บุญตานสลากภัตร...บุญครอบครัว


เป็นการรวมครอบครัว ญาติมิตร และคนรู้จักคุ้นเคย มาร่วมกิจกรรมกัน สร้างความสุขของครอบครัว และชุมชน ที่มิเพียงได้บุญ หากแต่ได้ความรักและสามัคคีกันด้วย

ประเพณีการตานก๋วยสลาก คือ การทำบุญสลากภัตรในล้านนา มีเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นบางแห่งว่า “ กิ๋นก๋วยสลาก ” บางแห่ง “ กิ๋นสลาก ” บางแห่งว่า “ ตานก๋วยสลาก ” (ตาน หมายถึง การทำบุญ ทำทาน, กิ๋น หมายถึง กิน, ก๋วย หมายถึง ชะลอม)

การ “ ตานข้าวสลาก ” หรือ “ กิ๋นก๋วยสลาก ” เป็นประเพณีที่พื้นเมืองเหนือที่ถือสืบต่อกันมาแต่นานนม การตานก๋วยสลากจะเริ่มในราวเดือน ๑๒ เหนือ ( คือเดือน ๑๐ ใต้ เดือนกันยายน ) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ ( เดือน ๑๑ ใต้ ) การก๋วยสลาก ( หรือบางแห่งเรียกว่า ตานข้าวสลาก ) สลากภัตรมี ๒ รูปแบบ คือ สลากน้อย คือ สลากจุมปู และสลากก๋วยใหญ่ คือ สลากโจค (โชค)

ปีนี้บ้านดอนแก้ว เทศบาลเมืองน่าน (อันเป็นบ้านของน้องซอมพอ) ก็จัดให้มีการตานสลากภัตรกัน เป็นบุญที่ทุกครอบครัวได้มาร่วมกันตระเตรียมสลากจุมปูมาตานกัน เป็นสลากแบบพอเพียง สลากปลอดเหล้า ไม่มีการเลี้ยงอาหารให้เอิกเหริก แต่ละครอบครัวจะจัดเตรียมข้าวปลาอาหารแห้ง ผลไม้ และปัจจัยต่างๆ มาใส่ชะลอม ทำเป็นสลากจุมปูเพื่อนำมาตานไปหาบรรพบุรุษ หรือเจ้ากรรมนายเวร เป็นกุศลผลบุญไปในภายภาคหน้า

เป็นการรวมครอบครัว ญาติมิตร และคนรู้จักคุ้นเคย มาร่วมกิจกรรมกัน สร้างความสุขของครอบครัว และชุมชน ที่มิเพียงได้บุญ หากแต่ได้ความรักและสามัคคีกันด้วย

ดูน้องซอมพอและน้องจ๋าย มีความสุขมากๆ ได้บุญ ได้ความสุขครับ

หมายเลขบันทึก: 310799เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2009 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดี  เจ้า 

น้องพอ   ถามว่า  "ก๋วยสลาก"  คือ  ของขวัญ ห่อไปให้พระ   กา เจ้า แม่

     เสียดาย ที่พะเยาอ.จุน  เดี๋ยวนี้  ไม่ใช้ก๋วยไม้ซะแล้ว   ปรับเปลี่ยนเป็น  ถัง  ตะกร้าแทน

  • ที่น่านช่วยกันรณรงค์วัฒนธรรมประเพณีแบบดั้งเดิม เน้นปลอดเหล้าเบียร์
  • ได้บุญจริง ได้ความสุขครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท