การควบคุมโรคในเมืองใหญ่ แรงงานต่างด้าว


วันนี้ได้พบเพื่อนแพทย์ รายงานให้ทราบว่า มีปัญหาการตรวจ คัดกรอง รักษาโรคติดต่อ โดยเฉพาะปัญหาวัณโรค ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มที่ตรวจเสมหะได้ผลลบ ซึ่งบางทีเก็บตัวอย่างเสมหะ ไม่ดี   ผป.ระยะแพร่เชื้อง่าย ก็ทำให้ตรวจไม่พบเชื้อ   คิดจะรักษาก็ลำบากใจ เพราะเชื่อว่าสื่อสารลำบาก นัดติดตามทานยารักษาวัณโรค ก็ลำบาก เสี่ยงกินยาไม่ครบ ดื้อยา   ส่งปรึกษาอายุรแพทย์ ก็มักถูกแนะนำให้ติดตามดูแลเอาเอง ทางอายุรกรรมคนไข้ก็มาก

เคยอ่านบทความประสบการณ์เมืองฝรั่งที่ บ่นว่า โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข และควบคุมโรค ลดถอยลง    เมื่อเทียบกับบ้านเราแล้ว ก็มีอาการทำนองเดียวกัน  โดยเฉพาะเมืองใหญ่ยิ่งน่าห่วง  คล้ายกับมีแพทย์มาก  แต่ความเป็นจริงพบว่า ไม่ได้มี เจ้าภาพ ที่สนใจพัฒนางานควบคุมโรคติดต่อ อย่างจริงจัง  มีแต่การปัดให้หน่วยงานอื่นรับ   หน่วยงานระดับกรม บอกว่าถูกปฎิรูปบทบาทแล้ว ไม่มีบทบาทการจัดบริการ  การจัดบริการควบคุมโรคเป็นบทบาท หน่วยบริการ และ หน่วยงานสาธารณสุข ระดับจังหวัด และ อำเภอ

แต่การพัฒนาระบบบริการและการควบคุมโรคติดต่อ ต้องการความคล่องตัว ปรับตัว ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยน มากกว่า ที่ปล่อยให้ หน่วยบริการรับภาระ อย่างกรณีของ การรักษาวัณโรคในแรงงานต่างด้าว  หรือโรคติดต่ออื่นๆ ของกลุ่มแรงงานอพยพย้ายถิ่น

ผมได้แนะนำ การคัดกรองวัณโรค ในรายที่ฟิล์มเอ็กเรย์ปอด ผิดปกติ  ตรวจเสมหะ ไม่พบเชื้อวัณโรค    ด้วยการเสริม ตรวจ ทดสอบทางผิวหนัง tuberculin test

หากได้ผลมากกว่า 20 มม. ให้สงสัยว่ากำลังป่วยเกี่ยวกับวัณโรค แล้วพิจารณาให้การรักษา

การควบคุมโรคติดต่อ  ทั้งโรคระบาดเก่า ระบาดอุบัติใหม่ ในหัวเมืองใหญ่ๆ  ต้องการ  ระบบ  ที่ปรับตัวตอบสนองทันกับปัญหา  แต่ในชีวิตจริงของสังคมไทยปัจจุบัน การจัดการและ พัฒนาระบบเป็นเรื่องที่ยาก ส่วนหนึ่งน่าจะเพราะขาด ชุมชนปฎิบัติที่สนใจเรื่องนี้ 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 30918เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2006 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท