ทำไมนักเรียนเบื่อเรียนคณิต


สังคม ครู หรือผู้ปกครอง สาเหตุเด็กไม่เก่งคณิต

การกำหนดเนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการจะวัด

การกำหนด ต้องวิเคราะห์จำแนกเนื้อหาที่ต้องการจะวัดให้ครอบคลุมองค์ความรู้ของเนื้อหานั้นทั้งหมด และพยายามแตกย่อยเนื้อหาความรู้ออกให้ละเอียดมากที่สุดเท่าที่จะมากได้

พฤติกรรมที่ต้องการวัด จะประกอบด้วย รู้จำ เข้าใจ นำไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า จากเนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการวัด การกำหนดควรทำเป็นตารางวิเคราะห์เนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการวัด แจกแจงสองทาง ระหว่างเนื้อหาความรู้ กับพฤติกรรมที่ต้องการ ดังนี้

การกำหนดเนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการวัด

 
               

ตารางที่ 1 องค์ประกอบเนื้อหาและพฤติกรรม รายวิชาคณิต ค31101

พฤติกรรมที่ต้องการวัด

รู้จำ

เข้าใจ

นำไปใช้

วิเคราะห์

สังเคราะห์

ประเมินค่า

รวม

1.ปริมาตรและพื้นที่ผิว

 

 

 

 

 

 

30

2.ความคล้าย

 

 

 

 

 

 

10

3.กราฟ

 

 

 

 

 

 

10

4.ระบบสมการเชิงเส้น

 

 

 

 

 

 

20

5.สถิติ

 

 

 

 

 

 

20

6.ความน่าจะเป็น

 

 

 

 

 

 

10

 

10

15

20

30

15

10

100

จากตารางที่ 1 เป็นตารางสองทาง ตามแนวนอน(row) ให้กำหนดปริมาณพฤติกรรมที่ต้องการวัด โดยพิจารณาจาก ความเป็นจริง หรือต้องกาวัดพฤติกรรมในระดับใดที่อยากให้เกิดจากตัวนักเรียน จากพฤติกรรมทั้งหมด 100 จึงกำหนให้มี ปริมาณเป็น  10  15  20  30  15  และ 10 ตมลำดับ

                ส่วนแนวตั้ง(Column) ใช้กำหนดปริมาณเนื้อหาที่ต้องการวัดพิจารณาจากปริมาณ และความสำคัญของเนื้อหาจะพบว่า ปริมาตรและพื้นที่ผิว จะมีปริมาณและสำคัญมากกว่าอีก 5 เรื่อง จาก เนื้อหา 100 จึงกำหนดให้มีปริมาณเป็น 30  10  10  20  20  และ 10 ตามลับ

 

 

 

 

ตารางที่ 2  วิเคราะห์ปริมาณของเนื้อหาและพฤติกรรมย่อย

พฤติกรรมที่ต้องการวัด

รู้จำ

เข้าใจ

นำไปใช้

วิเคราะห์

สังเคราะห์

ประเมินค่า

รวม

1.ปริมาตรและพื้นที่ผิว

3

4.5

6

9

4.5

3

30

2.ความคล้าย

1

1.5

2

3

1.5

1

10

3.กราฟ

1

1.5

2

3

1.5

1

10

4.ระบบสมการเชิงเส้น

2

3

4

6

3

2

20

5.สถิติ

2

3

4

6

3

2

20

6.ความน่าจะเป็น

1

1.5

2

3

1.5

1

10

 

10

15

20

30

15

10

100

จากตารางที่ 2 เมื่อได้ปริมาณเนื้อหาและพฤติกรรมรวมตามแนวตั้งกับแนวนอนแล้ว จะสามารถหาปริมาณของเนื้อหาและพฤติกรรมย่อยๆ ในแต่ละช่องได้ ด้วยการเทียบผลคูณตามแนวนอนและแนวตั้งกับ 100 เพื่อสะดวกให้ใช้สูตรดังนี้

                       

                เมื่อ        E   =  จำนวนที่ต้องการหา คือช่องย่อย

                        R  =  ผลรวมตามแนวนอน

                        C  =  ผลรวมตามแนวตั้ง

                        N  =  ยอดรวมหรือผลรวมทั้งหมด

เช่น ต้องการทราบตัวเลขของเนื้อหาความรู้เรื่อง ปริมาตรและพื้นที่ผิว ในช่องพฤติกรรม รู้จำ ผลรวมตามแนวนอน (R) จะเท่ากับ 30 และหาผลรวมตามแนวตั้ง(C ) เท่ากับ 10 และยอดรวม (N ) เท่ากับ 100 แทนค่าในสูตรจะได้

                                                                         

ทำนองเดียวกัน ตัวเลขในช่องย่อยอื่นๆ ก็คำนวณได้ เพื่อความเข้าใจ ลองเทียบอีกหนึ่งตัวอย่าง ตัวเลขของเนื้อหาความรู้เรื่อง กราฟ ในช่องพฤติกรรม วิเคราะห์ ผลรวมตามแนวนอน (R) จะเท่ากับ 20 และหาผลรวมตามแนวตั้ง (C) เท่ากับ 30 และยอดรวม (N ) เท่ากับ 100 แทนค่าในสูตรจะได้

                                               

 

ในทางปฏิบัติ ต้องสร้างข้อสอบวัดความรู้ ในวิชาคณิตศาสตร์ (ค31101) ในเนื้อหา 6 เรื่อง และพฤติกรรม 6 ด้าน จำนวนถึง 100 ข้อ ทำให้อาจเป็นปัญหา ต่อการสร้างข้อสอบ ซึ่งต้องใช้เวลา การปฏิบัติจึงต้องลดจำนวนข้อสอบให้น้อยลง จะลดเหลือเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่า แบบวัดความรู้ที่สร้างขึ้น จะนำไปใช้กับใคร รูปแบบคำถามจะใช้ชนิดใด ถ้าใช้แบบถูก ผิด ต้องมีจำนวนมากหน่อยแต่วัดความรู้จริงไม่ค่อยได้ เพราะจะเดาเสียเป็นส่วนมาก ถ้าเป็นแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก

4 ตัวเลือก หรือ 5 ตัวเลือก จำนวนคำถามก็ต้องมากน้อยต่างกัน  เมื่อตัด สินใจ จะถามความรู้เพียง 20 ข้อ การกำหนดเนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการวัด จึงต้องเปลี่ยนใหม่ โดยอาศัยตารางเดิมจาก 100 ข้อ เปลี่ยนเป็น 20 ข้อ แสดงว่า ลดจำนวนลง 5 เท่า ฉะนั้น ในและช่องย่อย จึงหารด้วย 5 จะได้ ตัวเลขดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3  วิเคราะห์ปริมาณของเนื้อหาและพฤติกรรมย่อย เมื่อกำหนดลดสัดส่วนจำนวนข้อ

พฤติกรรมที่ต้องการวัด

รู้จำ

เข้าใจ

นำไปใช้

วิเคราะห์

สังเคราะห์

ประเมินค่า

รวม

1.ปริมาตรและพื้นที่ผิว

0.6

0.9

1.2

1.8

0.9

0.6

6

2.ความคล้าย

0.2

0.3

0.4

0.6

0.3

0.2

2

3.กราฟ

0.2

0.3

0.4

0.6

0.3

0.2

2

4.ระบบสมการเชิงเส้น

0.4

0.6

0.8

1.2

0.6

0.4

4

5.สถิติ

0.4

0.6

0.8

1.2

0.6

0.4

4

6.ความน่าจะเป็น

0.2

0.3

0.4

0.6

0.3

0.2

2

 

2

3

4

6

3

2

20

               

เมื่อลดจำนวนลง จะได้ตัวเลขเป็นทศนิยม จึงต้องปรับให้เป็นตัวเลขลงตัว โดยเริ่มจากตัวเลขมากสุดก่อน นั่นคือตามแนวนอนที่ 1 กับที่ 4 และที่ 5 รวมต้องสร้างข้อสอบอย่างน้อย 6 ข้อ จึงต้องปรับพฤติกรรมรู้จำ 1 เข้าใจ 1 นำไปใช้ 1 วิเคราะห์ 2 สังเคราะห์  1 และประเมินค่า 1 ข้อ

                ส่วนตามแนวนอนอีก 4 แถวต้องดู ว่าเลือกปรับช่องย่อยใด เพราะตัวรวมแนวนอนและแนวตั้งเป็นตัวบังคับอยู่

 ผลการปรับจะได้ตามตารางที่ 4

ตารางที่ 4  การปรับตัวเลขทศนิยมให้ลงตัว ตามความต้องการ

พฤติกรรมที่ต้องการวัด

รู้จำ

เข้าใจ

นำไปใช้

วิเคราะห์

สังเคราะห์

ประเมินค่า

รวม

1.ปริมาตรและพื้นที่ผิว

1

1

1

2

1

1

6

2.ความคล้าย

0

0

0

1

0

0

2

3.กราฟ

0

0

0

1

0

0

2

4.ระบบสมการเชิงเส้น

0

1

1

1

1

0

4

5.สถิติ

0

1

1

1

1

0

4

6.ความน่าจะเป็น

1

0

1

0

0

0

2

 

2

3

4

6

3

2

20

หมายเลขบันทึก: 309163เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2009 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สาเหตุหนึ่งที่นักเรียนเบื่อเรียนคณิต คือ ครูผู้สอนหน้าตาโหด และโบราณมาก

ต้องสอนวิชานี้ให้สนุกสนาน และเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตจริงครับ เพราะผมเคยเรียนแบบนี้มา

ทำให้รู้สึกว่าวิชานี้น่าสนใจ ง่าย ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท