ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาเมตาบอลิสม


ปัญหาการย่อยการดูดซึมและการขับถ่าย

วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1   รหัสวิชา 503  212

หน่วยการเรียนที่ 2         กระบวนการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับเมตาบอลิสม

-   ปัญหาการย่อยและการดูดซึม  (Cholecystitis, Gall stone, Gut obstruction)

-   ปัญหาการขับถ่าย (Appendecitis, Hernia, Hemorrhoid, Fistula in ano)

และปัญหาทางการพยาบาลและการพยาบาล 

อาจารย์อภิฤดี จิวะวิโรจน์

การพยาบาลผู้ป่วย Gall stone (นิ่วในถุงน้ำดี) และ Cholecystitis (ถุงน้ำดีอักเสบ)

การประเมินสภาพ

1.     ประวัติ   อาการสำคัญที่นำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ประวัติการรับประทานอาหาร แบบแผนการย่อยอาหาร หรือการติดเชื้อที่มีผลต่อตับ ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบันและอดีต อาการและอาการแสดงที่เกี่ยวข้องกับโรคนิ่วในถุงน้ำดีและถุงน้ำดีอักเสบ

2.     การตรวจร่างกาย  ตรวจร่างกายตามระบบ การวัดไข้ และเน้นการตรวจหน้าท้อง โดยคลำตับและถุงน้ำดีเพื่อประเมินว่ามีการกดเจ็บใต้ชายโครงขวาหรือไม่ ตัวตาเหลือง และการตรวจอาการแสดงอื่นๆที่บ่งชี้โรคนิ่วในถุงน้ำดีและถุงน้ำดีอักเสบ

3.     การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจเลือดพบ leukocytosis ระดับ bilirubin, alkaline phosphatase และ serum amylase อาจปกติหรือสูงขึ้นเล็กน้อย  เม็ดเลือดขาวสูงขึ้น และการตรวจพิเศษอื่นๆ

วินิจฉัยทางการพยาบาล (สมพร ชินโนรส, 2545)

  1. ผู้ป่วยมี cardiac output ลดลง จากการที่ปริมาตรน้ำในหลอดเลือดลดลงอันเป็นผลจากภาวะ septicemia ซึ่งทำให้หลอดเลือดดำส่วนปลายขยายตัวและหลอดเลือดที่ไตหดตัว
  2. ไม่สุขสบาย: มีไข้สูงเนื่องจากถุงน้ำดีอักเสบอย่างเฉียบพลัน
  3. ผู้ป่วยมีความวิตกกังวล เนื่องจากขาดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตนเมื่อเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด
  4. ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการขาดสารน้ำและเกลือแร่ เนื่องจากมีไข้และอาเจียนก่อนผ่าตัด ในขณะที่หลังผ่าตัดผู้ป่วยมีน้ำดีออกมาทางสาย T tube
  5. ผู้ป่วยไม่สุขสบาย : ปวดแผลผ่าตัด เนื่องจากเนื้อเยื่อของร่างกายได้รับบาดเจ็บจากการผ่าตัด เป็นต้น

การพยาบาลผู้ป่วยสำไส้อุดตัน

การประเมินสภาพ

1.     ประวัติ  การเป็นไส้เลื่อน การผ่าตัดหน้าท้อง การขับถ่ายอุจจาระ ท้องผูกสลับกับท้องเดิน ในรายที่อุดตันเรื้องรัง อาการปวดท้อง อาเจียนไม่ถ่ายอุจจาระ

2.     การตรวจร่างกาย ตรวจหน้าท้อง มีรอยแผลเป็น ตรวจดูไส้เลื่อน อาการท้องอืด ฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ขณะที่มีอาการปวดท้อง จะได้ยินเสียงดังมาก

3.     การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจเลือดหาระดับเกลือแร่ จะพบว่าโซเดียม โปแตสเซียมและแมคนีเซียมลดลง ระดับ BUN ในเลือดอาจสูง ปัสสาวะออกน้อย สีเข้ม มีความถ่วงจำเพาะสูง 1.025-1.030  ค่าHematocrit สูงขึ้น, WBC มักสูง ด้วย

วินิจฉัยทางการพยาบาล  (คณาจารย์สถาบันพระบรมราชชนก, 2550)

  1. ปวดท้องอย่างรุนแรงเนื่องจากลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น
  2. ปริมาตรน้ำในระบบไหลเวียนลดลง เนื่องจากอาเจียนและสูญเสียน้ำทางช่องท้อง โพรงลำไส้
  3. การแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดพร่องลงเนื่องจากท้องอืดดันกระบังลม
  4. เสี่ยงต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหาร
  5. ขาดความรู้เกี่ยวกับการดำเนินของโรค ตลอดจนแผนการรักษา และการปฏิบัติตัว

 การพยาบาลผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ

การประเมินสภาพ

1.       ประวัติ  ประวัติจะมีอาการปวดท้อง อาจมีอาการท้องผูก ท้องเสียหรือคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

2.     การตรวจร่างกาย ตรวจร่างกายจะพบอาการเจ็บเมื่อกดที่หน้าท้องแล้วปล่อย และกดเจ็บบริเวณท้องน้อยด้านขวาส่วนล่าง มีไข้ ฟังเสียงลำไส้ทำงานน้อยลง

3.     การตรวจทางห้องปฏิบัติการ  ได้แก่ การตรวจนับเม็ดเลือด (CBC) พบเม็ดเลือดขาวสูงขึ้น ตรวจปัสสาวะ พบเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวเล็กน้อย

วินิจฉัยทางการพยาบาล  (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช  สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์, 2551)

ระยะก่อนผ่าตัด  1.   ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดจากการติดเชื้ออักเสบที่ไส้ติ่ง

              2.   มีภาวะเสี่ยงต่อการแตกทะลุของไส้ติ่ง

ระยะหลังผ่าตัด   1.   ปวดแผลผ่าตัดเนื่องจากท้องอืด

              2.    เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากมีเชื้อโรคปนเปื้อนบริเวณแผลผ่าตัด

              3.    ปฏิบัติตนไม่ถูกต้องเนื่องจากขาดความรู้

การพยาบาลผู้ป่วยไส้เลื่อน

การประเมินสภาพ

1.       ประวัติ  ผู้ป่วยอาจมีประวัติของความเจ็บป่วย และการรักษามาก่อน เช่น การไอเรื้อรัง การผ่าตัด

2.       การตรวจร่างกาย  พบตำแหน่งไส้เลื่อนบวมโป่ง เช่น ลูกอัณฑะบวมในผู้ชายอาจใส่กางเกงลำบาก ถ้าไส้เลื่อนไม่สามารถดันกลับได้จะมีอาการบวมเจ็บและปวดมาก

 วินิจฉัยทางการพยาบาล  (คณาจารย์สถาบันพระบรมราชชนก, 2550)

  1. วิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับโรค ภาวะแทรกซ้อน การรักษาและการปฏิบัติตัว
  2. เจ็บปวดเนื่องจากมีการบวมของแผลหลังผ่าตัด
  3. มีแนวโน้มเกิดปัสสสาวะคั่งหลังผ่าตัด เนื่องจากมีการอักเสบของเนื้อเยื่อจากการผ่าตัดและฤทธิ์ของยาระงับปวดขณะผ่าตัด

การพยาบาลผู้ป่วยโรคฝีคัณฑสูตรและริดสีดวงทวาร

การประเมินสภาพ

1.     ประวัติ  ซักประวัติเกี่ยวกับลักษณะการขับถ่ายอุจจาระ อาการเจ็บปวด การมีเลือดออกและมีริดสีดวงโผล่ออกมา ประวัติท้องผูกหรือต้องเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นประจำมาเป็นเวลานาน ตลอดจนประวัติการดูแลสุขอนามัยบริเวณรอบๆ ทวารหนัก

2.       การตรวจร่างกาย   การสอดนิ้วมือตรวจในทวารหนัก(PR) คลำพบการโป่งพองของหลอดเลือดดำบริเวณรอบๆทวารหนัก หรือคลำได้ก้อนฝีซึ่งถ้ามีการอักเสบจะคลำได้อุ่นและเจ็บ เมื่อนำสิ่งระบายจากฝีหนองไปเพาะเชื้อจะพบเชื้อที่เป็นสาเหตุของการอักเสบเป็นฝีได้

3.       การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ ในกรณีที่เสียเลือด ควรตรวจนับจำนวนเม็ดเลือด การตรวจอื่นๆ ได้แก่ การส่องกล้องตรวจทวารหนัก และลำไส้ส่วนปลาย (Proctoscopy) ตำแหน่งของหลอดเลือดดำโป่งพอง ตรวจดูว่ามีรอยทะลุส่วนใดของทวารหนัก

วินิจฉัยทางการพยาบาล  (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช  สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์, 2551)

  1. มีภาวะซีดเนื่องจากเสียเลือดเรื้อรัง
  2. ปวดและไม่สุขสบายขณะถ่ายอุจจาระเนื่องจากระคายเคืองริดสีดวงทวารหนัก
  3. ท้องผูกเนื่องจากการกลั้นอุจจาระ
  4. มีการติดเชื้อเนื่องจากมีฝีคัณฑสูตรหรือฝีทะละทวารหนัก หรือที่แผลหลังผ่าตัด
  5. มีโอกาสเกิดโรคซ้ำเนื่องจากขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเอง

 เอกสารอ้างอิง: 

คณาจารย์สถาบันพระบรมราชชนก. (2550). การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 10. (ปรับปรุงครั้งที่ 1). นนทบุรี : บริษัท ยุทรินทร์ การพิมพ์ จำกัด.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช  สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์. (2551).  เอกสารการสอนชุดวิชา การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ หน่วยที่ 1-5. พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

สมพร ชินโนรส. (บรรณาธิการ). (2545). การพยาบาลศัลยศาสตร์ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : พิมพ์อำไพ.

หมายเลขบันทึก: 313127เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2009 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์แค็ท น่าจะทำการพยาบาลร่วมด้วยค่ะ แต่ที่เขียนไว้ช่วยพยาบาลในการดูแลได้มาก

คะ จะเพิ่มเติมให้ในบันทึกต่อๆ ไปนะคะ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท