องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

วิจัย : รูปแบบการแก้ไขปัญหานมแม่


 ศึกษาประสิทธิภาพรูปแบบการแก้ไขปัญหานมแม่ในมารดาที่รับบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมเสริมสุขภาพ  ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์

                                                            นางสาวพิมพ์ชนก  แพสุวรรณ  

                                                            นางรุ่งรัศมี          แก้วมั่น                               

                                                            น.ส.พรทิพย์       โชคทวีพาณิชย์                     

                                                            นางสุพัตรา         โค้วสุวรรณ               

                                                            น.ส.วันเพ็ญ  สุทธิโกมินทร์  

เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง     (Quasi Experimental Research)         โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างที่

ศึกษาออกเป็น  2  กลุ่ม  คือกลุ่มศึกษา   และกลุ่มเปรียบเทียบ   โดยใช้การเยี่ยมบ้านให้แก่กลุ่มศึกษา  และการประสานเครือข่ายในกลุ่มเปรียบเทียบ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงหลังคลอดที่มีปัญหาการให้นมแม่  ซึ่งได้รับการแก้ไข  แนะนำการดูแลสุขภาพหลังคลอดก่อนกลับบ้าน  และติดตามเยี่ยมบ้านหลังคลอดภายใน  2  สัปดาห์ทุกราย    ในช่วงเดือนมีนาคม  ถึง  ธันวาคม 2549

                       จากผลการศึกษา  พบว่าภายหลังการทดลอง  

  • ในกลุ่มทดลอง  และกลุ่มเปรียบเทียบมีค่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้  ทัศนคติ   และพฤติกรรมเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (P-value <0.05)  

นอกจากนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว  ในกลุ่มทดลอง  และกลุ่มเปรียบเทียบเฉลี่ย  5  เดือน  และ  4.6  เดือน  ตามลำดับ  เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ด้วยสถิติ Paired  t-test  พบว่าทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value >0.05)  

  • เมื่อเปรียบเทียบงบประมาณในการดำเนินการติดตามแก้ไขปัญหานมแม่  ด้วยการเยี่ยมบ้านในกลุ่มทดลอง  (เป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิง)  พบว่าใช้งบประมาณสูงกว่า  กลุ่มเปรียบเทียบ   ซึ่งใช้วิธีการประสานเครือข่าย  ไปรษณียบัตร  และวิธีการโทรศัพท์ให้คำแนะนำเป็นรายบุคคล  

     ดังนั้น  การศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า  รูปแบบการแก้ไขปัญหานมแม่ด้วยการเยี่ยม

บ้าน  หรือการประสานเครือข่าย  การติดตามอาการและให้คำแนะนำทางโทรศัพท์  ขอโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์  มีประสิทธิผลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนได้   โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จ  ได้แก่  การคัดกรองภาวะเสี่ยปัญหานมแม่ตลอดการแฝกครรภ์  กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ในโรงเรียนพ่อแม่  และการกระตุ้นให้ทารกแรกเกิดได้ดูดนมแม่ทันทีหลังคลอด  รวมถึงการพยาบาลหญิงหลังคลอดที่ให้กำลังใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว  และการทีมงานส่งเสริมสุขภาพจากสหสาขาวิชาชีพ  เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 311125เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2009 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท