การประชุมการจัดการความรู้ของหน่วยงาน


คลังความรู้

คลังความรู้ (Knowledge Asset)

เรื่อง การบริหารโครงการ (Project Management): โครงการการพัฒนาตัวบ่งชี้

เพื่อกำกับติดตามการจัดการอุดมศึกษาตามกรอบมาตรฐานการอุดมศึกษาและ

กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๖๕)

**********************************

ประเด็นหลัก/หลักการ/เคล็ดลับ

เรื่องเล่า/ประสบการณ์

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ความรู้ความเข้าใจที่ควรมีเพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน ดังนี้

 ๑) ทฤษฎีทางการบริหาร: ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารโครงการ กลยุทธ์การบริหารงาน การติดต่อประสานงาน การบริหารความเสี่ยง เป็นต้น

 ๒) การบริหารการจัดซื้อจัดจ้างในโครงการ(Project Procurement Management) กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาคราชการ การติดตามและการควบคุมโครงการ เป็นต้น

 

การบริหารโครงการ (Project Management): โครงการการพัฒนาตัวบ่งชี้เพื่อกำกับติดตามการจัดการอุดมศึกษาตามกรอบมาตรฐานการอุดมศึกษาและกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๖๕) ประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน ดังนี้

๑. Project Initiating Process

๒. Project Planning Process

๓. Project Scheduling Process

๔. Project Monitoring & Control Process

๕. Project Evaluation & Termination Process

      ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการบริหารโครงการฯ ที่มีความเสี่ยงในการดำเนินโครงการ ซึ่งจัดทำเป็นแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒ โดยมีขั้นตอนกระบวนงาน/กิจกรรม ดังนี้

๑) ขออนุมัติโครงการและข้อกำหนดโครงการ(TOR)

๒) แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาและตรวจรับผลงานฯ

๓) ขออนุมัติทำสัญญา

๔) การเบิกจ่ายเงิน

๕) ประชุมรายงานความก้าวหน้าครั้งที่ ๑ - ๓

๖) การประชุมรับฟังความคิดเห็นรายงานผลการวิจัย

๗) การส่งรายงานผลการวิจัย

ความเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยง คือ ความล่าช้าในการดำเนินงาน ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

๑. การได้ผู้วิจัยที่เหมาะสมตามเวลาที่กำหนดใน

แผนงาน

๒. ผู้วิจัยส่งงวดงานไม่ทันตามกำหนด

๓. ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องอาจไม่ครบถ้วนสมบูรณ์

๔. การเบิกจ่ายเงินไม่เป็นไปตามแผน

ดำเนินมาตรการควบคุมความเสี่ยง ดังนี้

๑. สืบค้นข้อมูลนักวิจัย/รายนามผู้วิจัยจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินผลงานทางวิชาการจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะ

กรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ รวมทั้งแหล่งข้อมูลนักวิจัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๒. แต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ เพื่อกำกับดูแลและควบคุมการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามแผน

๓. จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ เพื่อใช้กำกับติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ และคณะผู้วิจัยให้เป็นไปตามเป้าหมาย

๔. กำหนดผู้ประสานงานโครงการทั้งในส่วนของคณะผู้วิจัยและ สกอ.(โดยเจ้าหน้าที่ของสตป.) เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลและเป็นไปด้วยความราบรื่น

 ๕. จัดให้มีการประชุมหารือระหว่างผู้ประสานทั้ง ๒ ฝ่ายเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องและให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่น

๖. จัดเตรียมข้อมูลเบื้องต้น ประสานติดตาม และสนับสนุนข้อมูลให้แก่คณะผู้วิจัยอย่างต่อเนื่อง

๗. มีหนังสือขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูลตามที่คณะผู้วิจัยต้องการ โดยคณะผู้วิจัยต้องระบุความชัดเจนของข้อมูลและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ให้ข้อมูลด้วย ทั้งนี้ การขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง

๘. จัดทำแผนผังขั้นตอนการดำเนินงานการเบิกจ่ายและการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๙. จัดทำปฏิทินการกำกับ ติดตาม และการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การ

เบิกจ่ายเงินเป็นไปตามแผน โดยมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน

๑๐. เสนอแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักอำนวยการเป็นกรรมการจ้างที่ปรึกษาและตรวจรับผลงาน

 

  

 

น.ส.จันทร์สุดา  นกน้อย

กลุ่มติดตามประเมินผลคุณภาพมาตรฐานการอุดมศึกษา 

สำนักติดตามและประเมินผลอุดมศึกษา โทร. ๐-๒๖๑๐-๕๓๗๖

หมายเลขบันทึก: 309666เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2009 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท