กฏพื้นฐาน 4 ข้อของการออกแบบสิ่งพิมพ์


ทฤษฎีการออกแบบที่ยุ่งยากมากมายมหาศาล ถูกคัดสรรออกมาเป็นกฎเหลือ 4ข้อเพื่อให้นักออกแบบสิ่งพิมพ์ใช้เป็นหลักในการทำงานออกแบบสิ่งพิมพ์ กฎที่ว่านี้ คือ การจัดแถววางแนว ความแปลกแตกต่าง ความใกล้เคียง และการย้ำซ้ำ แม้ว่าการเขียน ถึงกฎแต่ละข้อจะแยกจากกัน แต่ขอให้ระลึกไว้ เสมอว่ากฎทั้ง 4 ข้อเกี่ยวเนื่องสอดคล้องต้องใช้ร่วมกันทั้งหมดไม่สามารถแยกออกจากกันได้ (ประจักษ์ พรประเสริฐถาวร. 2539: 14)

1. การจัดแถววางแนว
กฎของการจัดแถววางแนวกล่าวไว้ว่า ต้องจัดวัตถุทุกชิ้นบนหน้ากระดาษให้ดูเกี่ยวข้องต่อเนื่องซึ่งกันและกันไม่กับสิ่งใดก็สิ่งหนึ่ง จะไม่มีส่วนประกอบใดจัดวางบนหน้ากระดาษอย่างอิสระไร้ทิศทางและขาดความเกี่ยวข้องกับส่วนประกอบอื่นๆ จุดประสงค์เบื้องต้นของการจัดแถววางแนวเพื่อรวบรวมให้ทุกสิ่งบนหน้ากระดาษในงานสิ่งพิมพ์ดูมีเอกภาพเรียบร้อย การจัดส่วนประกอบต่างๆให้เป็นแถวเป็นแนวอย่างมั่นคง สามารถสร้างงานที่ดูงามสง่า หรือ ดูเป็นทางการ หรือ ดูสนุกสนาน หรือ ดูเป็นจริงเป็นจังได้ทั้งสิ้น ความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบตาราง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดแถววางแนวได้เป็นอย่างดี



• ตัวอย่างปกหนังสือหรือปกรายงานทั่วๆไปปฏิกิริยาครั้งแรกของใครก็ตามที่ได้เห็นมักนึกถึงความจืดชืด ไร้ชีวิตชีวา เฉยๆราบเรียบ ดูเป็นมือสมัครเล่น

 

ตัวอย่างปกหนังสือหรือปกรายงานทั่วๆไปที่จัดโดยพนักงานพิมพ์ดีดในอดีตที่ผ่านมาองค์ประกอบแบ่งแยกออกเป็นสองส่วน ขาดความความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

 
• หัวเรื่องระดับที่ 1 และหัวเรื่องระดับที่ 2 จัดชิดซ้าย แต่ชื่อผู้แต่งจัดกลาง ไม่มีการจัดแนวเข้าด้วยกันระหว่างเนื้อหาทั้งสองส่วน ดูแล้วยังไม่เกิดความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
หัวเรื่องจัดชิดซ้าย ชื่อผู้แต่งจัดกลาง เกิดมีสองแนวที่ไม่สัมพันธ์กัน ตัวอย่างปกหนังสือหรือปกรายงานทั่วๆไปปฏิกิริยาครั้งแรกของใครก็ตามที่ได้เห็นมักนึกถึงความจืดชืด ไร้ชีวิตชีวา เฉยๆราบเรียบ ดูเป็นมือสมัครเล่น หัวเรื่องระดับที่ 1 และหัวเรื่องระดับที่ 2 จัดชิดซ้าย แต่ชื่อผู้แต่งจัดกลาง ไม่มีการจัดแนวเข้าด้วยกันระหว่างเนื้อหาทั้งสองส่วนดูแล้วยังไม่เกิดความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
 

 

 

 
 
• สองแนวแบบแตกต่าง หัวเรื่องจัดชิดซ้ายชื่อผู้แต่งจัดชิดขวา ซึ่งเป็นแนวตรงกับอักษรตัวสุดท้ายของหัวเรื่อง แต่เป็นความจงใจที่กำหนดให้เกิดขึ้น
ถึงแม้องค์ประกอบทั้งสองส่วนจะใช้วิธีจัดสองแนวแบบแตกต่าง หัวเรื่องจัดชิดซ้าย ชื่อผู้แต่งจัดชิดขวา ซึ่งเป็นแนวตรงกับอักษรตัวสุดท้ายของหัวเรื่อง เป็นการเน้นแนวด้านขวาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 
• การจัดทั้งหมดเสมอซ้ายที่ชัดเจน ช่วยให้ดูทันสมัยน่าประทับใจกว่า แม้ว่าชื่อผู้แต่งจะไกลจากหัวเรื่อง แต่ด้วยเส้นแนวแกนที่มองไม่เห็นเชื่อมต่อข้อความ ทั้งสองกลุ่มให้ดูสัมพันธ์กันได้


 
• ส่วนประกอบต่างๆบนนามบัตรดูเหมือนไม่ตั้งใจ เพียงแค่ต้องการให้เสร็จๆไปเท่านั้นไม่มีส่วน ประกอบสักชิ้นที่เกี่ยวข้องกับชิ้นอื่น  

 

• ส่วนประกอบทั้งหมดจัดกลาง จับรวมกลุ่มด้วยความใกล้เคียงอย่างมีเหตุผล แม้จะดูดีขึ้นบ้าง แต่ยังคงจืดชืดและธรรมดาเกินไป

 

• นามบัตรใบนี้จัดชิดขวา รู้สึกเหมือนมีแนวเส้นตรงทางด้านขวาเชื่อมข้อความทั้งสองชุดชัดเจนกว่าการจัดกลางแบบตัวอย่างก่อนหน้านี้

 

ข้อความที่เสมอแกนด้านใดด้านหนึ่ง จะให้ความรู้สึกเหมือนกับว่ามีแนวแกนที่มองไม่เห็นคอยกำกับอยู่ ทั้งนี้เพราะมีขอบกระดาษเป็นตัวช่วยเสริม

 


2. ความแปลกแตกต่าง
ความคิดเบื้องต้นในการสร้างความแปลกแตกต่าง คือหลีกเลี่ยงการใช้องค์ประกอบที่ดูคล้าย ๆ กัน  เช่น ตัวพิมพ์ สี ขนาด ความหนาของเส้น รูปร่าง พื้นที่ว่าง ฯลฯ  องค์ประกอบนั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกัน จงสร้างให้เห็นความแปลกแตกต่างกันอย่างชัดเจน ความแปลกแตกต่างเป็นส่วนสำคัญที่ใช้สร้างความน่าสนใจให้หน้ากระดาษ

 

ความแปลกแตกต่างเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเพิ่มจุดสนใจบนหน้ากระดาษ กฎสำคัญที่ต้องจดจำเพื่อให้ความแปลกแตกต่างนั้นสำเร็จลุล่วง คือ เมื่อจะสร้างความแปลกแตกต่างให้กับส่วนประกอบสองอย่างที่ไม่เหมือนกัน ต้องทำให้ต่างกันอย่างสิ้นสงสัยไร้ข้อกังขา ต้องแรงและชัดเจนความแปลกแตกต่างทำได้หลายวิธี เช่น สร้างความแปลกแตกต่างระหว่างตัวพิมพ์ขนาดใหญ่กับตัวพิมพ์ขนาดเล็ก หรือตัวพิมพ์แบบหลักกับตัวพิมพ์แบบแปรใช้โทนสีอุ่นคู่กับโทนสีเย็น ใช้พื้นผิวที่เรียบคู่กันคู่กับพื้นผิวที่หยาบกระด้าง จัดวางองค์ประกอบแนวนอนคู่กับองค์ประกอบที่ดูเป็นแนวตั้ง ระยะบรรทัดที่กว้างมากคู่กับระยะบรรทัดที่แคบกระชับ หรือรูปกราฟิกขนาดเล็กคู่กับรูปกราฟิกขนาดใหญ่ เป็นต้น

 

 

 

• มีการใช้ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างแบบตัวอักษร แต่ความแตกต่างระหว่างเส้นที่ใช้ขีดนั้นยังสับสน เส้นที่ขีดขึ้นไม่สามารถบอกได้ว่ามีความหนาอยู่สองแบบหรือเป็นความผิดพลาดของผู้ออกแบบที่ขีดไม่เท่ากัน

 

• คราวนี้เกิดความแตกต่างที่ใหญ่ขึ้นระหว่างความหนาของเส้นที่ขีด ไม่เป็นการเสี่ยงที่จะถูกกล่าวหาจากคนอื่นว่าขีดเส้นไม่เท่ากัน ตัวอย่างนี้สื่อสารได้ชัดเจนขึ้น แรงขึ้น และดูดีขึ้นมาก
ความแปลกแตกต่างต้องสร้างให้ชัดเจนหมดข้อสงสัย เพราะจะมีผลต่อการสื่อสาร

 

 

 


ภาพการสร้างความแปลกแตกต่างระหว่างหัวเรื่องระดับที่ 1 และหัวเรื่องระดับที่ 2 มีวิธีการที่แตกต่างกันไปหลายวิธี นับเป็นการสร้างจุดเด่นให้กับสิ่งพิมพ์เป็นจุดแรก....ความแปลกแตกต่างใน ขนาดความแปลกแตกต่างใน ความหนา ของเส้นความแปลกแตกต่างใน รูปแบบความแปลกแตกต่างใน ทิศทาง
ความแปลกแตกต่างใน สี


3. ความใกล้เคียง
กฎแห่งความใกล้เคียง คือการจัดส่วนประกอบต่างๆ ในรายการที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันให้อยู่ด้วยกัน เมื่อส่วนประกอบต่างๆ ที่สัมพันธ์กันได้มาอยู่ใกล้เคียงกันและกัน จะมองเห็นภาพรวมของความเป็นหน่วยเดียวกันมากกว่าเห็นแยกเป็นหลายหน่วยความเป็นหมวดหมู่ก็จะปรากฏขึ้น ทำให้ง่ายต่อการอ่านและการจดจำ ผลที่ได้จากการรวมส่วนประกอบให้เป็นกลุ่มก้อน จะทำให้ได้พื้นที่ว่างมากขึ้น พื้นที่ว่างที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนจะเป็นจุดดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้ดี

• ใบรายวิชานี้จำเป็นต้องวางรูปแบบใหม่เพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย แต่อุปสรรคใหญ่ที่สุดก็คือข้อความทุกอันเว้นระยะบรรทัดไว้ใกล้เท่ากันหมดมองไม่เห็นกลุ่มวิชาและความสัมพันธ์ในกลุ่ม

• ใบรายวิชานี้เหมือนกัน แต่ถูกวางรูปแบบให้เห็นเป็นกลุ่มๆ จัดเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวข้องกันให้อยู่ใกล้เคียงกันรวมกันเป็นกลุ่มก้อน อีกทั้งยังเพิ่มความแปลกแตกต่างที่หัวข้อ ทำให้สื่อความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สิ่งพิมพ์ที่จัดกลุ่มรวมสิ่งที่คล้ายกันเป็นหนึ่งเดียวกัน ทำให้สิ่งพิมพ์อ่านง่ายขึ้น มีระเบียบขึ้น มีพื้นที่ว่างที่ลื่นไหลใบรายวิชานี้จำเป็นต้องวางรูปแบบใหม่เพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย แต่อุปสรรคใหญ่ที่สุดก็คือข้อความทุกอันเว้นระยะบรรทัดไว้ใกล้เท่ากันหมดมองไม่เห็นกลุ่มวิชาและความสัมพันธ์ในกลุ่มใบรายวิชานี้เหมือนกัน แต่ถูกวางรูปแบบให้เห็นเป็นกลุ่มๆ จัดเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวข้องกันให้อยู่ใกล้เคียงกันรวมกันเป็นกลุ่มก้อน อีกทั้งยังเพิ่มความแปลกแตกต่างที่หัวข้อ ทำให้สื่อความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น


4. การย้ำซ้ำ
กฎของการย้ำซ้ำ คือ ใช้การซ้ำลักษณะบางอย่างของงานออกแบบ ให้เป็นแบบแผนเหมือนกันตลอดทั่วทั้งชิ้นงานหรือทั่วทั้งเล่ม องค์ประกอบที่ใช้ย้ำซ้ำอาจเป็นพวกตัวพิมพ์หนาๆ เส้นขีดหนา รูปกราฟิกที่ใช้ประจำ รูปแบบการจัดเฉพาะตัว ระยะห่างและ พื้นที่ว่างที่เท่าๆกัน วิธีนี้ช่วยให้งานสิ่งพิมพ์มีความเป็นกลุ่มก้อน และมีเอกภาพ
• การย้ำซ้ำเกิดขึ้นที่หัวข้อเป็นตัวหนา เนื้อความเป็นตัวธรรมดา การเว้นย่อหน้า พื้นที่ว่าง การจัดช่องไฟ การจัดแถว สัญลักษณ์กราฟิกแถบสีเขียวและเส้นประกอบหัวข้อ สัญลักษณ์กราฟิกสี่เหลี่ยมสีแดงเน้นรายวิชา
องค์ประกอบที่ซ้ำๆ สร้างความต่อเนื่องที่แยบยล ช่วยรวบรวม เรียบเรียง จัดลำดับ ข่าวสาร และช่วยชี้นำผู้อ่านให้เข้าสู่เนื้อหาได้สะดวกขึ้น

• สิ่งพิมพ์ธุรกิจ ได้แก่นามบัตร หัวจดหมาย และซองจดหมาย ใช้ความซ้ำจัดวางให้มีความสัมพันธ์กัน ไม่เพียงแค่ภายในแต่ละชิ้น แต่ต้องคำนึงถึงระหว่างทุกชิ้นด้วย
 
สิ่งพิมพ์ทุกชิ้นจัดชิดขวา เพิ่มความย้ำซ้ำด้วยเส้นประ เป็นการเน้นความสัมพันธ์ ให้หนักแน่นขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 310536เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2009 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท