คอเลสเตอรอล กับ โรค หัวใจ ปัจจุบัน ทุกวัย ต้องระวังที่สุด


อายุมากขึ้น สิ่งที่ต้องระวังงมากที่สุด คือ อาหารที่กินแล้วเกิดคอเลสเตอรอลในร่างกาย ถ้าไม่ระวัง จะเกิดโรค หลายอย่างกับร่างกาย

  คอเลสเตอรอล เป็นสาร ลักษณะ คล้ายแวกท์ ตับ จะสร้างคอเลสเตอรอลและคอเลสเตอรอล จะเชื่อมต่อ กับโปรตีน  เรียกว่า ไลโป โปรตีน  ซึ่งทำให้สามารถละลายในเลือดและถูกขนส่งไปสู่ส่วนต่างๆทั่วร่างกาย

    คอเลสเตอรอล  มีหน้าที่สำคัญ  ในการสร้างเซลล์เมมเบรนฮอร์โมนบางชนิด   และวิตามินดี  อย่างไรก็ตามการมีคอเลสเตอรอลในเลือดมากเกินไปจะเกิดปัญหาตามมาได้

 โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่า 

  การมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง   เกินไปจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ  เนื่องจากจะเกิดการสะสม   ของคอเลสเตอรอล  ที่เส้นเลือดหัวใจ   ซึ่งการสะสมนี้จะทำให้เส้นเลือดหัวใจมีขนาดเล็กลง ไม่มีความยืดหยุ่น ทำให้หัวใจเกิดการขาดเลือดได้  อย่างไรก็ตามการสะสมของคดเลสเตอรอล สามารถชะลอลงได้ หรือสามารถหยุดได้   

      * คอเลสเตอรอลที่เกาะอยู่กับโปรตีนมี 2 รูปแบบ  คือ Low Density Lipoprotein(LDL) คอเลสเตอรอลที่จะขนส่งคอเลสเตอรอล จากตับ ไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกายเมื่อมี LDLคอเลสเตอรอลมากเกินไป จะเกิดการสะสมของคอเลสเตอรอลที่เส้นเลือดหัวใจได้  ดังนั้น เราจึงเรียก คอเลสเตอรอลชนิดนี้ว่า   " คอเลสเตอรอลไม่ดี  "

   * อีกรูปแบบหนึ่งคือ Hil  Density Lipoprotein(HDL) คอเลสเตอรอลที่จะเอk

คอเลสเตอรอลจากกระแสเลือดกลับเข้ามาทำลายที่ตับ ดังนี้ HDL คอเลสเตอรอลจึงทำหน้าที่คล้ายกับการดึงเอาคอเลสเตอรอลที่สะสมอยู่ที่เส้นเลือดหัวใจ กลับออกมา ดังนั้นเราจึงเรียกคอเลสเตอรอลชนิดนี้ว่า " คอเลสเตอรอล ที่ดี "

 

ขอบคุณข้อมูลจาก คณะอุตสาหกรรมการเกษตร

มหาวิทยาลัย สงขลานคริทร์ เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์     

 

 -  การใส่ใจเลือกอาหารในปัจจุบันนี้ สำคัญมากทุกมื้อทุกวัน ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ กลุ่มที่ต้องซื้ออาหารไม่ได้ทำเอง ไขมันที่อยู่ในอาหารผู้ขายส่วนใหญ่ ไม่ได้เป็นห่วงผู้ซื้อ ขอให้ขายได้ ขายหมด  ผู้ซื้อก็ซื้อเพราะความอร่อยบ้าง เพราะไม่รู้จะกินอะไรบ้าง เคยซื้อก็ซื้อเหมือนเดิมฯลฯ แล้วเกิดการสะสม ทุกมื้อทุกวัน  ร่างกายเคยหุ่นดี ก็เริ่มเปลี่ยนแปลง แล้วโรค ก็จะตามมา

 

ด้วยความปรารถนาดี กานดา  แสนมณี

 

หมายเลขบันทึก: 311872เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2009 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ตุลาคม 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท