พฤติกรรมของผู้พูด ที่ผู้ฟังเบื่อมากๆๆ


พฤติกรรมของผู้พูด ที่ผู้ฟังเบื่อมากๆๆ

พฤติกรรมของผู้พูด ที่ผู้ฟังเบื่อมากๆๆ  

                  สัปดาห์สุดท้ายก่อนเปิดภาคเรียน(หลายคนคงเปิดไปแล้ว) เป็นช่วงเวลาที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว เกือบ  1  เดือนที่ใช้เวลาในห้องประชุมมากกว่าครึ่งทั้ง  สัมมนา ประชุม อบรม  เตรียมการฯลฯ มากจนแทบจะนึกไม่ออก...

ในห้องประชุม ทุกครั้ง ดูแล้วบรรยากาศคล้ายกัน แต่ที่แตกต่างกันไปอยู่ที่ผู้พูด ผู้อบรมมากกว่า  คนที่รับฟังมีอาการอย่างไร   สนุกสนาน  ได้ความรู้  ได้สาระ  หรือเกิดอาการน่าเบื่ออย่างเห็นได้ชัดเจน....

พฤติกรรมของผู้พูด ที่ผู้ฟังเบื่อมากๆๆ

พูดเก่ง แต่พฤติกรรมตรงกันข้าม คงจะประสบความสำเร็จได้ยากที่จะกุมหัวใจคนฟังหรือคู่สนทนา ยังไงก็ลองสำรวจตัวเองดูหน่อยเป็นไร ว่ามีพฤติกรรมแย่ๆ เหล่านี้ขณะที่พูดหรือเปล่า เพราะมันน่าเบื่อจริงๆๆนะ

  • พูดไม่หยุดเลยทั้งๆๆที่อาหารเต็มปากขนาดนั้น
  • อยากคุยก็อยากคุย แต่จะแคะฟันไปด้วย
  • ทาลิปสติกขณะพูด
  • ชอบหลับตาพริ้มขณะตอนที่พูด
  • สายตามักจะจับจ้องไปในส่วนที่ล่อแหลมของคนฟัง..
  • พูดเหมือนอ่านให้ฟัง หรือถือหนังสือมาท่องให้ฟัง
  • ก้มหน้าก้มตาพูอย่างเดียว ไม่สนใจมองผู้ฟังเลย
  • ยืนค้ำหัวคนฟังขณะที่พูด
  • ชอบชี้หน้าคนฟัง หรือดูถูกต่อว่าขณะที่ตนกำลังพูด
  • ไม่มีเสียงแล้วยังอยากตะเบ็งอยากพูดอีก
  • ชอบเกาส่วนโน้น ส่วนนี้ของตน ขณะที่พูดอยู่ตลอดเวลา
  • พูดมาก พูดไม่หยุด และยังไร้สาระ
  • พูดไปหัวเราะไป แถมยังหัวเราะก่อนคนฟังต่างหาก
  • รู้ไม่จริง แล้วยังจะพูด ทั้งๆคนฟังนั้นทราบข้อเท็จจริงเป็นอย่างดี
  • พูดช้ำซาก แบบจะจบก็ไม่จบสักที่
  • ตอบในสิ่งไม่ได้ถาม
  • ชอบพูดโอ้อวดหรือคุยแต่เรื่องของตน
  • พูดคำหยาบ ลามก ตลอดเวลา เพราะคิดว่ามันจะขำ
  • พูดไทยคำ ฝรั่งคำ หรือพูดไทยไม่ชัด
  • เจอหน้าทีไร ไม่มีอะไรจะคุย นอกจากคุยปัญหาของตน
  • พูดยาวเกินความจำเป็น ทั้งๆที่แค่สองประโยคก็เข้าใจแล้ว
  •                        ฯลฯ

ส่วนประกอบของการพูดให้น่าฟัง

                ใครๆ ก็พูกันมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว ทำไมยังต้องมาศึกษาเรียนรู้เรื่องของการพูดอีก เพราะอีกไม่น้อยเลยที่พูดแล้วกลับไม่น่าฟังเลย การพูดที่นั้นหากเราไม่สังเกตุ ว่าเขาสนใจอยากฟังหรือเบือนหน้าหนี ก็ลองดูว่าพูดแล้วมีองค์ประกอบเหล่านี้ไหม...

  • มีความเป็นธรรมชาติเป็นตัวของตัวเอง
  • พยายามเป็นมิตรให้มาก หรืเป็นคนที่พูดเข้ากับคนอื่นได้ง่ายๆ
  • ขณะที่พูดคุยกัน ควรต้องสบตา
  • น้ำเสียง ควรสอดคล้องไปกับเรื่องราวที่จะพูด ไม่ใช่ว่าพูดแต่เรื่องเศร้า แต่น้ำเสียงนั้นดูสดใส
  • ควรมีการแสดงท่าทาง บุคลิก สีหน้า และอารมณ์ออกมาให้เข้ากับเรื่องที่พูด
  • ภาษาที่พูดต้องฟังได้ง่าย รับรู้ได้ง่าย
  • อย่าพยายามยัดเยียดให้คนฟังของคุณ รับเรื่องที่สำคัญทีละหลายๆเรื่อง
  • เมื่อพูดเรื่องที่สำคัญจริงจังห้ามทำเสียโดยการพูดเล่นหรือพูดขำๆขึ้นมาเสียงั้น

                                                                .......

สุดท้ายอยากฝาก

 คงไม่มีใครอยากพูดกับเราแน่หาก   ถ้าเขารู้ว่าเขาจะไม่มีโอกาสได้พูดบ้าง

                                                                       

คำสำคัญ (Tags): #พูดอย่างไร
หมายเลขบันทึก: 310581เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2009 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ เด็กหนอเด็ก อิอิ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท