บากาเราะฮฺ 1-5


ความสำคัญของอัล-กุรอาน

วิชาอรรถาธิบายอัล-กุรอาน                                         มัธยมศึกษาตอยปลาย

  1. สูเราะฮ์ อัล – บะเกาะเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 1-5
  2. สูเราะฮ์อัล - บะเกาะเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 255
  3. สูเราะฮ์อัล - หัจญ์ อายะฮ์ที่ 5 - 7
  4. สูเราะฮ์อัล - ซุมัร อายะฮ์ที่ 5
  5. สูเราะฮ์อัร-รูม อายะฮ์ที่ 19-24
  6. สูเราะฮ์ลุกมาน  อายะฮ์ที่ 16-19
  7. สูเราะฮ์อัต - ตะฮ์รีม อายะฮ์ที่ 6
  8. สูเราะฮ์อัล - อังกะบูต อายะฮ์ที่  8
  9. สูเราะฮ์อัล - หุญุรอต อายะฮ์ที่ 13

10.  สูเราะฮ์อัน - นูร อายะฮ์ที่ 27 - 29

11.  สูเราะฮ์อาลิ อิมรอน อายะฮ์ที่ 110

12.  สูเราะฮ์อัล - บะเกาะเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 219

13.  สูเราะฮ์อัล - มาอิดะฮ์ อายะฮ์ที่ 3

14.  สูเราะฮ์อัล - อิสรออ์ (บนีอิสรออีล) อายะฮ์ที่ 31 - 39

15.  สูเราะฮ์อัน - นูร อายะฮ์ที่ 1 - 2

16.  สูเราะฮ์บนีอิสรออีล อายะฮ์ที่ 26-27

17.  สูเราะฮ์อัล - อังกะบูต อายะฮ์ที่ 25

18.  สูเราะฮ์อัร - เราะฮ์มาน อายะฮ์ที่ 33

ฝึกทักษะการอ่านเขียน และการนำไปใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจ

1        สูเราะฮ์อัส - สะญะดะฮ์

2        สูเราะฮ์อัล - อินซาน

3        สูเราะฮ์อัล - วากิอะฮ์

4        สูเราะฮ์ยาซีน

5        สูเราะฮ์อัล – มุลกฺ

 ความสำคัญของอัล-กุรฺอาน

                        อัล-กุรฺอาน คือคัมภีร์ในศาสนาอิสลาม       ซึ่งอัลลอฮได้ประทานแก่   นบีมูฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะศัลัลม โดยมีญิบรีลเป็นสื่อกลาง อัล-กุรฺอานถูกประทานครั้งแรกในคืนอัล-ก็อดร อันเป็นคืนที่เป็นสิริมงคลและสำคัญยิ่งคืนหนึ่งในเดือนเราะมะฏอน      อัล-กุรฺอานถูกประทานลงมาเป็นภาษาอาหรับ     มีสำนวนโวหารและเนื้อหาไม่วกวน  ไม่มีการขัดแย้ง    ไม่มีการแก้ไขต่อเติมหรือเปลี่ยนแปลง ปราศจากข้อสงสัยใดๆเป็นสัจธรรมอันถาวร การอ่านอัล-กุรอานเป็นอิบาดะฮ

                       อัล-กุรอานเป็นสิ่งมหัศจรรย์ (มุฮญิซะฮ)ที่ไม่มีผู้ใดเลียนแบบให้เหมือนได้ ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าเป็นพจนารถของอัลลอฮ สุบหานะฮูวะตะอาลา จริง ในขณะเดียวกันก็เป็นการยืนยันว่า ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้นเป็นรสูลของอัลลอฮเพื่อมวลมนุษยชาติจริง

                       อัล-กุรฺอานเป็นแม่บทกฏหมายที่รวมหลักการสำคัญของอิสลาม เป็นคำเตือนที่มีเหตุผล เป็นแนวทางอันเที่ยงตรง ไม่นำจิตใจให้หันเหออกจากหนทางที่ถูกต้อง

                        ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม   กล่าวถึงความสำคัญของอัล-กุรฺอานไว้มากมาย เช่น

                        ในอัล-กุรฺอานมีข่าวคราวที่เกิดขึ้นก่อนพวกท่าน มีเรื่องราวที่จะปรากฏขึ้นหลังจากพวกท่าน และมีคำเตือนในกรณีที่เกิดขึ้นระหว่างพวกท่าน    ที่จำแนกระหว่าง  สัจธรรมกับความเท็จ หาใช่เป็นถ้อยคำที่เหลวไหลไม่ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามอัล-กุรฺอานเพราะความหยิ่งผยอง อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลาจะทรงให้เขาพบกับความวิบัติ และผู้ใดแสวงหาทางนำอื่นนอกเหนือจากอัล-กุรฺอานอัลลอฮ สุบหานะฮูวะตะอาลาจะทรงให้เข้าตกอยูในความหลงผิด อัล-กุรฺอานเป็นสายเชือกอันมั่นคงของอัลลอฮฺและคำเตือนที่มีเหตุผล เป็นแนวทางอันเที่ยงตรง เป็นคัมภีร์ที่ไม่ทำให้ลิ้นเกิดความยากลำบากและสับสนในการออกเสียง และบรรดานักปราชญ์จะไม่รู้สึกอิ่มจากการแสวงหาความรู้จากคัมภีร์ อรรถรสในคัมภีร์นี้ จะไม่มีจืดจางและสูญสิ้นด้วยการอ่านซ้ำเป็นเนืองนิจ และความมหัศจรรย์จะไม่มีวันสิ้นสุด เป็นคัมภีร์ที่เมื่อพวกญินได้ฟังแล้วก็อดไม่ได้ที่จะกล่าวว่า “แน่แท้ พวกเราได้ยินอัล-กุรฺอานอันมหัศจรรย์ซึ่งนำไปสู่ความถูกต้อง”     บุคคลใดพูดตามอัล-กุรอานย่อมได้รับผลตอบแทน ผู้ใดพิพากษาตามอัลกุรอาน เขาย่อมเป็นผู้มีความยุติธรรม และบุคคลใดชักชวนสู่หนทางแห่งอัลกุรอานเขาจะได้รับการชี้นำสู่หนทางอันเที่ยงตรง

                                                                          (รายงานโดยติรมีซี)

 

อัลกุรอานในฐานะเป็นสิ่งมหัศจรรย์

อัล-กุรฏูบี ( ตาย ฮ.ศ. ๖๕๖ ค.ศ. ๑๒๕๘ ) นักวิชาการมุสลิมคนหนึ่ง ชี้ให้เห็นถึง “อิญาซ อัล-กุรฺอาน” (สิ่งมหัศจรรย์ ) ไว้ ๑๐ ด้านด้วยกัน ดังนี้

            ๑ ) ภาษาของอัล-กุรฺอานเหนือกว่าภาษาอาหรับอื่นๆ ทั้งหมด

            ๒) ลีลาของอัล-กุรฺอานเหนือกว่าลีลาภาษาอาหรับทั้งหมด

            ๓) ใจความอันกว้างขวางของอัล-กุรฺอานไม่มีสิ่งใดสามารถเปรียบได้

            ๔) ตัวบทกฎหมายของอัล-กุรฺอานไม่มีสิ่งใดเหนือกว่า

            ๕)การเล่าเรื่องราวของอัล-กุรฺอานเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่รู้นั้นเป็นผลมาจากการประทานอัล-กุรฺอานของอัลลอฮฺแต่เพียงอย่างเดียว

            ๖) อัล-กุรฺอานไม่มีการขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่มีเหตุผล

            ๗) อัล-กุรฺอานปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้ไว้ครบถ้วนทั้งในด้านข่าวดีและคำขู่

            ๘) ความรู้ที่บรรจุอยู่ในอัล-กุรฺอาน ( ทั้งในด้านกฎหมายและการสร้างสรรพสิ่ง )

            ๙) อัล-กุรฺอาน ตอบสนองความต้องการของมนุษย์

            ๑๐) อัล-กุรฺอาน มีผลต่อหัวใจของมนุษย์

                             

อัลกุรอานกับการศึกษาคอมพิวเตอร์

            ในสูเราะฮฺ ๗๔ อายะฮฺที่ ๓๐ กล่าวว่า

عَلَيْهَا تِسْعَةَ عَشَرَ

ความว่า           “เหนือมันมี๑๙”    นั้นเป็นที่สะดุดใจนักอรรถาธิบายบางคนการศึกษาทางคอมพิวเตอร์ในสหรัฐโดยนักวิทยาศาสตร์มุสลิมคนหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่าเลข ๑๙ มีความสำคัญบางอย่างต่อองค์ประกอบของตัวบทอัล-กุรฺอาน

            ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์เปิดเผยให้ทราบว่าตัวอักษรบางตัวในสูเราะฮฺต่างๆ มักจะเป็นจะเป็นผลคูณของ ๑๙ เช่นในสูเราะฮฺ “กอฟ” มีตัวอักษรกอฟ ๕๗ ตัวซึ่งเป็นผลคูณของ๑๙ ( นั่นคือ ๓ x   ๑๙ )  และคำว่า “ บิสมิลลาฮฺ อัรฺเราะฮีม” ก็ประกอบด้วยตัวอักษร ๑๙ ตัว และคำนี้ ปรากฏอยู่ในอัลกุรอานถึง ๑๑๔ครั้งซึ่งเป็นผลคูณของ ๑๙ x ๖ ( กล่าวคือคำนี้กล่าวนำหน้าสูเราะฮฺทุกสูเราะฮฺยกเว้นซูเราะฮฺที่ ๙ จึงเหลือ ๑๑๓ แต่มีปรากฏเพิ่มอีกแห่งหนึ่งในสูเราะฮฺ ที่ ๒๗ อายะฮฺ ๓๐ จึงครบ๑๑๔ ) และใน ๔คำนี้ แต่ละคำจะปรากฏอยู่ในอัลกุรอานเป็นผลคูณของ๑๙ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม  ข้ออ้างประการหลังนี้ไม่ถูกต้องตามการนับของอับดุล บากีอฺ

            จากการค้นพบดังกล่าว นักศึกษาวิจัยนี้ได้สรุปว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะประพันธ์ตัวบทรูปแบบ และเนื้อหาของอัล-กุรฺอานซึ่งมีลักษณะดังกล่าวขึ้นมาได้ สำหรับเขาแล้ว นี่เป็นการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของอัล-กุรฺอาน

 

อัล-กุรฺอานกับการศึกษาวิทยาศาสตร์

            ในบรรดาอายะฮฺอัล-กุรฺอานที่บรรจุข้อมูลความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับการค้นคว้าทางวิทยาศาตร์ของมนุษย์นั้นได้แก่

أَوَلَمْ يَرَ الَّذِينَ كَفَرُوا أَنَّ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ كَانَتَا رَتْقًا فَفَتَقْنَاهُمَا  ÷

وَجَعَلْنَا مِنَ الْمَاء كُلَّ شَيْءٍ حَيٍّ  ÷ أَفَلاَ يُؤْمِنُونَ   =

            ความว่า “ โลกก่อนหน้านี้เป็นส่วนหนึ่งของดวงอาทิตย์ และเมื่อแตกตัวออกมามันก็กลายเป็นสถานที่ตั้งหลักแหล่งสำหรับมนุษย์

( สูเราะฮฺ อัล-อัมบิยาอฺ อายะฮฺที่ 30 )

ثُمَّ اسْتَوَى إِلَى السَّمَاء وَهِيَ دُخَانٌ فَقَالَ لَهَا وَلِلْأَرْضِ اِئْتِيَا طَوْعًا أَوْ كَرْهًا  ÷ قَالَتَا أَتَيْنَا طَائِعِينَ

            “ จักรวาลเคยอยู่ในสภาพของก๊าซที่ลุกเป็นเพลิง ( ซึ่งอัลกุรอานเรียกว่าดุคอน ) (๔๑/๑๑)

        إِذْ تُفِيضُونَ فِيهِ وَمَا يَعْزُبُ عَن رَّبِّكَ مِن مِّثْقَالِ ذَرَّةٍ فِي الأَرْضِ وَلاَ فِي السَّمَاء وَلاَ أَصْغَرَ مِن ذَلِكَ وَلا أَكْبَرَ إِلاَّ فِي كِتَابٍ مُّبِينٍ

“ วัตถุนั้นถูกทำมาจากอนุภาคปรมาณู ( ๑๐/๖๑)

        فَمَن يُرِدِ اللّهُ أَن يَهْدِيَهُ يَشْرَحْ صَدْرَهُ لِلإِسْلاَمِ وَمَن يُرِدْ أَن يُضِلَّهُ يَجْعَلْ صَدْرَهُ ضَيِّقًا حَرَجًا كَأَنَّمَا يَصَّعَّدُ فِي السَّمَاء كَذَلِكَ يَجْعَلُ اللّهُ الرِّجْسَ عَلَى الَّذِينَ لاَ يُؤْمِنُونَ

“ ออกซิเจนในอากาศจะลดลงในที่สูงขึ้นไป ( ๖/๑๒๕)

            سُبْحَانَ الَّذِي خَلَقَ الْأَزْوَاجَ كُلَّهَا مِمَّا تُنبِتُ الْأَرْضُ وَمِنْ أَنفُسِهِمْ وَمِمَّا لَا يَعْلَمُونَ

“ ในธรรมชาติ ทุกสิ่งจะประกอบด้วยสิ่งที่เสริมกัน ไม่เพียงแต่มนุษย์และสัตว์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพืช และแม้แต่ยังรวมถึงอนินทรีย์วัตถุด้วย ( ๓๖/๓๖)

        خَلَقَكُم مِّن نَّفْسٍ وَاحِدَةٍ ثُمَّ جَعَلَ مِنْهَا زَوْجَهَا وَأَنزَلَ لَكُم مِّنْ الْأَنْعَامِ ثَمَانِيَةَ أَزْوَاجٍ يَخْلُقُكُمْ فِي بُطُونِ أُمَّهَاتِكُمْ خَلْقًا مِن بَعْدِ خَلْقٍ فِي ظُلُمَاتٍ ثَلَاثٍ ذَلِكُمُ اللَّهُ رَبُّكُمْ لَهُ الْمُلْكُ لَا إِلَهَ إِلَّا هُوَ فَأَنَّى تُصْرَفُونَ

“ ไข่ในมดลูกจะถูกห่อหุ้มด้วยสิ่งห่อหุ้มสามชั้น ( ๓๙/๖)

        وَأَرْسَلْنَا الرِّيَاحَ لَوَاقِحَ فَأَنزَلْنَا مِنَ السَّمَاء مَاء فَأَسْقَيْنَاكُمُوهُ وَمَا أَنتُمْ لَهُ بِخَازِنِينَ

“ การผสมพันธุ์ของพืชบางชนิดทำโดยลม ( ๑๕/๒๒)

 

            “ จุลชีวิตบางชนิดมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่นเสปอร์มาโตซัว ( ๙๖/๑)

بَلَى قَادِرِينَ عَلَى أَن نُّسَوِّيَ بَنَانَهُ

“ มนุษย์แต่ละคนมีลายนิ้วมือเป็นของตัวเองอย่างถาวร ( ๗๕/๔)

 

บทนำ

                “อัล– กุรฺอาน”  คือ  คัมภีร์ที่เป็นทางนำแก่มนุษยชาติ ซึ่งอัลลอฮฺได้ประทานแก่ท่านนบีมุฮัมมัด  โดยมีญิบรีลเป็นสื่อกลาง     อัล–กุรฺอานถูกประทานครั้งแรกในคืน อัล–ก็อดรฺ  อันเป็นคืนที่เป็นสิริมงคลและสำคัญยิ่งคืนหนึ่งในเดือนเราะมะฏอน           อัล–กุรฺอานถูกประทานลงมาเป็นภาษาอาหรับ  มีสำนวนโวหารและเนื้อหาไม่วกวน    ไม่มีการขัดแย้ง ทั้งที่ถูกประทานลงมาเป็นตอนๆในระยะเวลา 23 ปี หลังจากนั้น   ไม่มีการแก้ไขต่อเติม   หรือเปลี่ยนแปลง  ปราศจากข้อสงสัยใด ๆ   เป็นสัจธรรมอันถาวร  การอ่านคัมภีร์อัล – กุรฺอานเป็นอิบาดะฮฺประการหนึ่ง

              คำว่า กุรอาน เป็นภาษาอาหรับ มาจากรากศัพท์  “เกาะเราะอะ” มีความหมายว่า “อ่าน” คำว่ากุรอาน เป็นคำอาการนาม มีความหมายว่า การอ่าน เป็นชื่อที่ใช้เรียกกันเป็นที่แพร่หลาย แต่ความเป็นจริง กุรอาน หรือ อัล-กุรอาน มีชื่ออื่นๆอีก เช่น  ฟุรกอน ตันซีล  ซิกรฺ กิตาบ เป็นต้น              

 

ความสำคัญของอัลกุรฺอาน

            อัล – กุรฺอานเป็นสิ่งมหัศจรรย์ (มุอฺญิซะฮฺ) มีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ ที่ไม่มีผู้ใดเลียนแบบให้เหมือนได้     ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าเป็นพจนารถของอัลลอฮ์  สุบหานะฮูวะตะอาลาจริง  ในขณะเดียวกันก็เป็นการยืนยันว่า ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้นเป็นรสูลของอัลลอฮ์เพื่อมวลมนุษยชาติจริง

            อัล – กุรฺอาน  เป็นแม่บทกฎหมายที่รวมหลักการสำคัญของอิสลาม เป็นคำเตือนที่มีเหตุผล  เป็นสิ่งที่บอกเล่าถึงเรื่องราวของบรรพชนในอดีต  เป็นแนวทางอันเที่ยงตรง  ไม่นำจิตใจให้หันเหออกจากหนทางที่ถูกต้อง

         อัล-กุรอานได้บ่งบอกถึงข้อมูลความจริงทางวิทยาศาสตร์ ที่สอดคล้องกับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ในภายหลังเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น การกำเนิดชีวิต การกำเนิดโลกและจักรวาล เป็นต้น

            ท่านนบีมุฮัมมัด  ศ็อลลัลลอฮ์ อะลัยฮิ วะสัลลัม  กล่าวถึงความสำคัญของอัล – กุรอานไว้มากมาย    เช่น

            “ในอัล – กุรอานมีข่าวคราวที่เกิดขึ้นก่อนพวกท่าน มีเรื่องราวที่จะปรากฏขึ้นหลังจากพวกท่าน และมีคำเตือนในกรณีที่เกิดขึ้นระหว่างพวกท่าน  ที่จำแนกระหว่างสัจธรรมกับความเท็จ  หาใช่เป็นถ้อยคำที่เหลวไหลไม่  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามอัล – กุรอาน เพราะความหยิ่งผยอง อัลลอฮ์ สุบหานะฮูวะตะอาลาจะทรงให้เขาพบกับความวิบัติ และผู้ใดแสวงหาทางนำอื่นนอกเหนือจากอัล – กุรอาน  อัลลอฮ์จะทรงให้เขาตกอยู่ในความหลงผิด  อัล – กุรอานเป็นสายเชือกอันมั่นคงของอัลลอฮ์ และเป็นคำเตือนที่มีเหตุผล  เป็นแนวทางอันเที่ยงตรง  เป็นคัมภีร์ที่ไม่ทำให้ลิ้นเกิดความยากลำบากและสับสนในการออกเสียง    และบรรดานักปราชญ์จะไม่รู้สึกอิ่มจากการแสวงหาความรู้จากคัมภีร์นี้      อรรถรสในคัมภีร์นี้จะไม่มีจืดจางและสูญสิ้นด้วยการอ่านซ้ำเป็นเนืองนิจ          และความมหัศจรรย์จะไม่มีวันสิ้นสุด    เป็นคัมภีร์ที่เมื่อพวกญินได้ฟังแล้วก็อดไม่ได้ที่จะกล่าวว่า    “แน่แท้  พวกเราได้ยินอัล – กุรอานอันมหัศจรรย์ซึ่งนำไปสู่ความถูกต้อง”  บุคคลใดพูดตามอัล – กุรอาน ย่อมได้รับผลตอบแทน    ผู้ใดพิพากษาตามอัล – กุรอาน    เขาย่อมเป็นผู้มีความยุติธรรมและบุคคลใดชักชวนสู่หนทางแห่งอัล – กุรอาน เขาจะได้รับการชี้นำสู่หนทางอันเที่ยงตรง

สูเราะฮ์อัล-บะเกาะเราะฮ์ อายะที่ 1 – 5

الم  =       ذَلِكَ الْكِتَابُ لاَ رَيْبَ فِيهِ هُدًى لِّلْمُتَّقِينَ  =        الَّذِينَ يُؤْمِنُونَ بِالْغَيْبِ وَيُقِيمُونَ الصَّلاةَ وَمِمَّا رَزَقْنَاهُمْ يُنفِقُونَ  =       وَالَّذِينَ يُؤْمِنُونَ بِمَا أُنزِلَ إِلَيْكَ وَمَا أُنزِلَ مِن قَبْلِكَ وَبِالآخِرَةِ هُمْ يُوقِنُونَ  =        أُوْلَـئِكَ عَلَى هُدًى مِّن رَّبِّهِمْ وَأُوْلَـئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ   =

 

ความหมายของอายะฮฺ

                      ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ  ผู้ทรงกรุณาปรานี   ผู้ทรงเมตตาเสมอ  อะลิฟ ลาม มีม  คัมภีร์นี้  ไม่มีข้อสงสัยใด ๆ ในนั้น  เป็นทางนำสำหรับบรรดาผู้สำรวมตนจากความชั่ว (มุตตะกีน)  คือบรรดาผู้ศรัทธาในสิ่งเร้นลับ (ฆ็อยบ์) และดำรงการละหมาด       และบริจาคส่วนหนึ่งที่เราได้ประทานเป็นเครื่องยังชีพแก่เขาทั้งหลาย

และบรรดาผู้ศรัทธาในสิ่งที่ประทานลงมาแก่เจ้า  และสิ่งที่ลงมาก่อนเจ้า  และบรรดาผู้ศรัทธาในอาคิเราะฮฺ  โดยปราศจากข้อสงสัย    ชนเหล่านี้คือผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในทางนำ  จากพระผู้อภิบาลของพวกเขา    และชนเหล่านี้เป็นผู้ที่บรรลุผลโดยแท้จริง

 

คำอธิบาย

            สูเราะฮ์อัล – บะเกาะเราะฮ์  ซึ่งเป็นบทที่  2  ของอัล – กุรอาน ประกอบด้วยเนื้อหาทางด้านศาสนบัญญัติหลายเรื่อง  เช่น  การศรัทธา  การปฏิบัติศาสนกิจ บทเกี่ยวกับการลงโทษ  สิ่งที่อนุมัติ (หะลาล)และสิ่งที่ต้องห้าม (หะรอม) การใช้จ่าย  การซื้อขาย  การครองเรือน  เป็นต้น

            บะเกาะเราะฮฺ  แปลว่า    วัวตัวเมีย     ที่ชื่อเช่นนี้เพราะตอนหนึ่งในสูเราะฮฺนี้ (อายะฮ์ที่ 67 – 75)  ได้กล่าวถึงประวัติเกี่ยวกับคำบัญชาของอัลลอฮ์ให้ชาวยิวในสมัย นบีมูซา  อะลัยฮิสสะลาม  เชือดวัวตัวเมีย   ซึ่งในเรื่องนี้จะเห็นอุปนิสัยของยิวทั่ว ๆ  ไป      สูเราะฮ์นี้อัลลอฮ์ประทานลงมาแก่ท่านนบีมุฮัมมัด     ค็อลลัลลอฮุ   อะลัยฮิ วะสัลลัม  หลังจากท่านได้อพยพไปยังนครมะดีนะฮ์แล้ว จึงเรียกว่า “สูเราะฮ์มะดะนียะฮ์” เป็นสูเราะฮ์ที่ยาวที่สุด มีจำนวน   286    อายะฮ์    อายะฮ์ที่  1 – 5   ต่อไปนี้  เป็นอายะฮ์ที่กล่าวถึงลักษณะของผู้ที่ยำเกรงต่ออัลลอฮ์ หรือผู้สำรวมตนจากความชั่ว (มุตตะกีน)

            พยัญชนะ  อะลิฟ ลาม และมีม   ซึ่งเป็นการเริ่มต้นสูเราะฮฺอัล – บะเกาะเราะฮฺนั้น    อัลลอฮฺเท่านั้นที่รู้ถึงความหมายที่แท้จริง  นักอรรถาธิบายอัล – กุรฺอานบางท่านได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับพยัญชนะทั้งสามว่า   เป็นถ้อยคำกล่าวเตือนให้ผู้ฟังได้เตรียมตัวเพื่อให้เกิดความสนใจและพร้อมที่จะตั้งใจฟัง ข้อความซึ่งจะกล่าวต่อไป และยังเป็นการชี้ให้เห็นความหัศจรรย์ของ  อัล – กุรฺอานที่ไม่อยู่ในวิสัยของมนุษย์ที่จะประพันธ์ขึ้นมาได้ด้วยสติปัญญาของตนเอง  อันเป็นหลักฐานว่า อัล – กุรฺอานไม่ใช่คัมภีร์ที่ท่านนบีมุฮัมมัด  ศ็อลลัลลอฮุ   อะลัยฮิ  วะสัสลัม     เป็นผู้ประพันธ์ขึ้นมาเอง  แต่เป็นวะหฺยุที่มาจากอัลลอฮฺ

            อายะฮฺที่  2  อัลลอฮฺทรงชี้แจงว่า  อัล - กุรฺอานที่ท่านนบีมุฮัมมัด  ศ็อลลัลลอฮุ  อะลัยฮิ วะสัสลัม  ได้รับมานั้นเป็นคัมภีร์ที่ไม่มีข้อสงสัยใด ๆ เป็นคัมภีร์ที่ให้คำแนะนำแก่มุอ์มินผู้ยำเกรง  ผู้สำรวมตนจากความชั่ว และชี้ให้เห็นว่าบทบัญญัติที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อัล – กุรฺอานนั้น สามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

            จากอายะฮ์ที่   3 – 4     อัลลอฮฺ  สุบหานะฮู   วะตะอาลา   ได้ทรงบอกให้ทราบลักษณะของผู้ยำเกรงหรือผู้สำรวมตนจากความชั่ว ดังนี้

  1. ศรัทธาในสิ่งที่เร้นลับ  เช่น  สวรรค์  นรก  การฟื้นคืนชีพ
  2. ดำรงการละหมาดด้วยจิตใจที่นอบน้อมถ่อมตนต่ออัลลอฮฺ
  3. บริจาคทรัพย์สินส่วนหนึ่งที่อัลลอฮฺประทานให้ในวิถีทางของอัลลอฮฺ  เช่น  บริจาคทาน  จ่ายซะกาฮฺ เป็นต้น
  4. ศรัทธาในวะหฺยุที่อัลลอฮฺประทานให้แก่    ท่านนบีมุฮัมมัด   ศ็อลลัลลอฮุ    อะลัยฮิ    วะสัสลัม   คือ  อัล – กุรฺอานและสิ่งที่ได้ประทานไว้ก่อนหน้าท่านนบีมุฮัมมัด  ศ็อลลัลลอฮุ  อะลัยฮิ วะสัสลัม   เช่น  เตารอต ซะบูรฺ อินญีล
  5. ศรัทธาในวันอาคิเราะฮฺด้วยความประจักษ์มั่น

       อายะฮ์ที่  5     ทรงระบุว่า    บรรดาผู้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺที่มีลักษณะดังกล่าวนั้น   เป็นผู้ที่อยู่ในทางนำของอัลลอฮฺ  พวกเขาจะเป็นผู้บรรลุผล  เป็นผู้ที่ได้รับความสำเร็จ  ซึ่งเป็นเป้าหมายของมนุษย์ทุกคน

บทสรุป

1.   ไม่ปรากฏข้อสงสัยใดๆ ในคัมภีร์อัล – กุรฺอาน

2.   อัล – กุรอานเป็นทางนำแก่ผู้ที่ยำเกรง (มุตตะกีน) คือ ผู้ที่

2.1 ศรัทธาในสิ่งเร้นลับ

2.2 ดำรงการละหมาด

2.3 บริจาคทาน

2.4 ศรัทธาในคัมภีร์อัล – กุรอานและคัมภีร์ที่ถูกประทานแก่รสูลก่อน ๆ

2.5 ศรัทธาในอาคิเราะฮ์

3.   ผู้ที่มีลักษณะดังกล่าวนี้  ย่อมจะได้รับความสำเร็จ

กิจกรรมท้ายบท

1        นักเรียนร่วมกันอภิปรายความสำคัญของอัล-กุรอาน

2        แบ่งกลุ่มค้นคว้าและอภิปรายเรื่อง  อัลกุร อานคัมภีร์มหัศจรรย์

3        นักเรียนยกตัวอย่างสิ่งที่มีอยู่แต่มองไม่เห็น มา 5 ประการ

4        นักเรียนอภิปรายเรื่อง การศรัทธาต่อวันอาคิเราะฮฺมีผลต่อการปฏิบัติตนอย่างไร

 

 

หมายเลขบันทึก: 310816เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2009 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ได้ความรู้เพิ่มขึ้น

ทำให้เรารู้ ทั้งเรื่อง ละหมาด เรื่อง ซะกาต

และต่างๆๆๆๆ

อัอกุร อ่าน คือ ธรรมนูญของชีวิต เเละ เเบบอย่างของท่านนบี

คับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท