500

18-20

12,000

13,500

13,500

16,500

21-24

15,000

16,500

16,500

20,000

25-33

18,000

20,000

20,000

26,500

34-44

24,000

26,500

26,500

30,000

 


2. การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ควรใช้ช่างผู้ชำนาญงาน และควรวางเครื่องในจุดที่เครื่องจ่ายความเย็นได้ดี เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

3. หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองฝุ่นทุก ๆ เดือนหรือมากกว่าถ้าจำเป็น และทำความสะอาดใหญ่ปีละครั้ง เพื่อยืดอายุการใช้งาน

4. ตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสมที่ 25- 26 องศาเซลเซียส เพราะอุณหภูมิที่ลดลง 1 องศาจะทำให้ต้องเสียค่าไฟฟ้าเพิ่มประมาณ 10 %

5. ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน

6. ถ้าต้องออกจากห้องเป็นเวลามากกว่าครึ่งชั่วโมงควรปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้ง

 

หมายเลขบันทึก: 313206เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2009 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท