036 : เก็บมาเล่า เอามาฝาก จากครูคนนี้


ทำอย่างไรให้เด็กมีความสามารถในการกำกับกระบวนการเรียนรู้ของตนเองได้? ทุกอย่างมีทางแก้ไขได้ด้วยความเอาใจใส่ของครู เอาหัวใจของความเป็นครู เอาหัวใจแห่งความรักความเมตตาต่อลูกศิษย์ กอร์ปกับความอดทนมากๆของครูป้อนคำถามฝึกให้เด็กคิด ฝึกให้เด็กหาข้อมูล ฝึกให้เขาต้องแก้ปัญหา ที่ไม่ต้องมีคำตอบว่าสิ่งที่เขาคาดเดาแนวคิดนั้นผิดหรือถูก แต่จะนำแนวคิดของเด็กๆเหล่านั้นมาหล่อหลอมองค์ความรู้ร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน เกิดความรู้ใหม่สำหรับพวกเขา

...วันนี้ ดิฉันตื่นแต่เช้า  ทั้งๆที่เมื่อคืนก็นอนดึกอีกตามเคย...ความเป็นครูบ้านนอกที่เงอะๆเงิ่นๆ ที่ด้อยความรู้  ความสามารถ ที่มักจะแอบตั้งคำถามอยู่ในใจเสมอว่า  คำว่าผู้เรียนเป็นสำคัญ  สำคัญอย่างไร  ทำไมต้องสำคัญ  ไม่สำคัญไม่ได้หรือ?  ถือว่าเป็นอะไรที่  เฉิ่ม  เฉอะ  เลอะ เลือน ไปหรือเปล่า  แต่ดิฉันว่า  ดิฉันยังมีเพื่อนร่วมขบวนการของความไม่รู้อย่างดิฉันอีกเยอะค่ะ  วันนี้ก็เลยหยิบยกความหมายของคำว่า  ผู้เรียนเป็นสำคัญคืออะไร มาเล่ากับเขาบ้าง

... ผู้เรียนเป็นสำคัญ  ต้องสำคัญแน่ๆ เพราะได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาฯหมวด 4 มาตรา 22 ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด  กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ

...ผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง  ผู้ที่มีความสามารถในการกำกับกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง  เกิดการเรียนรู้ที่ลุ่มลึกในสาระ(deep  knowledge) สามารถคิดวิเคราะห์ ถักทอ (weaving)ความรู้และปรับประยุกต์แก้ปัญหาที่เหมาะสมกับบริบทของสภาพแวดล้อมรวมทั้งสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง

...ดิฉันเป็นครูค่อนข้างโบราณ แต่ก็ไม่ได้ห่างมาตรฐานการเรียนการสอนของความเป็นครู ก็พยายามศึกษาว่า  จะจัดการเรียนการสอนอย่างไรที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนหรือนักเรียนของเราสามารถกำกับกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองได้?  มันเป็นสิ่งที่อึดอัด และยากจริงหนอ... เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องอยู่ที่ตัวเด็กซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านสติปัญญา การรับรู้และการเรียนรู้ สิ่งสำคัญที่สุดที่จะส่งเสริมให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองคือความมีวินัยและการมีความรับผิดชอบ ซึ่งจากประสบการณ์การสอนของดิฉันประเมินได้ว่าเด็กของเรามีน้อยมาก....

...แต่...ทุกสิ่งทุกอย่างมีทางแก้ไขได้ด้วยความเอาใจใส่ของครู  เอาหัวใจของความเป็นครู  เอาหัวใจแห่งความรักความเมตตาต่อลูกศิษย์ กอร์ปกับความอดทนมากๆของครูป้อนคำถามฝึกให้เด็กคิด  ฝึกให้เด็กหาข้อมูล  ฝึกให้เขาต้องแก้ปัญหา ที่ไม่ต้องมีคำตอบว่าสิ่งที่เขาคาดเดาแนวคิดนั้นผิดหรือถูก  แต่จะนำแนวคิดของเด็กๆเหล่านั้นมาหล่อหลอมองค์ความรู้ร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน  เกิดความรู้ใหม่สำหรับพวกเขา  ครูต้องอดทนต่อความอยากที่จะให้ความรู้แก่เด็กโดยตรงหรือโดยการบอกความรู้ให้แก่เด็ก แต่ครูต้องเป็นผู้คอยเสนอแนะ  ครูต้องอดทนต่อการปะติดปะต่อความรู้จากแนวคิดของเด็กๆแต่ละคน  ประคับประคองให้ถึงเป้าหมายของการเรียนรู้ในแต่ละครั้งให้ได้ ผลของการจัดการเรียนรู้จึงมีคุณค่าและมีความหมาย  ดิฉันภาคภูมิใจกับการสอนที่ค้นพบเป็นการสอนที่มีคุณค่าและสอดคล้องกับผู้เรียนเป็นสำคัญจริงๆ....

หมายเลขบันทึก: 310071เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2009 08:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท