นางเพชรรัตน์
นาง นางเพชรรัตน์ น้องเล็ก วงแวงน้อย

อาหารหลัก5 หมู่ ( บริหารรุ่น 6 ชัยภูมิส่งงานอาจารย์ดร.สุรเชต มมส.


4)  ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้หน่วยที่  4  อาหารและโภชนาการ 
...คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้หน่วยที่  4...

 1.  อาหารและโภชนาการมีความสัมพันธ์กับร่างกายอย่างไร

 อาหาร หมายถึง สิ่งที่มนุษย์กิน ดื่มหรือรับเข้าร่างกายโดยไม่มีพิษแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายช่วยซ่อม แซมอวัยวะส่วนที่สึกหรอและทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายดำเนินการไปอย่างปกติซื่งรวมถึงน้ำด้วย ดังนั้นอาหารประจำวันของมนุษย์จึงจำเป็นต้องประกอบด้วยอาหารหลายๆอย่าง  เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน อาหารจำเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลวหรือก๊าซ เช่น อากาศที่เราหายใจเข้าไป เลือด น้ำเกลือหรือยาฉีดที่แพทย์จัดให้ก็นับว่าเป็นอาหารด้วย
        โภชนาการ หมายถึง  ความต้องการของสารอาหาร การเปลียนแปลงของอาหารในร่างกายและร่างกายเอาสารไปใช้อะไรบ้าง  ตลอดจนถึงการย่อย  การดูดซึมและการขับถ่าย

2.  ภาวะโภชนาการหมายถึงอะไร  จงเปรียบเทียบลักษณะของผู้มีภาวะโภชนาการที่ดีและไม่ดี

ภาวะโภชนาการ (nutritional status)  หมายถึง ผล สภาพ หรือภาวะของร่างกายที่เกิดจากการบริโภคอาหาร
    1.ภาวะโภชนาการดี (good nutritional status) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ คือ มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และร่างกายใช้สารอาหารเหล่านั้นในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ 

     2.ภาวะโภชนาการไม่ดี (bad nutritional status) หรือภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ หรือการได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินความต้องการของร่างกาย จึงทำให้เกิดภาวะผิดปกติขึ้น ภาวะโภชนาการไม่ดี

3.  อาหารที่เรารับประทานในชีวิตประจำวันประกอบด้วยอะไรบ้าง  และต้องรับประทานอย่างไรจึงจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย

อาหารหลัก 5 หมู่ คือ การจัดอาหารทุกชนิดที่คนไทยบริโภคเป็นประจำออกเป็นหมวดหมู่   เป็นการจัดที่มีมานานแล้วโดยใช้ คำว่า อาหารหลัก 5 หมู่ของคนไทย แต่ในที่นี้จะเรียกว่า อาหารหลัก 5 หมู่
  หมู่ ที่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วเมล็ดแห้ง อาหารในกลุ่มนี้ให้สารอาหารโปรตีน ในอดีตประเทศไทยเคยมีปัญหาการขาดโปรตีนซึ่งมีผลต่อระดับการเรียนรู้ของ ประชากร โภชนากรจึงให้ความสำคัญมากกว่าสารอาหารอื่น
             หมู่ ที่ 2  ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก และมัน อาหารในกลุ่มนี้ถูกจัดไว้ในหมู่ที่ 2 เพราะคนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลัก ถือว่าข้าวเป็นอาหารประจำชาติ และในทางโภชนาการเน้นว่าพลังงานส่วนใหญ่ของร่างกายควรมาจากอาหารหลักในหมู่ ที่ 2 ไม่ใช่หมู่ที่ 5
             หมู่ ที่ 3 ผักชนิดต่าง ๆ ทั้งผักกินใบ ยอด ดอก ผล และฝัก อาหารในกลุ่มนี้ถูกจัดให้อยู่ในหมู่ที่ 3 เพราะแบบแผนการบริโภคอาหารของไทยที่บริโภคเป็นอาหารคาว คือ นำมาทำเป็นกับข้าว ซึ่งกรรมวิธีการหุงต้มมีหลายขั้นตอน เช่น การปอก ล้าง หั่น ต้ม ทำให้สูญเสียเกลือแร่ และวิตามินโดยเฉพาะวิตามินซี  
             หมู่ ที่ 4  ผลไม้ทุกชนิด อาหารในกลุ่มนี้ถูกจัดให้อยู่ในหมู่ที่ 4 ทั้งที่ให้สารอาหารเหมือนผัก และปริมาณก็ใกล้เคียงกัน ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะรวมไว้ในหมู่เดียวกัน  แต่ประเทศไทยแยกไว้คนละหมู่  เพราะแบบแผนการบริโภคอาหารของคนไทยที่บริโภคผลไม้เป็นอาหารหวาน คือ บริโภคหลังจากอิ่มข้าวแล้ว จึงมักได้ยินคำพูดที่ว่า “เอาของหวานมาตบท้าย” ของหวานที่กล่าวถึง คือ ขนมหวาน หรือผลไม้ โดยผลไม้ที่นำมาบริโภคมักเป็นผลไม้สด เช่น ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง มะม่วงดิบ ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีมาก  ดังนั้นการแยกผัก และผลไม้ไว้ต่างหมู่จะช่วยป้องกันการขาดวิตามินซีได้(ชุมศักดิ์, 2547)
             หมู่ ที่ 5 ไขมัน น้ำมันที่ได้จากพืช และสัตว์ กะทิ เนยเทียม อาหารกลุ่มนี้ถูกจัดอยู่ในหมู่ที่ 5 ซึ่งเป็นหมู่สุดท้ายมิใช่ว่าอาหารในหมู่นี้ไม่มีความสำคัญ อาหารในหมู่นี้มีความสำคัญเหมือนกับหมู่อื่นๆ เพียงในแต่ละวันร่างกายได้รับมากอยู่แล้ว เพราะไขมันแทรกอยู่ในเนื้อสัตว์แทบทุกชนิดที่บริโภคเพียงแต่ว่าเราอาจมองไม่ เห็น หรือหลงลืม โภชนากรนำมาจัดไว้ในหมู่นี้เพื่อให้ได้รับ แต่ไม่ใช่ในจำนวนมากจนทำให้เกิดปัญหาโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด
 
ประโยชน์ของการจัดอาหารหลัก 5 หมู่
        ช่วยให้คนไทยได้รับสารอาหารครบทุกชนิดตามที่ร่างกายต้องการ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เกิดภาวะ  ทุพโภชนาการเพราะในทางปฏิบัติ การแนะนำให้ประชาชนกินอาหารเพื่อให้ได้รับสารอาหารชนิดต่างๆ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และไขมัน ในปริมาณที่กำหนดทางวิชาการเป็นเรื่องที่ปฏิบัติตามได้ยาก การแบ่งอาหารออกเป็นหมู่เพื่อช่วยให้จำ และปฏิบัติตามได้ง่ายกว่า โดยกำหนดให้กินครบทุกหมู่ใน 1วันจะได้รับสารอาหารครบทุกชนิด ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจได้รับในปริมาณมาก หรือน้อยเกินไป แต่ก็ถือว่าได้รับสารอาหารครบทุกชนิดตามที่ร่างกายต้องการ

4.  โปรตีนคืออะไร  มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร  และเราได้โปรตีนจากแหล่งอาหารใดบ้าง
 

โปรตีน เป็นสารอาหารที่เราควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะ 80เปอร์เซ็นต์ของร่างกาย ล้วนแต่ประกอบด้วยโปรตีน ดังนั้นหากร่างกายเราขาดโปรตีนแล้ว จะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายมากมายอย่างเห็นได้ชัดเจนมาก ซึ่งเราสามารถพบโปรตีนได้ใน เนื้อสัตว์ นม ไข่ และถั่วต่างๆ

ความสำคัญของโปรตีน

   1. สร้างความเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ           

   2. รักษาสมดุลในร่างกาย

   3. ช่วยต้านทานโรค                

   4. ควบคุมการทำงานของร่างกายอันได้แก่ เอนไซม์และฮอร์โมน

   5. ให้พลังงานและความร้อน      

   6. มีความสำคัญอย่างมากต่อสตรีตั้งครรภ์

   เราสามารถพบโปรตีนได้ใน เนื้อสัตว์ นม ไข่  ถั่วเหลือง ปลา งา

5.  คาร์โบไฮเดรตคืออะไร  มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร  ส่วนใหญ่ได้จากอาหารใดบ้าง

สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เป็นสิ่งที่สำคัญขาดไม่ได้ ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน
           หน้าที่ คือ
1. ให้พลังงานและความร้อน
2. สงวนคุณค่าของโปรตีนให้ร่างกายนำไปใช้
3. ช่วยให้การใช้ไขมันเป็นปกติ
4. บางชนิดเป็นอาหารของเซลล์และเนื้อเยื่อในสมอง
5. ถ้ามีปริมาณมากจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมัน
6. หน้าที่เฉพาะในตับ คือ ป้องกันสิ่งที่เป็นพิษต่อร่างกาย
            เราได้คาร์โบไฮเดรตจากอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาลชนิดต่างๆ เช่น ขนมหวาน น้ำหวาน รวมทั้งในผลไม้สุกบางชนิด

 6.  ไขมันเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายหรือไม่อย่างไร  ส่วนใหญ่ได้จากอาหารใด

สารอาหารที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นไขมันจากสัตว์หรือพืชให้สารอาหารอย่างเดียวกัน คือ ไขมันเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าสารอาหารอื่นๆและยังช่วยในการดูดซึมของวิตามินบางชนิด นอกจากนี้การใช้ไขมันประกอบอาหารจะช่วยให้รสชาติของอาหารดีขึ้น ไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันวัว ไขมันจากพืช เช่น น้ำมันงา น้ำมันถั่ว น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น

     อาหารพวกไขมัน ได้แก่ พวกไขมันและน้ำมันพืชต่างๆ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว นอกจากนี้ยังมีแทรกอยู่ในอาหารประเภทอื่นๆ เช่น ถั่วลิสงแห้งซึ่งจะมีไขมันสูงมาก เนื้อสัตว์แทบทุกชนิดมีไขมันแทรกอยู่ ไขมันและน้ำมันทุกชนิดให้คุณค่าทางโภชนาการเหมือนกัน เราจึงนิยมใช้ไขมันประกอบอาหารหลายอย่างเพื่อช่วยให้อาหารรสชาติดีขึ้น

 7.  การนำน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันมะพร้าวมาประกอบอาหาร  มีจุดเด่นและจุดด้อยต่างกันอย่างไร

-น้ำมันถั่วเหลือง ได้จากการนำเมล็ดถั่วเหลืองมาสกัดน้ำมันโดยใช้ตัวทำละลายแล้วนำไปฟอกสีและกำจัดกลิ่น น้ำมันถั่วเหลืองจัดได้ว่าเป็นน้ำมันพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูง  น้ำมันถั่วเหลืองสำหรับบริโภคที่จำหน่ายมีทั้งน้ำมันถั่วเหลือง 100% และน้ำมันถั่วเหลืองผสมกับน้ำมัน ถั่วเหลืองมีสารเคมี ที่เป็นประโยชน์หลายชนิด เช่น เลซิติน โอลิโกแซคคาไรด์ วิตามินอี สเตอรอล ไฟเตทเป็นต้น สามารถใช้ถั่วเหลืองเพื่อช่วยเพิ่มเยื่อใยและคุณค่าทางอาหาร

-น้ำมันมะพร้าว สกัดได้จากการหมักเพราะเนื่องจากมีคุณภาพสูง ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการผลิตมากนัก

 8.  ทำไมอาหารจึงเป็นพิษและที่เป็นพิษเกิดจากสาเหตุใดบ้าง

อาหารเป็นพิษเกิดจากการบูดเสีย อาหารนั้นมีจุลินทรีย์หรือสารพิษปนเปื้อนอยู่ มีการเปลี่ยนแปลงสี กลิ่น รส และสภาพอาหาร ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วเกิดโทษต่อร่างกาย

อาหารเป็นพิษเกิดจาก

1. จุลินทรีย์ ได้แก่ เชื้อรา พยาธิ แบคทีเรีย ไวรัส

2. สารเคมีในอาหาร ได้แก่ บอแรกซ์ โลหะหนัก น้ำประสานทอง สานกันบูด สารกันเชื้อรา ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว ฯลฯ

 9.  เราจะมีวิธีป้องกันมิให้สารพิษที่ตกค้างในอาหารเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร  โดยเฉพาะพืชผักที่มีสารพิษตกค้าง

1.ลดปริมาณสารพิษด้วนวิธีการล้าง
        - การแช่ในน้ำสะอาดอย่างน้อยประมาณ 10-15 นาที
        - การล้างด้วยน้ำก๊อกไหลนานประมาณ 2-4 นาที
        - การล้างด้วยน้ำส้มสายชู 0.5 เปอร์เซ็นต์ แช่ทิ้งไว้นานประมาณ 2-4 นาที
        - การล้างด้วยด่างทับทิม 0.01 เปอร์เซ็นต์ แช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-4 นาที
        - การล้างด้วยน้ำซาวข้าว 50 เปอร์เซ็นต์ (เตรียมจากน้ำข้าว 2 กิโลกรัมต่อน้ำ 4 ลิตร) แช่ทิ้งไว้นานประมาณ 2-4 นาที
        - การล้างด้วยน้ำปูนใส แช่ทิ้งไว้นานประมาณ 2-4 นาที
        - การล้างผักผลไม้ด้วยน้ำยาล้างผัก 0.3 เปอร์เซ็นต์ แช่ผักผลไม้ประมาณ 5-10 นาที
        - การแช่ในน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต (ผงฟู) 1 ช้อนตวงต่อน้ำ 4 ลิตร แช่ทิ้งไว้นานประมาณ 15 นาที
        - การล้างด้วยน้ำขี้เถ้า 0.5 เปอร์เซ็นต์ และ 10 เปอร์เซ็นต์ แช่ทิ้งไว้นาน 2-4 นาที
        - การล้างด้วยน้ำเกลือ โดยใช้เกลือ 1 ช้อนตวงต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ทิ้งไว้นานประมาณ 10-15 นาที

2.ลดปริมาณสารพิษด้วยการปรุงอาหาร

การล้างผักด้วยน้ำร้อน มีวิธีการปรุงอาหาร 4 วิธี คือ
         1.การลวก ลวกในน้ำพอประมาณ ใช้เวลานาน 1 นาที
         2.การต้ม ต้มในน้ำพอประมาณใช้เวลานาน 3 นาที
         3.การนึ่ง นึ่งผักนานประมาณ 15 นาที แล้วนำมาล้างในน้ำเปล่าจากนั้นรินน้ำทิ้ง จึงนำมารับประทนได้
         4.การผัด ผัดในน้ำมัน 50 มิลลิลิตร ใช้เวลานาน 1 นาที จะช่วยบรรเทาสารพิษไปได้ในตัว

3.ลดปริมาณสารพิษด้วยการปอกเปลือก
            การปอกเปลือกผักผลไม้หรือลอกชั้นนอกของผักและผลไม้ออก ถ้าลอกใบนอกออกได้ 45 ชั้น จะปลอดภัยมากกว่าเพราะใบชั้นนอกเป็นแหล่งติดเกาะของสารพิษและจะมีสารพิษตกค้างมากกว่าชั้นใน

 10.  สารปรุงแต่งอาหารมีประโยชน์ต่อร่างกายหรือไม่  เพราะเหตุใดจึงใช้สารปรุงแต่งอาหาร

สารปรุงแต่งอาหารสารใด ๆ ซึ่งปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบหลักของอาหาร    อาจมีคุณค่าทางโภชนาการ หรือไม่ก็ได้    เป็นสารที่ตั้งใจเติมลงในอาหาร เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ และ การแปรรูป การบรรจุ การขนส่ง การเก็บรักษาอาหาร และ มีผลหรืออาจมีผลทางตรงหรือทางอ้อม ทำให้สารนั้นหรือผลิตผลพลอยได้ของสารนั้นกลายเป็นส่วนประกอบของอาหารนั้น หรือ มีผลต่อคุณลักษณะของอาหารนั้น    แต่ไม่รวมถึง สารปนเปื้อน  หรือ สารที่เติมลงไปเพื่อปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของอาหาร   
โดยที่การใชั วัตถุเจือปนอาหารต้องมิได้มีเจตนาหลอกลวงผู้บริโภค หรือปิดบังการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพไม่ดี หรือการผลิตที่มีการสุขาภิบาลไม่ถูกต้องและต้องไม่ทำให้คุณค่าทางอาหารลดลง ด้วย

       คุณสมบัติทั่ว ๆ ไปของวัตถุเจือปนอาหาร ได้แก่  ไม่เป็นพิษ  ใช้จำนวนเล็กน้อยก็ได้ผล  ไม่ทำให้ สี กลิ่น รส ลักษณะของอาหารเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมคุณภาพ  และ  ต้องเป็นชนิดที่ผ่านการทดสอบและอนุญาตให้ใช้เติมลงในอาหารได้      

 11.  สารปรุงแต่งอาหารที่เป็นอันตรายและไม่ใช้ใช้ใส่ในอาหารอย่างเด็ดขาดคือสารใด  เพราะเหตุใด

บอแรกซ์ หรือ น้ำประสานทอง หรือ ผงกรอบ หรือ เพ่งแซ เพราะ บอแรกซ์ เป็นสารที่มีพิษต่อร่างกาย ความรุนแรงของการเกิดพิษขึ้นกับปริมาณที่ร่างกายได้รับและการสะสมในร่างกาย หากได้รับในปริมาณไม่มากแต่ได้รับบ่อยเป็นเวลานาน จะเกิดอาการเรื้อรัง เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผิวหนังแห้งอักเสบ หนังตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับ และไตอักเสบ ระบบสืบพันธ์เสื่อมสมรรถภาพ เป็นต้น แต่ถ้าได้รับบอแรกซ์ในปริมาณสูงจะเกิดอาการเป็นพิษแบบเฉียบพลัน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ อุจจาระร่วง เป็นต้น บางครั้งอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้

 12.  จงอธิบายองค์ประกอบในการประกอบอาหารมาพอสังเขป

องค์ประกอบที่ทำให้การประกอบอาหารได้ผลดี และเป็นมาตรฐาน

     1. ตำรับดี คือ ตำราอาหารที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย เนื้อหารัดกุม บอกวิธีทำเป็นลำดับชัดเจน บอกสัดส่วนถูกต้อง ถ้าทำตามตำรับแล้วอาหารจะมีรสชาติที่ดี
     2. อาหารต้องสดสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น ถ้าเป็นผัก ผลไม่ เลือกที่ไม่เหี่ยวไม่ช้ำ มีการถนอมอาหารให้สดอยู่เสมอ
     3. การชั่วตวง ถูกต้องตามสัดส่วน
     4. การทำอาหารตามลำดับขั้น เพื่อความสะดวกรวดเร็ว รสดี น่าทาน โดยขั้นตอนในการประกอบอาหารทั่วไป ได้แก่ ขั้นเตรียม คือ ล้างทำความสะอาด ขั้นหุงต้ม ขั้นเก็บล้าง ส่วนขั้นตอนเฉพาะตำรับ คือ ขั้นในการปรุงอาหาร ใส่ก่อน-หลัง เป็นต้น

 


 13.  ขั้นตอนการประกอบอาหารมีอะไรบ้าง  จงอธิบายตามลำดับขั้นตอนต่าง ๆ

     1.ขั้นเตรียม : เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม และล้างทำความสะอาดอาหารสดทุกอย่าง แล้วจึงหั้นสับตามต้องการ
     2.ขั้นประกอบอาหาร : ทำอาหารพวกแกง หรือต้ม หรือเนื้อสัตว์ที่มีใยเหนียวก่อน ทำตามขั้นตอนในตำรับทุกอย่าง อาหารพวกยำต้องเตรียมเครื่องไว้ ส่วนอาหารจำพวกผัดต้องทำหลังสุด
     3.ขั้นทำความสะอาด : ล้างทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ ผึ่ง เช็ดให้แห้ง เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย บริเวณที่เตรียมอาหาร อ่างล้างชาม หน้าเตา พื้นห้องครัว เช็ดถูทำความสะอาดหลังประกอบอาหารทุกครั้ง รวมทั้งต้องแยกขยะด้วย


14.  การถนอมอาหารโดยวิธีตากแห้งมีวิธีทำอย่างไร  จงยกตัวอย่างวิธีถนอมอาหารโดยวิธีตากแห้งมา  1  ตัวอย่าง

การถนอมอาหารโดยการตากแห้งกับอาหารทุกประเภท  เช่น  เนื้อสัตว์  ผัก  ผลไม้  การตากแห้งหรือการรมควันคือการเอาน้ำหรือความชื้นออกจากอาหารให้มากที่สุด  เพื่อป้องกันการเจริญของเชื้อบูดเสียที่ชอบเจริญในความชื้น  เช่น  เชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียบางชนิด  การตากแห้งหรือการรมควันอาจทำได้โดยใช้ความร้อนจากแสงแดด  หรือการใช้ความร้อนจากแหล่งอื่น  เช่น  การอบในตู้อบไฟฟ้าหรือแก๊ส  เป็นต้น

 การทำเนื้อสวรรค์

ส่วนผสม
        1. เนื้อวัว           1 ก.ก
        2. เกลือป่น        1 1/2 ช้อนโต๊ะ
        3. น้ำตาลทราย  1 ถ้วยตวง
        4. ลูกผักชี         2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ

1. ล้างเนื้อให้สะอาด แล่เป็นชิ้นบางมาก ๆ พักไว้

2. คั่วลูกผักชีพอเหลือง แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งป่นให้ละเอียด อีกส่วนบุบพอแตก เคล้ากับเนื้อให้ทั่ว ใส่น้ำตาลทราย เกลือ คนให้เข้ากัน หมักไว้ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง

3. หมักเนื้อได้ที่แล้ว แผ่บนตะแกรงตาถึ่ ๆ ผึ่งแดด พอหมาดจึงกลับอีกด้าน ผึ่งจนแห้ง จัดเป็นชิ้นตามความต้องการ

4. ทอดในน้ำมันสุก ใส่ภาชนะปิดฝาให้สนิท


 15.  การถนอมอาหารในตู้เย็นมีวิธีการเก็บรักษาอาหารชนิดต่าง ๆ อย่างไร

การถนอมอาหารโดยการแช่เย็น ก่อนเก็บอาหารในตู้เย็นต้องอ่านคู่มือการใช้ตู้เย็นให้เข้าใจเสียก่อน แล้วจึงเก็บอาหารชนิดต่างๆ ในที่ที่มีอุณหภูมิเหมาะสมที่จะรักษาอาหารนั้นๆได้นาน อาหารที่ปรุงสุกแล้วถ้าจะเก็บในตู้เย็นต้องรอให้อาหารนั้นเย็นเสียก่อน แล้วจึงใส่ในภาชนะที่ปิดสนิทก่อนนำเข้าเก็บในตู้เย็น ส่วนเนื้อสัตวก่อนแช่ควรทำความสะอาดและตัดเป็นชิ้นตามต้องการจึงใส่ในช่อง แช่แข็ง และนำออกมาใช้ทีละส่วน

สพฐ.  ม. 5.5.3  สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด  เขียน  หรือนำเสนอด้วยวิธีต่าง ๆ
         ม. 5.5.5  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
         ม. 6.6.3  สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ รอบตัว  ใช้ห้องสมุด  แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆ ได้  ทั้งในและนอกสถานศึกษา

หมวดหมู่: การศึกษา การเรียนการสอน
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: อ. 21 ก.ค. 2552 @ 11:03 แก้ไข: อ. 08 ก.ย. 2552 @ 19:19

ความเห็น

1.
P
มัชยา นวสิริธนโรจน์
เมื่อ อ. 08 ก.ย. 2552 @ 20:13
#444705 [ ลบ ]

เนื้อหามีความครบถ้วน มีการสรุปที่ตรงประเด็น น่าสนใจมากๆเลยคะ นีนา

2.
P

มีเนื้อหาที่ครบถ้วนมาก และมีภาพประกอบชัดเจนดีมาก

3.
P
ปิยะนุช กุลตังวัฒนา
เมื่อ อ. 08 ก.ย. 2552 @ 20:52
#444953 [ ลบ ]

เนื้อหาครบถ้วน ละเอียด มีการบรรยายที่ดี

และ มีรูปภาพประกอบเป็นระยะ ทำใ้ห้อ่านแล้วสามารถเข้าใจได้ง่าย

4.
P
ณิชา - สิงห์เสวก
เมื่อ อ. 08 ก.ย. 2552 @ 21:00
#445049 [ ลบ ]

เนื้อหาครบถ้วน ตกแต่งสวยงามดี

5.
P
pimme
เมื่อ อ. 08 ก.ย. 2552 @ 21:25
#445340 [ ลบ ]

เนื้อหาครอบคลุม

เป็นระเบียบเรียบร้อย

ง่ายต่อการศึกษาทำความเข้าใจ :}

ชื่อ:
อีเมล:
IP แอดเดรส: 118.173.242.141
ข้อความ:  
เรียกใช้งานตัวจัดการข้อความ
 
รหัสสุ่ม: ( ใส่รหัสสุ่มที่แสดงไว้ด้านบน )
  ยกเลิก หรือ ดูตัวอย่างก่อนบันทึก หรือ

บันทึกอื่นๆ

หมายเลขบันทึก: 309958เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2009 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท