การกลับมาของฝนดาวตกลีโอนิดส์ วันที่ 17-18 พ.ย. 2552


ฝนดาวตก ลีโอนิดส์ ดาราศาสตร์

การกลับมาของฝนดาวตกลีโอนิดส์ วันที่ 17-18 พ.ย. 2552

 

เขียนโดย Phasit   

พฤหัสบดี, 15 ตุลาคม 2009

 การกลับมาของฝนดาวตกลีโอนิดส์

 

ภาพที่ 1 ฝนดาวตกลีโอนิดส์ (Leonid meteor shower) ในปี 2002
ณ หอดูดาว Bohyunsan ทางตอนใต้ของประเทศเกาหลี
[credit: Jérémie Vaubaillon (California Institute of Technology, CalTech)]  

                       ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ (Leonid meteor shower) หรือฝนตกกลุ่มดาวสิงโตซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า ศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตก (Radiant) นี้อยู่ที่บริเวณตำแหน่งหัวของสิงโตดังแสดงในภาพที่ 2  มีลักษณะเป็นริ้วสีขาวพาดผ่านท้องฟ้า และเกิดลูกไฟควบคู่กันไปด้วยซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ประทับใจคนทั่วโลกมาแล้ว เมื่อปี 2541

                       ฝนดาวตกลีโอนิดส์เกิดจากเศษซากหลงเหลือของดาวหาง 55พี เทมเพล-ทัตเทิล (55P Tempel-Tuttle) ซึ่งมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีโดยหนึ่งรอบใช้เวลา 33.2 ปี และทุกๆ 33 ปี ดาวหางนี้จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด  ทำให้เกิดฝนดาวตกมากเป็นพิเศษ เรียกว่า "พายุฝนดาวตก" (Meteor Storm) ซึ่งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุด เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 และจะเข้าใกล้ครั้งต่อไปในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

 

ภาพที่ 2 แสดง จุด Radiant เกิดฝนดาวตก Leonid ในกลุ่มสิงโต (Leo) จากโปรแกรม Stellarium

 

ภาพที่ 3 แสดงการโคจรของดาวหาง55พี เทมเพล-ทัตเทิล (55P Tempel-Tuttle)[ที่มา:www.space.com]

                        ในปี พ.ศ. 2552 นี้ จะเป็นช่วงที่ฝนดาวตกลีโอนิดส์ และมีผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ท่าน คาดการณ์ไว้ว่าจะมีอัตราการตกมากในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552 ดังนี้

                         Jérémie Vaubaillon(นักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือ Caltech) คาดการณ์ว่าฝนดาวตกจะตกมากที่สุด 500 ดวงต่อชั่วโมง ที่เวลา 04:43 น. ตามเวลาประเทศไทย

                        William Cooke (NASA Marshall Space Flight Center) คาดว่า ที่เวลา 04:43 น. ตามเวลาประเทศไทย น่าจะตกมากที่สุดประมาณ 300 หรืออาจจะเพียง 100 ดวงเท่านั้น

                         Maslov (Russian Dynamicist) คาดว่า จะมีปริมาณฝนดาวตกมากที่สุด 150-160 ดวงต่อชั่วโมง ที่เวลา 04:00 น. ตามเวลาประเทศไทยโดยฝนดาวตกครั้งนี้ โลกโคจรเข้าไปในกลุ่มฝุ่นของดาวหาง(เส้นสีน้ำเงิน)ที่หลงเหลือไว้ในปี  ค.ศ. 1466(พ.ศ.2009)  และ ค.ศ. 1533(พ.ศ. 2076) ดังแสดงในภาพด้านล่าง

 

ภาพที่ 4 แสดงการโคจรของโลกเข้าไปในกลุ่มฝุ่นดาวหาง 55พี เทมเพล-ทัตเทิล (55P Tempel-Tuttle)
[ที่มา: William Cooke/NASA-MSFC]

         นับเป็นความโชคดีที่จะได้ชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกในปีนี้ เนื่องจากช่วงวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2552 นั้นเป็นคืนเดือนมืด ท้องฟ้าค่อนข้างจะมืดสนิทเหมาะแก่การสังเกตฝนดาวตก แต่ทั้งนี้เหตุการณ์ฝนดาวตกช่วงที่มากนั้นค่อนข้างสั้น และเกิดก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น สำหรับผู้สังเกตในแถบประเทศเอเชียนั้นจะสังเกตเห็นได้ดี คือ ไทย จีน พม่า อินเดีย ปากีสถานฯลฯ ตั้งแต่เวลา 03:50 น. ถึงเวลาประมาณ 05:50 น. ตามเวลาประเทศไทย

 

ภาพที่ 5 บริเวณที่สามารถมองเห็นฝนดาวตกลีโอนิดส์ ปี พ.ศ. 2552 [ที่มา: http://leonid.arc.nasa.gov/]

 

 เรียบเรียงโดย : ประณิตา เสพปันคำ

สำนักบริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  

อ้างอิง

[1] http://www.skyandtelescope.com/observing/highlights/35935909.html

[2] http://science.nasa.gov/headlines/y2008/04dec_leonids2009.htm                                                                                 
[3] http://en.wikipedia.org/wiki/Leonids
[4] http://leonid.arc.nasa.gov/
[5] http://www.space.com/scienceastronomy/planetearth/comet_bronzeage_011113-1.html 

 เอามาฝากนะครับ จากเว็บไซด์ http://www.narit.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=431

คงจะได้ดูกันอีกแล้วครับปีนี้

หมายเลขบันทึก: 309326เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2009 23:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

รศ. บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และ ดร. ศิรามาศ โกมลจินดา ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย สาขาดาราศาสตร์ออพติค สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ มาให้ความรู้ทางดาราศาสตร์และบอกเล่าถึงปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ในช่วงฤดูหนาว (พฤศจิกายน - ธันวาคม) ที่น่าสนใจ อาทิ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ ฝนดาวตกเจมินิดส์ ดาวเคืองเดือน (ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุดในรอบเดือน และดาวอังคารอยู่ห่างดวงจันทร์ 3.46 องศา) เป็นต้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ http://portal.in.th/scitalk/events/341/

ขอบคุณครับ..คุณ jasmin น่าสนใจดีครับ ไม่รู้ว่าจะเต็มรึยัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท