การจัดการความรู้ในสถานศึกษา:75


การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุดเศรษฐกิจฐานความรู้ "สัตตศิลา"

สัตตศิลา(The 7 Pillars)

     คำว่า “สัตตศิลา”   ได้ยินมาแบบแว่ว ๆ ตอนที่ท่านผู้อำนวยการวีรศักดิ์  วรรณรัตน์ นำคุยในที่ประชุมฝ่ายบริหาร ซึ่งก่อนหน้านี้ท่านนำมาให้ผศ.ดร.ชนาธิป  พรกุลและคณะที่มานิเทศการสอนของครูในเดือนกันยายน

     ก่อนท่านมานำเสนอต่อที่ประชุมครูก่อนปิดภาคเรียนที่ 1  แล้วนำมาแจกครูทุกคนตอนทำแผนปฏิบัิตการปี 2553 อีกที แล้วชี้ชวนให้คุณครูได้อ่าน

    พอเปิดภาคเรียนท่านก็เริ่มต่อ “สัตตศิลา”  โดยเฉพาะหลักที่ 7 โดยเชิญชวนกึ่งชักชวนให้คุณครูทุกคนอ่านก่อนที่จะมาแลกเปลียนเรียนรู้กับคณะของผศ.ดร.ชนาธิป  พรกุลและคณะที่จะมาเติมเต็มเรื่องหน่วยการเรียนรู้ และการทำแผนการเรียนรู้ในวันที่ 26 ตุลาคม

บอกตามตรงผมเองเพิ่งจะได้เริ่มศึกษา เผื่อมีโอกาสได้ลปรร.ในครั้งนี้

        

จากการศึกษาทำให้รู้ว่า หลัก “สัตตศิลา”เป็นโครงการวิจัยบูรณาการการเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้  ของ รศ.ดร.ไพฑูรย์  สินลารัตน์และคณะ ของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นโครงการวิจัยบูรณาการ ประจำปี 2548 และนำมาเผยแพร่ โดยหลัก สัตตศิลาจะประกอบไปด้วยหลัก 7 หลักการดังนี้ คือ

หลักที่ 1 คือ คุณลักษณะของผู้เรียนที่พึ่งประสงค์ หรือ ลักษณะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน เรียกสั้นๆว่า 4ร.

                                ร1 คือ รู้ทัน รู้นำโลก

                                ร2 คือ เรียนรู้ ชำนาญ เชี่ยญชาญปฏิบัติ

                                ร3 คือ รวมพลังสร้างสรรค์สังคม

                                ร4 คือ รักษ์วัฒนธรรมไทย ใ่ฝ่สันติ


หลักที่ 2 คือ การจัดหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นรายบุคคล โดยยึดหลัก 4F   คือ  FUN  Find  Focus  และ  Fullfillment


หลักที่ 3 CRP-Plus การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ซึ่งได้ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างเป็นระบบ โดยที่

                      C คือ รูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึก(Crystal - Based Instruction Model)

                      R คือ รูปแบบการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน( Research -  Based Instruction Model)

                      P คือ รูปแบบการเรียนการสอนเชิงคุณภาพ( Productivity - Based Instruction Model)

หลักที่ 4 คือ   3M บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง คือ บทบาทของผู้เกี่ยวข้องในการสร้างโอกาสการเรียนรู้ 3 บทบาท คือ

                      M1  : บทบาทของผู้ให้กำลังใจ ( Moral Supporter )

                      M2 : บทบาทผู้ใส่ใจกำกับ (Monitor)  

                      M3  :  บทบาทของผู้สนับสนุนส่งเสริม  (Mentor)

หลักที่ 5 คือ  NET การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ  ซึ่งเป็นทักษะการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต   โดยมีขั้นตอนการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศคือการกำหนดภารกิจ  การตรงจุดเข้าถึงแหล่ง  การประเมินสารสนเทศ   และการบูรณาการวิถีการใช้งาน โดยใช้หลัก NET คือ

                      N – Networking  คือ การสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มบุคคลและองค์กร

                      E- Edutainment  คือ การศึกษาเชิงบันเทิง เป็นการเรียนรู้ที่สามารถได้ทั้งสาระและบันเทิง สามารถจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความใฝ่รู้ได้อย่างสนุกสนาน

                      T- Tailor-Made คือ การปรับเหมาะสมตัว  เป็นการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับความแตกต่างของบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง

หลักที่ 6 คือ การบริหารจัดการแบบบูรณาการ( iEMS) เป็นชุดขององค์ประกอบสำคัญของการจัดการที่เชื่อมประสานปัจจัยรอบด้าน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ

       1.    การวาดภาพความสำเร็จ

      2.    การกำหนดโครงสร้าง

      3.   การบริหารจัดการ

     4.   การติดตามกำกับ

หลักที่ 7 การพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐาน หรือความเป็นเลิศด้วยกระบวนกาเทียบเคียง (Bench marking) โดยยึดองค์กรที่มีการปฎิบัติงานได้มาตรฐานหรือมีความเป็นเลิศ เป็นตัวอย่างหรือจุดอ้างอิง  การทำ เทียบเคียงสมรรถนะ (Bench marking)มีประเด็นที่ต้องพิจารณา 5 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 สิ่งที่จะเทียบเคียงคืออะไร

ส่วนที่ 2 องค์กร โรงเรียน  หรือ หน่วยงานใดที่ดี

ส่วนที่ 3 เรามีทิศทาง ความต้องการในการดำเนินการอย่างไร

 ส่วนที่ 4 เขามีทิศทาง ในการดำเนินการเพื่อเกิดความเป็นเลิศได้อย่างไร

ส่วนที่ 5 เราควรจะดำเนินการอย่างไรเพื่อไปสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ

ก็นับว่าเป็นผลงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อวงการศึกษา โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษารอบสอง และที่สำคัญทราบว่ากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการมัธยมศึกษา จันทบุรีและตราด จะเชิญ รศ.ดร.ไพฑูรย์  สินลารัตน์ มาชวนครูมัธยมศึกษาฟังก็เป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง

หมายเลขบันทึก: 309662เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2009 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

แวะมาเรียนรู้ด้วยคนนะคะ

สวัสดีครับพี่ณัฐรดา

สบายดีนะครับ

ดีใจมากครับพี่ ที่มาร่วมเรียนรู้ "สัตตศิลา"ดีมากเลยครับ

ขอบคุณมากครับ ที่มาให้กำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท