การก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัดตากฟ้า พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๒๕๒๘


วัดจะดีมีหลักฐานเพราะบ้านช่วย บ้านจะสวยเพราะมีวัดดัดนิสัย บ้านกับวัดพลัดกันช่วยก็อวยชัย หากขัดกันก็บรรลัยทั้งสองทาง..ฯ

         พ.ศ.  ๒๕๒๑ - ๒๕๒๒  ดำเนินการก่อสร้างกุฏิ  ๓  ชั้น  กว้าง  ๑๖  เมตร  ยาว  ๑๖ เมตร  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก  พื้นชั้นที่ ๑  เป็นซีเมนต์ขัดมัน  ปูพื้นไม้กระดานเฉพาะในห้องพักพระภิกษุ  พื้นชั้นที่  ๒  เป็นไม่มะค่าโมง แผ่นใหญ่ ส่วนพื้นชั้นที่ ๓  เป็นไม้ชิงชัน,  ชั้นที่ ๓ มี  ๖ ห้องพัก, ๑ ห้องน้ำ  เป็นที่อยู่ของท่านเจ้าอาวาส  (พระครูนภเขตคณารักษ์) หลังจากที่ย้ายมาจากกุฏิตรีมุข  (พ.ศ. ๒๕๒๓ - ๒๕๒๘) ชั้นที่ ๒  มีห้องพักสำหรับพระภิกษุจำนวน  ๔ ห้อง,  ห้องน้ำ  ๑ ห้อง ห้องกลางด้านหน้าใช้เป็นห้องพระ  เป็นสถานที่ทำวัตรสวดมนต์เช้า (๐๔.๐๐ น.) ของพระภิกษุสามเณร  และเป็นสถานที่สำหรับรับรองแขกของท่านเจ้าอาวาส  ชั้นที่ ๑  พื้นซีเมนต์ขัดมัน  ในห้องปูพื้นไม้กระดาน  ห้องกลางด้านหลังใช้เป็นที่ทำงานของเลขานุการเจ้าคณะอำเภอตากฟ้า  และมีห้องพักของพระภิกษุจำนวน ๓ ห้อง,  ห้องน้ำ  ๑ ห้องเพราะเป็นกุฏิที่อยู่ด้านหน้าและเป็นที่อยู่ของท่านเจ้าอาวาส  จึงนิยมเรียกกันว่า  ตึกหน้าหรือตึกเจ้าอาวาส  (กุฏิหลังนี้ถูกรื้อถอนไปเมื่อวันที่ ๘ -๒๒  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๒)

Aass

กุฏิตึกหน้า

        พ.ศ.  ๒๕๒๒  ๏  ดำเนินการก่อสร้างหอน้ำประปา   สร้างเมื่อ  ๑๐  กุมภาพันธ์  ๒๕๒๒  ขนาด  ๔ x ๔  เมตร  สูง  ๒๐  เมตร  ลักษณะทรงบาตร  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก  สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น  ๑๒๐,๐๐๐  บาท  พ่อบุญมี  แม่กลิ่น  พี่ภรณี  สมศรี  บริจาคร่วมสร้างเป็นจำนวนเงิน  ๖๐,๐๐๐ บาท

Water

แท้งก์น้ำ  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒

         ๏  ดำเนินการก่อสร้างอาคารอาคารเอนกประสงค์  สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง  ยกพื้นลอย  ๑  เมตร  หลังคามุงด้วยสังกะสี  ขนาดกว้าง  ๑๒  เมตร  ยาว  ๒๔  เมตร   เพื่อใช้เป็นเวทีดนตรีในเวลาที่วัดจัดงานเทศกาล  และใช้เป็นสถานที่ทำวัตรสวดมนต์ปฏิบัติธรรมสำหรับงานปริวาสกรรมประจำปีของวัดตากฟ้า

        พ.ศ.  ๒๕๒๓  ดำเนินการก่อสร้างกุฏิวิปัสสนา  จำนวน  ๒ หลัง เป็นกุฏิเล็กๆ สำหรับภิกษุอยู่รูปเดียว  ขนาดกว้าง  2 เมตร  ยาว  3  เมตร กั้นห้อง  มุงด้วยสังกะสี  โครงสร้างทำด้วยไม้ทั้งหมด  ตั้งเสาบนแท่นปูนหล่อ (ยกได้) 

        พ.ศ.  ๒๕๒๕ ดำเนินการก่อสร้างเมรุ ลักษณะทรงไทยประยุกต์ยอดเป็นมณฑป  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก  สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น  ๒,๐๐๐,๐๐๐  บาท  (เจ้าภาพหลัก คือ พ่อบุญมี  แม่กลิ่น  สมศรี)

Meru

เมรุ  สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๕

ค่าก่อสร้าง  ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท

"ไปไม่กลับ"    ทุกข์ตรมพาขมขื่น            "หลับไม่ตื่น"       แน่ไซร้ทั้งชายหญิง

"ฟื้นไม่มี"       ทุกรูปนามคือความจริง       "หนีไม่พ้น"         แน่ยิ่ง "สัจธรรม"...ฯ

       พ.ศ.  ๒๕๒๗  ๏  เริ่มดำเนินการก่อสร้างกุฏิวิปัสสนา  ต่อจากเดิมที่มีอยู่  ๒ หลัง  เป็นกุฏิเล็กๆ สำหรับภิกษุอยู่รูปเดียว ขนาดกว้าง ๒  เมตร  ยาว  ๓ เมตร กั้นห้อง  มุงด้วยสังกะสี  โครงสร้างทำด้วยไม้ทั้งหมด  ตั้งเสาบนแท่นปูนหล่อ (ยกได้)  จำนวน  ๒๔  หลัง   พร้อมกับสร้างห้องน้ำห้องสุขา  ๑ หลังจำนวน  ๖ ห้อง       พื้นคอนกรีต  ก่ออิฐฉาบปูน  เครื่องบนเป็นไม้มุงด้วยสังกะสี  

        กุฏิวิปัสสนาชุดหลังนี้   สร้างด้วยไม้คุณภาพไม่ดี  ประกอบด้วยพื้นที่บริเวณวัดมีปลวกชุกชุม เมื่อสร้างแล้วไม่มีพระอยู่ประจำทำให้ปลวกรบกวน  จนไม่สามารถที่จะใช้การได้  จึงต้องถูกรื่อทิ้งไป  หลังที่สภาพยังดีอยู่ก็ได้มอบให้วัดต่างๆ ยกไปเพื่อเป็นประโยชน์กับวัดนั้นๆ   ดังนี้  สำนักผาลาด  จำนวน ๔ หลัง วัดพุขาม จำนวน ๓ หลัง  และวัดไตรคีรีวราราม  จำนวน  ๔ หลัง 

                   ๏  ดำเนินการก่อสร้างอาคารปฏิบัติธรรม  ย้ายจากศาลาปรกเดิมไปสร้างอยู่ตรงกึ่งกลางกุฏิวิปัสสนา(ที่อยู่โดยรอบ)  เสาปูนย้ายเอามาจากที่จะสร้างกุฏิ (หน้ากุฏิตรีมุง  ค้างการเวกเก่า)  เครื่องบนเป็นไม้เนื้อแข็ง  มุงด้วยสังกะสี  ขนาดกว้าง  ๑๐ เมตร  ยาว  ๑๔  เมตร  สร้างยังไม่เรียบร้อย  พื้นล่างเพียงแต่ถมดินไว้  อัดดินไว้เท่านั้นยังไม่ได้เทคอนกรีต (งานค้างอยู่แค่นั้น)

                   ๏  สาเหตุที่จัดสร้างกุฏิวิปัสสนาและอาคารปฏิบัติธรรมก็เพราะพระเดชพระคุณหลวงพ่อมักจะปรารภกับสัทธิวิหาริกอยู่เสมอๆ ว่า  “เมื่อผมอายุถึง  ๖๐ ปีเมื่อใด  ก็จะหยุดการทำงานคณะสงฆ์ทุกอย่าง  ลาออกจากทุกตำแหน่งทั้ง  เจ้าอาวาสและเจ้าคณะอำเภอ  หยุดจากงานคณะสงฆ์มานำพาพระนำพาญาติโยมปฏิบัติธรรมกันดีกว่า     มีประโยชน์มากกว่า   ได้ประโยชน์กับตัวเองมากกว่าด้วย  เพราะสังคมพระปัจจุบันนี้มันวุ่นวาย...    แต่...พระเดชพระคุณหลวงพ่อก็ดำรงชีวิตอยู่มีอายุไม่ทันถึง ๖๐ ปีตามที่กำหนดนั้น  เพราะมรณภาพเมื่ออายุเพียง  ๕๔ ปี  ๒ เดือน  ๘ วัน  อุปสมบทได้  ๓๕  พรรษาเท่านั้น จึงทำให้ความตั้งใจของพระเดชพระคุณหลวงพ่อนั้นต้องหยุดไปดังกล่าว

         พ.ศ.  ๒๕๒๘  ดำเนินการก่อสร้างกุฏิทรงไทยประยุกต์ จัตุรมุข  ๒ ชั้น  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก  หลังคามุงด้วยกระเบื้องลอนคู่  สีเขียว  ชั้นที่  ๒  พื้นไม้สักทอง  (โยมแม่สังเวียน  ขำอ่อน บริจาค)  มี  ๔  ห้องนอน,  ๑ ห้องน้ำ  ชั้นที่ ๑  พื้นไม้มะค่าโมง  มี  ๒  ห้องนอน,  ๑ ห้องน้ำ  และชั้นใต้ดิน  ใช้สำหรับเป็นที่เก็บสัมภาระต่างๆ กฏิหลังนี้ถูกสร้างขึ้นด้วยน้ำพักน้ำแรงของพระครูนภเขตคณารักษ์และพระภิกษุ-สามเณรที่จำพรรษาในปี พ.ศ. ๒๕๒๘  โดยมีพ่อบุญมี  แม่กลิ่นสมศรี  เป็นเจ้าภาพ  เป็นกุฏิหลังแรกที่พ่อบุญมี  แม่กลิ่น สมศรีเป็นเจ้าภาพสร้าง  จึงนิยมเรียกกันว่า  กุฏิสมศรี  ๑  เป็นกุฏิที่อยู่ของท่านเจ้าอาวาส  (พระครูนภเขตคณารักษ์) หลังจากที่ย้ายมาจากกุฏิตึกหน้าจนถึงมรณภาพ  (พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๓๕) สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น  ๕๕๔,๓๗๗ บาท (ยอดการก่อสร้างจริงๆ ที่ถูกบันทึกไว้โดย พระครู นภเขตคณารักษ์

Somsri

กุฏิสมศรี ๑  พ่อบุญมี  แม่กลิ่น  สมศรี บริจาคสร้าง 

สิ้นค่าก่อสร้าง   ๕๕๔,๓๗๗  บาท

Tya

กุฏิสมศรี ๑ 

เมื่อบูรณะครั้งแรก  เมื่อเดือน เมษายน  พ.ศ. ๒๕๔๕

ค่าบูรณะเป็นจำนวนเงิน   ๕๕,๐๐๐ บาท

         สิ่งที่บูรณะในครั้งแรกคือ  ทาสีหลังคาใหม่   เปลี่ยนหน้าบรรณใหม่จากเดิมที่เป็นแผ่นฝ้าตี  เป็นก่ออิฐ  ฉาบปูน  ปั้นคิวรอบ  ทั้ง  ๔  หน้า  และทาสีใหม่  (เฉพาะช่วงบนหลังคา)

 

 

บูรณครั้งที่สอง  เมื่อเดือน  มีนาคม - ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๒

ค่าบูรณะเป็นจำนวนเงิน     บาท

(ไม่รวมค่ากระจกและกรอบอะลูมิเนียม/ช่างส่งบิลกับเจ้าอาวาสเอง) 

          สิ่งที่บูรณะในครั้งสอง คือ   ทำบันไดขึ้นชั้นสองใหม่  เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กไว้ด้านนอกกุฏิ  ขัดหินอ่อน   ทำบันไดทางขึ้นกุฏิใหม่  เปลี่ยนเอามาลงทางด้านทิศเหนือ  ทุบผนังปูนออกทำเป็นกระจกทั้งห้อง  รื้อพื้นกุฏิเปลี่ยนรอดใหม่  (ปลวกกินไปสิบกว่าตัว)  อัดพื้น  และขัดลงน้ำมันใหม่   ย้ายห้องนอนใหม่  ทุบผนังห้องด้านหลังออกเปลี่ยนเป็นกระจก เพื่อขยายให้ห้องใหญ่ขึ้นทำเป็นห้องทำงาน  ใสลูกกรงอะลูมิเนียม  ๓ ช่อง  และทาสีชั้นล้างใหม่ทั้งภายใน - ภายนอก

หมายเลขบันทึก: 311182เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2009 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท