ตอนที่ ๒ สภาพอุตสาหกรรมการบิน ปี ๒๕๕๒


แนวโน้มอุตสาหกรรมการบิน สภาพ ผลกระทบ ปัญหาและอุปสรรค

แนวโน้มและทิศทางของอุตสาหกรรมการบินในปีที่ผ่านมาต้องตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก  สายการบินต้องเผชิญภาวะจำนวนผู้โดยสารลดลงอย่างมาก โดยจำนวนผู้โดยสารทางอากาศ   ในปี 2551 มีประมาณ 54.4 ล้านคน หดตัวประมาณร้อยละ 4.8 ลดลงอย่างมากจากปีก่อนที่มีจำนวนผู้โดยสารทางอากาศประมาณ 57.2 ล้านคน ขยายตัวประมาณร้อยละ 7.8 โดยสามารถแบ่งออกเป็นจำนวนผู้โดยสารภายในประเทศมีประมาณ 20 ล้านคน หดตัวประมาณร้อยละ 5.6 และจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศมีประมาณ 34.4 ล้านคน หดตัวประมาณร้อยละ 4.3 ขณะที่ปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศก็มีทิศทางลดลงเช่นกัน โดยมีปริมาณ 1.29 ล้านตัน หดตัวประมาณร้อยละ 4 ลดลงจากปีก่อนที่มีปริมาณ 1.34 ล้านตัน ขยายตัวประมาณร้อยละ 1.8 โดยสาเหตุการลดลงของจำนวนผู้โดยสารและปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศมีสาเหตุที่สำคัญ

 ๓ ประการ

๑.ประการแรกมาจากต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่ปรับตัว เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยราคาน้ำมันเครื่องบิน (Jet Fuel) ได้ทำสถิติแตะระดับสูงสุดที่ 180 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่งผลให้สายการบินไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนดังกล่าวได้ จึงต้องทำการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้ราคาตั๋วโดยสารและค่าบริการขนส่งเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ในช่วงครึ่งหลังของปีราคาน้ำมันมีทิศทางปรับลดลงมาอย่างมาก แต่ก็ไม่ได้ส่ง

ผลดีต่ออุตสาหกรรมการบินมากนัก เนื่องจากหลายสายการบินได้ทำการประกันความเสี่ยงน้ำมันล่วงหน้าเอาไว้ (Hedging) ทำให้ยิ่งประสบปัญหาขาดทุนจากแนวโน้มราคาน้ำมันที่ลดลง

๒.ประการที่สอง เป็นผลมาจากความวุ่นวายทางการเมืองที่ได้ส่งผลต่อ บรรยากาศทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่ต้องเผชิญวิกฤตอย่างหนัก โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในปี 2551 คาดว่าจะหดตัวประมาณร้อยละ 3.2 ลดลงจากปีก่อนที่ขยายตัวประมาณร้อยละ 4.8 ในช่วงปลายปีที่เหตุการณ์ชุมนุมประท้วงได้ลุกลามไปจนถึงขั้นต้องมีการปิดท่า อากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง แม้เหตุการณ์ดังกล่าวจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อความเชื่อมั่นในการท่องเที่ยวและการคมนาคมขนส่ง ของไทย ดังจะเห็นได้ว่า จำนวนผู้โดยสารทางอากาศในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2551 หดตัวสูงถึงประมาณร้อยละ 27.3 และ 36.0 สะท้อนภาพความไม่มั่นใจของผู้โดยสาร

๓.ประการที่สาม เกิดจากสภาพโรคภัยไข้เจ็บ  เช่น    ไข้หวัดนก  ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก หรือไข้หวัด ๒๐๐๙ ที่       ส่ง  ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบิน

ซึ่งคาดว่า  แนวโน้มอุตสาหกรรมการบินในปี 2552 จะยังคงต้องเผชิญวิกฤตอย่างหนัก โดยเฉพาะปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ที่จะทำให้ปริมาณการเดินทางทางอากาศยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน โดย IATA (International Air Transport Association) คาดว่าปริมาณการจราจรทางอากาศ  ทั่วโลกจะหดตัวจากปีก่อนประมาณร้อยละ 3.6

ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะหดตัวประมาณร้อยละ 2.5 สำหรับในประเทศไทยก็คาดว่าจะมีทิศทางลดลงเช่นกัน นอกจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เป็นปัจจัยกดดันจากภายนอกประเทศแล้ว อุตสาหกรรมการบินของไทยยังคงต้องเผชิญปัญหาจากความวุ่นวายทางการเมืองภายใน ประเทศ ซึ่งส่งผลสำคัญต่อบรรยากาศในการท่องเที่ยวและการลงทุนของประเทศ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นสัดส่วนหลักและมีผลต่อจำนวนผู้โดยสาร ทางอากาศของไทย โดยหลังการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลมายังชุดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สถานการณ์การเมืองของไทยก็มีบรรยากาศที่สดใสมากขึ้น รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนและนัก ท่องเที่ยวในหลายมาตรการ ซึ่งหากสถานการณ์ทางการเมืองของไทยมีเสถียรภาพและไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงดัง เช่นในปีที่ผ่านมา รวมทั้งรัฐบาลสามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่าง ประเทศให้กลับมาลงทุนและท่องเที่ยวในไทยได้ ก็อาจช่วยพยุงภาวะของอุตสาหกรรมการบินได้ในระดับหนึ่ง โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าอุตสาหกรรมการบินในปี 2552 อาจยังคงต้องเผชิญภาวะจำนวนผู้โดยสารลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน โดยคาดว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารประมาณ 49-52 ล้านคน หดตัวประมาณ   ร้อยละ 5-10 เป็นการหดตัวต่อเนื่องจากปีก่อนที่หดตัวประมาณร้อยละ 4.8 โดยปัจจัยสำคัญที่จะกดดันการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินคือภาวะเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลให้ผู้โดยสารทั้งไทยและต่างประเทศอาจปรับลดการเดินทางท่องเที่ยวลง หรือเลือกเดินทางในรูปแบบที่ประหยัดกว่า

การเดินทางโดยเครื่องบิน 

 อีกทั้งผู้โดยสารต่างประเทศบางส่วนก็อาจยังไม่มีความมั่นใจในสถานการณ์ทาง การเมืองของไทยว่าจะเกิดเหตุการณ์วุ่นวายจนลุกลามไปถึงขั้นปิดท่าอากาศยาน อีกหรือไม่ แม้จะมีการเปลี่ยนรัฐบาลชุดใหม่แล้วก็ตาม ซึ่งถือเป็นโจทย์สำคัญที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องเรียกความมั่นใจกลับคืนมา โดยกรอบบนของประมาณการอยู่ในเงื่อนไขที่มาตรการของรัฐบาลสามารถฟื้นฟูภาคการ ท่องเที่ยวได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะช่วงฤดูการท่องเที่ยวในครึ่งปีแรก ขณะที่กรอบล่างของประมาณการเป็นกรณีที่มาตรการของภาครัฐช่วยกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวได้ไม่มากนักและภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากกว่าที่ คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ จำนวนผู้โดยสารที่ลดลงอย่างมากนี้อาจส่งผลให้สายการบินต้องประสบภาวะขาดทุน หรือกำไรลดต่ำลงต่อเนื่องจากปีก่อน ทั้งสายการบินแบบปกติและสายการบินต้นทุนต่ำ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก  โดย IATA ประเมินว่าใน ปี 2552 อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกจะขาดทุนถึงประมาณ 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ก็เป็นการขาดทุนลดลงจากปีก่อนที่ขาดทุนประมาณ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากต้นทุนน้ำมันได้ปรับลดลงอย่างมาก

หมายเลขบันทึก: 310149เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2009 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 08:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท