Approaches to Health Development


สุขภาพ

Approaches to Health Development

๑. สรุปสาระสำคัญจากวีดีทัศน์ชุด “ทำไมต้องปฏิรูปสุขภาพ” จัดทำโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ดังนี้

                สุขภาพ หมายถึง สุขภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิตใจ ทางปัญญา(จิตวิญญาน) และสังคม เชื่อมโยงเป็นองค์รวมอย่างสมดุล

                ปัจจุบันมีภาวะความเจ็บป่วยที่เกิดจากพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น ปัญหาอุบัติเหตุ บุหรี่ ยาเสพติด โรคเอดส์ เป็นต้น ซึ่งเป็นความเจ็บป่วยที่เกิดจากพฤติกรรมและสามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเจ็บป่วยได้

                สุขภาวะ เริ่มต้นจากตนเอง และรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อความสุขในชีวิตและสังคม โดยองค์รวมปัจเจกบุคคลและสังคม รวมพลังประชาคมในการปฏิรูประบบสุขภาพ

๒.  แนวทางการพัฒนาสุขภาพประชากร มีเนื้อหาที่สำคัญ ดังนี้

                แนวทางการพัฒนาสุขภาพประชากร โดยใช้หลักการของพระพุทธเจ้า ซึ่งประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค มีรายละเอียดดังนี้

๑)     ทุกข์ : ป่วยเกินจำเป็น ที่เกิดจากการภาวะคุกคามต่าง ๆ (เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วนในเด็ก อุบัติเหตุ)  และภาวะคุกคามด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งภัยพิบัติและภาวะโลกร้อน ตลอดจนความเสี่ยงภัยที่แฝงอยู่ในพฤติกรรม( เช่น การบริโภคสุราและยาสูบ พฤติกรรมการบริโภคอาหารเกินไม่สมดุล ความขัดแย้งในครอบครัว ความขัดแย้งในสังคม)

๒)    สมุทัย : เหตุแห่งทุกข์(สาเหตุของปัญหา) ซึ่งเกิดจากความไม่สมดุลของการพัฒนา  การพัฒนาที่คำนึงถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก  การพัฒนาที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างพอเพียง

๓) นิโรธ : ความดับทุกข์ (แนวทางการแก้ปัญหาที่มีทิศทางที่ถูกต้อง) โดยปรับวิสัยทัศน์ จากเดิมที่ มุ่งเน้นการ “ซ่อม” สุขภาพ(เน้นที่โรค) ปรับไปสู่  มุ่งเน้นการ “สร้าง” สุขภาพ (เน้นที่ สุขภาวะ  ซึ่งประกอบด้วย กาย จิตใจ สังคม ปัญญา: จิตวิญญาณ)

๔)    มรรค : หนทางในการดับทุกข์ โดยกำหนดทิศทางการพัฒนาสุขภาพ ดังนี้

ทิศทางการพัฒนาสุขภาพ (กฎบัตรอ็อตตาว่า จากการประชุมนานาชาติเรื่อง “การสร้างเสริมสุขภาพ” เมื่อปี  ๒๕๒๙ ที่กรุงอ็อตตาว่า ประเทศแคนาดา) ได้นำเสนอกลยุทธ์แห่งการสร้างเสริมสุขภาพไว้ ๕ ประการ คือ

(๑)     มีนโยบายสาธารณะที่สนใจสุขภาพ (สุขภาวะ  สมดุล) จากการประชุมสมัชชาโลกปี ๒๕๕๑ กำหนดแนวทาง ดังนี้

-  ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ การทำงาน การศึกษา ระบบประกันสังคม เช่น เด็ก

สตรี วัยทำงาน ผู้สูงอายุ

- กระจายทรัพยากรอย่างเป็นธรรม ระบบธรรมภิบาล เช่น รัฐ-เอกชน-ประชาสังคม

ทำงานร่วม และระบบภาษีแบบก้าวหน้า(ที่เหมาะสม ผู้ที่มีรายได้มากก็ต้องเสียภาษีมากกว่าผู้ที่มีรายได้น้อย)

- เฝ้าระวังและประเมินผลกระทบจากนโยบายและการกระทำต่าง ๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ

ความเป็นธรรม และปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ

(๒)  สร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทางสังคม ที่เอื้อหนุน เกื้อกูล ต่อสุขภาพ มีทางเลือกให้

ประชาชน เช่น กายภาพ สังคม วัฒนธรรม กฎหมาย/ระเบียบ และกลไกการมีส่วนร่วม

ตัวอย่าง โครงการที่ประสบความสำเร็จที่ผ่านมาในระดับท้องถิ่น(จังหวัดขอนแก่น)

เช่น โครงการสวมหมวกกันน็อด ถนนปลอดเหล้า เทศบาลเล็กในเทศบาลใหญ่ โฮงมูนมัง และสภาเมือง

ตัวอย่าง โครงการที่ประสบความสำเร็จที่ผ่านมาในระดับประเทศ เช่น กฎหมาย

ประกันสังคม กฎหมายหลักประกันสุขภาพ(สปสช) กฎหมายควบคุมบุหรี่  การใช้สิทธิบัตรยาเพื่อสาธารณะโดยรัฐ  การถอนคาเฟอีนออกจากยาแก้ปวด  โครงการถุงยางอนามัย ๑๐๐% ของนพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร

(๓)   พัฒนาทักษะประชาชนและครอบครัว  เช่น การอบรม การใช้สื่อในการเผยแพร่ความรู้และทักษะให้แก่ประชาชน

(๔)   ชุมชนเข้มแข็ง เช่น ศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง

(๕)   ปรับทิศทางกรลงทุนด้านสุขภาพให้มาเน้น บริการปฐมภูมิ ส่งเสริมป้องกัน

ตัวอย่างเช่น ในประเทศอังกฤษจะสร้างโรงพยาบาลขนาดเล็กและกระจายในอยู่ในชุมชน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง และเสริมสร้างความเข้มแข็งของ PCU (หน่วยบริการปฐมภูมิ) ซึ่งทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น และทำให้สามารถลดอัตราการตายลงได้ด้วย

สรุปการดำเนินงานด้านสุขภาพ แบ่งออกเป็น ๒ รูปแบบ คือ

๑) การให้บริการในกลุ่มเสี่ยงในลัษณะของการตั้งรับ ซึ่งทำให้สามารถให้บริการได้จำนวนน้อย

๒)  การให้บริการในกลุ่มประชาชน โดยเน้นการป้องกันตั้งแต่ยังไม่เป็นป่วย ซึ่งสามารถเข้าถึงประชาชนได้จำนวนมาก

คำสำคัญ (Tags): #ระบบสุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 310901เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2009 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท