หมอจิ๋ว
นาย ธวัชชัย หมอจิ๋ว แสงจันทร์

28-10-2552 คืนสุนทรียให้สุขภาพ


นำเสนอโดย อ.นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์

อ.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ได้มาบรรยายในประเด็น "คืนสุนทรียให้สุขภาพ" เวลา 13.40 น. -16.00 น.

อ่านรายละเอียดที่ เภสัชทุง ได้สรุป ขมวดประเด็นไว้ ชัดเจนครับ

ข้อคิดจากหมอโกมาตร - คืนสุนทรียภาพให้สุขภาพ

 

  ได้ฟังการบรรยาย เรื่อง คืนสุนทรียภาพให้สุขภาพ ของ นพ.โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์  ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สวสส. ในการประชุมวิชาการ "Show & Share ผลงานเด่นและนวัตกรรมสุขภาพจังหวัดนครพนม" เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา  จึงนำมาเผยแพร่ครับ  ซึ่งผมได้เรียบเรียงโดยผสมผสานกับบทความในวารสารหมออนามัย เดือน กค.- สค.52 ในบทความเรื่อง "มาคืนหัวใจให้ระบบสุขภาพกันเถอะ" ของ ชัยณรงค์  สังข์จ่าง  เพื่อเติมเต็มบางส่วนที่ผมเก็บข้อมูลจากการฟังคุณหมอโกมาตรไม่ทัน  โดยสาระสำคัญของข้อคิดจากหมอโกมาตร : การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ มีดังนี้ ครับ

ภาวะบกพร่องทางจิตวิญญาณของระบบสุขภาพ

         เป็นสิ่งที่พบเห็นจากระบบบริการสุขภาพปัจจุบัน มีบางสิ่งที่ขาดหายไปจากอดีต  เป็นการบริการที่ขาดความรู้สึกผูกพันกันอย่างจริงใจ บริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์  เพราะการวัดผลสัมฤทธิ์ปัจจุบัน มุ่งเน้นการวัดเชิงปริมาณ มีตัวชี้วัดมากมาย  บุคลากรสาธารณสุขต้องใช้เวลาประจำวันไปกับการทำงานตอบสนองและรายงานตัวชี้วัด เพื่อให้ได้ผลงานรับเงินรางวัล เงินค่าตอบแทนตามที่ระบบกำหนด  เกิดปัญหาสัมพันธภาพของทุกฝ่าย ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ หรือ ผู้ให้บริการด้วยกัน  ส่งผลให้เกิดความเบื่อหน่าย   ท้อแท้ ชินชา สิ้นหวัง ขาดความกระตือรือร้น สร้างสรรค์งานใหม่ๆ  จะเห็นหลายหน่วยงานมีบุคลากรประเภท “ตอไม้ที่ตายแล้ว”  เปรียบเหมือนการทำงานโดยไม่รู้ทิศทาง เป้าหมาย  คิดว่า เราคือช่างก่ออิฐ  ไม่ใช่กำลังสร้างวัด สร้างบ้านที่ยิ่งใหญ่กว่าการก่ออิฐ  ดังนั้น องค์กรที่มีบุคลากรเหล่านี้ ก็จะเป็นองค์กรที่ไม่มีชีวิต  สังเกตได้ว่า องค์กรเหล่านี้มักไม่มีการสร้างสรรค์นวัตกรรม หรือ ผลงานใหม่ๆ ออกมา    ระบบวัดผลแบบตัวชี้วัดปัจจุบัน ใช่ว่าจะไม่ดี แต่ว่ามันไม่พอที่จะแก้ไขภาวะบกพร่องทางจิตวิญญาณของระบบสุขภาพ

ทฤษฎีลิง กับ การเปลี่ยนแปลงระบบ

                มีหลายคนที่ท้อแท้ คิดว่า เราเปลี่ยนระบบ เปลี่ยนแนวทางขององค์กรไม่ได้ แต่เคยมีคนทำวิจัยการเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ลิงมาทดลอง เรียกว่า Monkey Theory หรือ ทฤษฎีลิง โดยนำลิง 5 ตัวไปอยู่ในกรง ที่ตรงกลาง  มีบันไดตั้งไว้ และมีกล้วยแขวนไว้ที่เพดาน  เมื่อมีลิงตัวใดตัวหนึ่ง พยายามจะปีนบันได ไปกินกล้วย ผู้ควบคุมจะทำการลงโทษลิงทั้ง 5 ตัว ด้วยการฉีดน้ำไปที่ลิง ทำซ้ำๆ กันจนลิงทั้ง 5 ตัวเกิดพฤติกรรม " รุมกัด " ลิงตัวที่จะพยายามไปปีนกินกล้วย ก่อนจะโดนลงโทษฉีดน้ำ จากนั้นนำลิงตัวใหม่มาแทนลิงชุดเก่า 5 ตัว ทีละตัว เมื่อลิงตัวใหม่ ตัวใดตัวหนึ่ง พยายามจะปีนกินกล้วย ก็จะถูกลิง 5 ตัวเก่า รุมกัด จนเป็นนิสัย แม้ว่าจะไม่มีการลงโทษด้วยการฉีดน้ำ  และเมื่อนำลิงเก่าออกไปทั้งหมดจนเหลือแต่ลิงตัวใหม่ทั้งหมด  ก็ปรากฏว่า ยังพบพฤติกรรมลิงในกรงรุมกัด ลิงตัวใดตัวหนึ่งที่ปีนกินกล้วย ทั้งๆ ที่ลิงอยู่ในกรงปัจจุบัน ไม่มีลิงตัวใดที่เคยถูกทำโทษด้วยการฉีดน้ำ  จะเห็นว่า วัฒนธรรมองค์กรที่เคยปฏิบัติต่อๆ กันมา ใช่ว่าจะถูกต้องหรือเหมาะสมกับภาวะปัจจุบันเสมอไป และบุคลากรในองค์กรสามารถที่จะช่วยกันเปลี่ยนแปลงระบบนี้ได้

รากเหง้าของโรคภาวะบกพร่องทางจิตวิญญาณของระบบสุขภาพ

1.             วิธีคิดแบบชีวกลไกทางการแพทย์ (Bio-mechanistic medical paradigm) มุ่งเน้นการคิดแบบแยกส่วน ดูว่า สาเหตุของปัญหาเกิดจากส่วนใด ก็ไปแก้ส่วนนั้น ขาดการมองแบบองค์รวม เหมือนการมองดอกไม้ ก็มุ่งมองไปที่ส่วนประกอบของดอกไม้ คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย ไม่มองไปที่ความงาม ซึ่งเป็นคุณค่าองค์รวมของดอกไม้  วิธีคิดแบบชีวกลไกทางการแพทย์ จึงเกิดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมากมาย เพื่อมุ่งไปแก้ไขปัญหาที่ส่วนย่อย

2.             ระบบการแพทย์แบบแยกส่วน ที่มุ่งเน้นไปที่อวัยวะ  โดยวินิจฉัยความเจ็บป่วยว่ามาจากอวัยวะใด และมุ่งรักษาอวัยวะนั้น จึงเกิดการมุ่งรักษาโรค ไม่ใช่รักษาคน  หากหาสาเหตุความเจ็บป่วยจากอวัยวะไม่ได้ ก็จะเกิดความเครียด และไม่เข้าใจคนไข้

3.             เน้นที่ตรรกะมากกว่าเหตุผล  การรักษาโรคจะไม่ไปยุ่งกับอารมณ์หรือความรู้สึกของชาวบ้าน เวลาชาวบ้านระบายความวิตกกังวล หมอไม่อยากฟัง จะมุ่งฟังเฉพาะอาการที่บอกถึงความผิดปกติของอวัยวะเท่านั้น  อย่างเวลาคนไข้มาด้วยอาการปวดหัว เราก็จะซักถามเฉพาะลักษณะอาการปวดหัวว่าเป็นแบบใด  ปวดแปล๊บๆ ตึ๊บๆ หรือ ตื้อๆ  มากกว่าจะฟังเรื่องที่คนไข้เล่าปัญหาชีวิตของเขา จึงมักตัดบทการสนทนาและให้คนไข้รีบไปรับยา

4.             การขาดหายไปของมิติทางวัฒนธรรมหรือมิติทางจิตใจ  การทำงานกับชุมชน มักไม่สนใจวัฒนธรรมท้องถิ่น ความศรัทธา ความเชื่อของชาวบ้าน  เรามักใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นด้านตรรกะไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชาวบ้าน  อย่างเรื่องการควบคุมไข้เลือดออก ก็มีเรื่องตลกเล่าว่า เรารู้พฤติกรรมของยุงมากกว่าพฤติกรรมของคนซะอีก

การเรียนรู้มิติความเป็นมนุษย์

                หากต้องการสลัดวิธีคิดที่เป็นอุปสรรคต่อการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามที่กล่าวมา ควรที่ทำความเข้าใจมิติความเป็นมนุษย์จาก 4 เรื่องนี้ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย

-                   การเกิด   เวลาเราทำคลอดคนไข้  เรามักติดกับดักความคิดแบบแยกส่วน  มองการคลอดเฉพาะการนำเด็กออกจากท้องแม่  ถ้าออกปกติ ก็เรียกว่า normal labour  ทั้งที่การคลอดลูกแต่ละครั้งถือเป็น  เรื่องมหัศจรรย์ เป็นความฝันอันยิ่งใหญ่ของคนเป็นแม่  บางทีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเขาจากเรื่องมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นกับชีวิตของคนเป็นพ่อแม่ อาจทำได้ง่ายกว่าภาวะปกติ  บางคนสามารถเลิกดื่มเหล้า เลิกสูบบุหรี่ เลิกขับรถเร็ว เพราะมีลูกนั่นเอง

-                   การแก่   นิยามหลายๆ แหล่งได้ให้ความหมายของความแก่ในเชิงลบ  เป็นความถดถอย เสื่อมสภาพ แต่หากเราเปลี่ยนมุมมองความแก่เป็นเชิงบวก คือ การสะท้อนภูมิปัญญาและแสวงหาคุณค่าทางจิตวิญญาณ ซึ่งมักมองไม่เห็นหรือไม่ได้ทำในวัยหนุ่มสาว  และเตรียมพร้อมรับเข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิต อันจะเป็นการลดภาระที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลลงได้  ซึ่งคนแก่จะมีความฝันหลากหลายและอยากทำมากกว่าการรำกระบี่กระบองก็ได้

-                   การเจ็บ  งานที่เราทำมักเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย  แต่เรามักถนัดเฉพาะรักษาโรค  ทั้งที่โรคเป็นส่วนเล็กๆ ส่วนเดียวของมิติทางสังคม  หากเราวิเคราะห์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของโรคให้กว้างขวางออกไป  เราจะเห็นโอกาสในการทำงานใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงโรคไปสู่ความเป็นมนุษย์ ทำให้คนไข้มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บและเผชิญชีวิตได้  ซึ่งเป็นรางวัลหรือค่าตอบแทนที่ล้ำค่าสำหรับคนทำงานสุขภาพ

-                   การตาย   เรามักมองการตายเป็นปรปักษ์กับงาน  แต่การทำความเข้าใจการตายนั้น สำคัญยิ่ง  กระบวนการที่ควรคิด คือ กระบวนการทบทวนชีวิต (Life preview)  คือ การคิดทบทวนและบอกเล่าเรื่องราวชีวิตที่ผ่านมาว่า มีอะไรตกหล่นหายไประหว่างทาง หรือ มีสิ่งภูมิใจที่จะเติมเต็มความต้องการทางจิตใจในบั้นปลายของชีวิตได้

จะเห็นว่า การเรียนรู้มิติความเป็นมนุษย์จากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย จะเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายจากวิธีคิดแบบชีวกลไกทางการแพทย์ ซึ่งไม่ใช่วิธีคิดที่ผิด แต่ว่ามันไม่พอสำหรับการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

องค์กรสุขภาพที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์

                รูปแบบการจัดองค์กรปัจจุบันที่เน้นการทำงานแบบเครื่องจักร มองบุคลากรเป็นเฟืองตัวเล็กๆ ไม่เพียงพอสำหรับการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์  ที่ต้องมองความละเอียดอ่อนในความเป็นมนุษย์   เครื่องมือที่นำใช้ปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีหัวใจความเป็นมนุษย์  มีดังนี้

1.             เรื่องเล่า (narrative)  เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเรียนรู้ความละเอียดอ่อนจากประสบการณ์และการปฏิบัติ  ช่วยสร้างแรงบันดาลใจและบ่มเพาะคุณธรรมของคนทำงานได้อย่างดี  แต่ระบบงานของเราในปัจจุบัน มุ่งให้เจ้าหน้าที่ไปไล่ล่าตัวชี้วัดเพื่อมารายงานความสำเร็จอย่างเดียว  ไม่มีผู้บริหารมาสนใจฟังเราเล่าเรื่อง  มักถามแต่ว่า งานเข้าเป้าหรือยัง  คือ มีแต่ตัวเลข  ไม่มีเรื่องราว ทั้งที่ชีวิตเราไม่ได้มีเป้าหมายเฉพาะตัวเลข แต่ต้องมีความภูมิใจจากการเล่าเรื่องด้วย

2.             การฟังแบบลึกซึ้ง (deep listening)  บ่อยครั้งที่เรามักฟังคนอื่นเพื่อมุ่งตอกย้ำความคิด ความเชื่อเดิมๆ ของตนเอง  มากกว่า การฟังเพื่อแสวงหาความคิด ความเข้าใจใหม่ๆ   การฟังแบบลึกซึ้ง จึงเป็นการฟังที่เต็มไปด้วยความอยากค้นหา แลกเปลี่ยนไปสู่ความรู้ ความคิดใหม่ๆ ยอมรับและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น  ซึ่งจะเปลี่ยนกรอบแนวคิดในการทำงานได้

3.             การแสวงหาความดีความงาม (appreciate inquiry)  ในการทำงาน เรามักจะเริ่มจากการจับผิดชาวบ้าน โดยมุ่งหาปัญหาที่เกิดในชุมชน  เรียงลำดับความสำคัญของปัญหา และจัดทำโครงการแก้ไขปัญหา  แต่หากเปลี่ยนเป็นการค้นหาความดีงามในชุมชน  หรือ คนทำงาน ก็จะทำให้องค์กรมีความสมานฉันท์ ลดความขัดแย้ง  เห็นคุณค่าของชีวิตจากการชื่นชมซึ่งกันและกัน

4.             การส่งเสริมการทำงานเชิงรุกกับคนทุกข์คนยาก (proactive with disadvantage person)  การทำงานกับคนทุกข์คนยาก  เป็นโอกาสที่เราจะได้เรียนรู้และสัมผัสความเป็นมนุษย์ที่เร็วมาก  คุณค่าของงานจะปรากฎชัดเจนที่สุดเมื่อทำกับคนทุกข์คนยาก

5.             ส่งเสริมแรงจูงใจที่ไม่ใช่เงิน   ปัจจุบันมีแต่การทำงานแลกเงิน  งานที่ไม่ใช่ตัวชี้วัดสำคัญ ไม่ได้เงินไม่มีใครสนใจจะทำ แนวคิดแบบทุนนิยม จะบั่นทอนการทำงานเชิงคุณค่าไปหมด  องค์กรจึงต้องตอกย้ำบุคลากรเสมอว่า  อุดมคติในการทำงานของเราอยู่ตรงไหน ?  การงานของเรามีไว้เพื่อหาเงินอย่างเดียวหรือหาความภูมิใจให้กับชีวิตนี้  ต้องหมั่นนำคนที่ทำงานดีเชิงคุณค่ามาชื่นชม ไม่ใช่รอตอนเขาเกษียณ 

หากเรามีการบริการประชาชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์แล้ว  จะเป็นการตอกย้ำแนวคิดที่ว่า “การรักษาความเป็นมนุษย์นั้น ไม่ควรเป็นเพียงการรักษาชีวิตให้อยู่ยืนยาวเท่านั้น หากแต่ต้องรักษาคุณค่าของมนุษย์ไว้ให้สมบูรณ์”

 

  ได้ฟังการบรรยาย เรื่อง คืนสุนทรียภาพให้สุขภาพ ของ นพ.โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์  ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สวสส. ในการประชุมวิชาการ "Show & Share ผลงานเด่นและนวัตกรรมสุขภาพจังหวัดนครพนม" เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา  จึงนำมาเผยแพร่ครับ  ซึ่งผมได้เรียบเรียงโดยผสมผสานกับบทความในวารสารหมออนามัย เดือน กค.- สค.52 ในบทความเรื่อง "มาคืนหัวใจให้ระบบสุขภาพกันเถอะ" ของ ชัยณรงค์  สังข์จ่าง  เพื่อเติมเต็มบางส่วนที่ผมเก็บข้อมูลจากการฟังคุณหมอโกมาตรไม่ทัน  โดยสาระสำคัญของข้อคิดจากหมอโกมาตร : การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ มีดังนี้ ครับ

ภาวะบกพร่องทางจิตวิญญาณของระบบสุขภาพ

         เป็นสิ่งที่พบเห็นจากระบบบริการสุขภาพปัจจุบัน มีบางสิ่งที่ขาดหายไปจากอดีต  เป็นการบริการที่ขาดความรู้สึกผูกพันกันอย่างจริงใจ บริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์  เพราะการวัดผลสัมฤทธิ์ปัจจุบัน มุ่งเน้นการวัดเชิงปริมาณ มีตัวชี้วัดมากมาย  บุคลากรสาธารณสุขต้องใช้เวลาประจำวันไปกับการทำงานตอบสนองและรายงานตัวชี้วัด เพื่อให้ได้ผลงานรับเงินรางวัล เงินค่าตอบแทนตามที่ระบบกำหนด  เกิดปัญหาสัมพันธภาพของทุกฝ่าย ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ หรือ ผู้ให้บริการด้วยกัน  ส่งผลให้เกิดความเบื่อหน่าย   ท้อแท้ ชินชา สิ้นหวัง ขาดความกระตือรือร้น สร้างสรรค์งานใหม่ๆ  จะเห็นหลายหน่วยงานมีบุคลากรประเภท “ตอไม้ที่ตายแล้ว”  เปรียบเหมือนการทำงานโดยไม่รู้ทิศทาง เป้าหมาย  คิดว่า เราคือช่างก่ออิฐ  ไม่ใช่กำลังสร้างวัด สร้างบ้านที่ยิ่งใหญ่กว่าการก่ออิฐ  ดังนั้น องค์กรที่มีบุคลากรเหล่านี้ ก็จะเป็นองค์กรที่ไม่มีชีวิต  สังเกตได้ว่า องค์กรเหล่านี้มักไม่มีการสร้างสรรค์นวัตกรรม หรือ ผลงานใหม่ๆ ออกมา    ระบบวัดผลแบบตัวชี้วัดปัจจุบัน ใช่ว่าจะไม่ดี แต่ว่ามันไม่พอที่จะแก้ไขภาวะบกพร่องทางจิตวิญญาณของระบบสุขภาพ

ทฤษฎีลิง กับ การเปลี่ยนแปลงระบบ

                มีหลายคนที่ท้อแท้ คิดว่า เราเปลี่ยนระบบ เปลี่ยนแนวทางขององค์กรไม่ได้ แต่เคยมีคนทำวิจัยการเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ลิงมาทดลอง เรียกว่า Monkey Theory หรือ ทฤษฎีลิง โดยนำลิง 5 ตัวไปอยู่ในกรง ที่ตรงกลาง  มีบันไดตั้งไว้ และมีกล้วยแขวนไว้ที่เพดาน  เมื่อมีลิงตัวใดตัวหนึ่ง พยายามจะปีนบันได ไปกินกล้วย ผู้ควบคุมจะทำการลงโทษลิงทั้ง 5 ตัว ด้วยการฉีดน้ำไปที่ลิง ทำซ้ำๆ กันจนลิงทั้ง 5 ตัวเกิดพฤติกรรม " รุมกัด " ลิงตัวที่จะพยายามไปปีนกินกล้วย ก่อนจะโดนลงโทษฉีดน้ำ จากนั้นนำลิงตัวใหม่มาแทนลิงชุดเก่า 5 ตัว ทีละตัว เมื่อลิงตัวใหม่ ตัวใดตัวหนึ่ง พยายามจะปีนกินกล้วย ก็จะถูกลิง 5 ตัวเก่า รุมกัด จนเป็นนิสัย แม้ว่าจะไม่มีการลงโทษด้วยการฉีดน้ำ  และเมื่อนำลิงเก่าออกไปทั้งหมดจนเหลือแต่ลิงตัวใหม่ทั้งหมด  ก็ปรากฏว่า ยังพบพฤติกรรมลิงในกรงรุมกัด ลิงตัวใดตัวหนึ่งที่ปีนกินกล้วย ทั้งๆ ที่ลิงอยู่ในกรงปัจจุบัน ไม่มีลิงตัวใดที่เคยถูกทำโทษด้วยการฉีดน้ำ  จะเห็นว่า วัฒนธรรมองค์กรที่เคยปฏิบัติต่อๆ กันมา ใช่ว่าจะถูกต้องหรือเหมาะสมกับภาวะปัจจุบันเสมอไป และบุคลากรในองค์กรสามารถที่จะช่วยกันเปลี่ยนแปลงระบบนี้ได้

รากเหง้าของโรคภาวะบกพร่องทางจิตวิญญาณของระบบสุขภาพ

1.             วิธีคิดแบบชีวกลไกทางการแพทย์ (Bio-mechanistic medical paradigm) มุ่งเน้นการคิดแบบแยกส่วน ดูว่า สาเหตุของปัญหาเกิดจากส่วนใด ก็ไปแก้ส่วนนั้น ขาดการมองแบบองค์รวม เหมือนการมองดอกไม้ ก็มุ่งมองไปที่ส่วนประกอบของดอกไม้ คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย ไม่มองไปที่ความงาม ซึ่งเป็นคุณค่าองค์รวมของดอกไม้  วิธีคิดแบบชีวกลไกทางการแพทย์ จึงเกิดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมากมาย เพื่อมุ่งไปแก้ไขปัญหาที่ส่วนย่อย

2.             ระบบการแพทย์แบบแยกส่วน ที่มุ่งเน้นไปที่อวัยวะ  โดยวินิจฉัยความเจ็บป่วยว่ามาจากอวัยวะใด และมุ่งรักษาอวัยวะนั้น จึงเกิดการมุ่งรักษาโรค ไม่ใช่รักษาคน  หากหาสาเหตุความเจ็บป่วยจากอวัยวะไม่ได้ ก็จะเกิดความเครียด และไม่เข้าใจคนไข้

3.             เน้นที่ตรรกะมากกว่าเหตุผล  การรักษาโรคจะไม่ไปยุ่งกับอารมณ์หรือความรู้สึกของชาวบ้าน เวลาชาวบ้านระบายความวิตกกังวล หมอไม่อยากฟัง จะมุ่งฟังเฉพาะอาการที่บอกถึงความผิดปกติของอวัยวะเท่านั้น  อย่างเวลาคนไข้มาด้วยอาการปวดหัว เราก็จะซักถามเฉพาะลักษณะอาการปวดหัวว่าเป็นแบบใด  ปวดแปล๊บๆ ตึ๊บๆ หรือ ตื้อๆ  มากกว่าจะฟังเรื่องที่คนไข้เล่าปัญหาชีวิตของเขา จึงมักตัดบทการสนทนาและให้คนไข้รีบไปรับยา

4.             การขาดหายไปของมิติทางวัฒนธรรมหรือมิติทางจิตใจ  การทำงานกับชุมชน มักไม่สนใจวัฒนธรรมท้องถิ่น ความศรัทธา ความเชื่อของชาวบ้าน  เรามักใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นด้านตรรกะไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชาวบ้าน  อย่างเรื่องการควบคุมไข้เลือดออก ก็มีเรื่องตลกเล่าว่า เรารู้พฤติกรรมของยุงมากกว่าพฤติกรรมของคนซะอีก

การเรียนรู้มิติความเป็นมนุษย์

                หากต้องการสลัดวิธีคิดที่เป็นอุปสรรคต่อการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามที่กล่าวมา ควรที่ทำความเข้าใจมิติความเป็นมนุษย์จาก 4 เรื่องนี้ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย

-                   การเกิด   เวลาเราทำคลอดคนไข้  เรามักติดกับดักความคิดแบบแยกส่วน  มองการคลอดเฉพาะการนำเด็กออกจากท้องแม่  ถ้าออกปกติ ก็เรียกว่า normal labour  ทั้งที่การคลอดลูกแต่ละครั้งถือเป็น  เรื่องมหัศจรรย์ เป็นความฝันอันยิ่งใหญ่ของคนเป็นแม่  บางทีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเขาจากเรื่องมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นกับชีวิตของคนเป็นพ่อแม่ อาจทำได้ง่ายกว่าภาวะปกติ  บางคนสามารถเลิกดื่มเหล้า เลิกสูบบุหรี่ เลิกขับรถเร็ว เพราะมีลูกนั่นเอง

-                   การแก่   นิยามหลายๆ แหล่งได้ให้ความหมายของความแก่ในเชิงลบ  เป็นความถดถอย เสื่อมสภาพ แต่หากเราเปลี่ยนมุมมองความแก่เป็นเชิงบวก คือ การสะท้อนภูมิปัญญาและแสวงหาคุณค่าทางจิตวิญญาณ ซึ่งมักมองไม่เห็นหรือไม่ได้ทำในวัยหนุ่มสาว  และเตรียมพร้อมรับเข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิต อันจะเป็นการลดภาระที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลลงได้  ซึ่งคนแก่จะมีความฝันหลากหลายและอยากทำมากกว่าการรำกระบี่กระบองก็ได้

-                   การเจ็บ  งานที่เราทำมักเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย  แต่เรามักถนัดเฉพาะรักษาโรค  ทั้งที่โรคเป็นส่วนเล็กๆ ส่วนเดียวของมิติทางสังคม  หากเราวิเคราะห์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของโรคให้กว้างขวางออกไป  เราจะเห็นโอกาสในการทำงานใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงโรคไปสู่ความเป็นมนุษย์ ทำให้คนไข้มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บและเผชิญชีวิตได้  ซึ่งเป็นรางวัลหรือค่าตอบแทนที่ล้ำค่าสำหรับคนทำงานสุขภาพ

-                   การตาย   เรามักมองการตายเป็นปรปักษ์กับงาน  แต่การทำความเข้าใจการตายนั้น สำคัญยิ่ง  กระบวนการที่ควรคิด คือ กระบวนการทบทวนชีวิต (Life preview)  คือ การคิดทบทวนและบอกเล่าเรื่องราวชีวิตที่ผ่านมาว่า มีอะไรตกหล่นหายไประหว่างทาง หรือ มีสิ่งภูมิใจที่จะเติมเต็มความต้องการทางจิตใจในบั้นปลายของชีวิตได้

จะเห็นว่า การเรียนรู้มิติความเป็นมนุษย์จากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย จะเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายจากวิธีคิดแบบชีวกลไกทางการแพทย์ ซึ่งไม่ใช่วิธีคิดที่ผิด แต่ว่ามันไม่พอสำหรับการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

องค์กรสุขภาพที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์

                รูปแบบการจัดองค์กรปัจจุบันที่เน้นการทำงานแบบเครื่องจักร มองบุคลากรเป็นเฟืองตัวเล็กๆ ไม่เพียงพอสำหรับการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์  ที่ต้องมองความละเอียดอ่อนในความเป็นมนุษย์   เครื่องมือที่นำใช้ปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีหัวใจความเป็นมนุษย์  มีดังนี้

1.             เรื่องเล่า (narrative)  เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเรียนรู้ความละเอียดอ่อนจากประสบการณ์และการปฏิบัติ  ช่วยสร้างแรงบันดาลใจและบ่มเพาะคุณธรรมของคนทำงานได้อย่างดี  แต่ระบบงานของเราในปัจจุบัน มุ่งให้เจ้าหน้าที่ไปไล่ล่าตัวชี้วัดเพื่อมารายงานความสำเร็จอย่างเดียว  ไม่มีผู้บริหารมาสนใจฟังเราเล่าเรื่อง  มักถามแต่ว่า งานเข้าเป้าหรือยัง  คือ มีแต่ตัวเลข  ไม่มีเรื่องราว ทั้งที่ชีวิตเราไม่ได้มีเป้าหมายเฉพาะตัวเลข แต่ต้องมีความภูมิใจจากการเล่าเรื่องด้วย

2.             การฟังแบบลึกซึ้ง (deep listening)  บ่อยครั้งที่เรามักฟังคนอื่นเพื่อมุ่งตอกย้ำความคิด ความเชื่อเดิมๆ ของตนเอง  มากกว่า การฟังเพื่อแสวงหาความคิด ความเข้าใจใหม่ๆ   การฟังแบบลึกซึ้ง จึงเป็นการฟังที่เต็มไปด้วยความอยากค้นหา แลกเปลี่ยนไปสู่ความรู้ ความคิดใหม่ๆ ยอมรับและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น  ซึ่งจะเปลี่ยนกรอบแนวคิดในการทำงานได้

3.             การแสวงหาความดีความงาม (appreciate inquiry)  ในการทำงาน เรามักจะเริ่มจากการจับผิดชาวบ้าน โดยมุ่งหาปัญหาที่เกิดในชุมชน  เรียงลำดับความสำคัญของปัญหา และจัดทำโครงการแก้ไขปัญหา  แต่หากเปลี่ยนเป็นการค้นหาความดีงามในชุมชน  หรือ คนทำงาน ก็จะทำให้องค์กรมีความสมานฉันท์ ลดความขัดแย้ง  เห็นคุณค่าของชีวิตจากการชื่นชมซึ่งกันและกัน

4.             การส่งเสริมการทำงานเชิงรุกกับคนทุกข์คนยาก (proactive with disadvantage person)  การทำงานกับคนทุกข์คนยาก  เป็นโอกาสที่เราจะได้เรียนรู้และสัมผัสความเป็นมนุษย์ที่เร็วมาก  คุณค่าของงานจะปรากฎชัดเจนที่สุดเมื่อทำกับคนทุกข์คนยาก

5.             ส่งเสริมแรงจูงใจที่ไม่ใช่เงิน   ปัจจุบันมีแต่การทำงานแลกเงิน  งานที่ไม่ใช่ตัวชี้วัดสำคัญ ไม่ได้เงินไม่มีใครสนใจจะทำ แนวคิดแบบทุนนิยม จะบั่นทอนการทำงานเชิงคุณค่าไปหมด  องค์กรจึงต้องตอกย้ำบุคลากรเสมอว่า  อุดมคติในการทำงานของเราอยู่ตรงไหน ?  การงานของเรามีไว้เพื่อหาเงินอย่างเดียวหรือหาความภูมิใจให้กับชีวิตนี้  ต้องหมั่นนำคนที่ทำงานดีเชิงคุณค่ามาชื่นชม ไม่ใช่รอตอนเขาเกษียณ 

หากเรามีการบริการประชาชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์แล้ว  จะเป็นการตอกย้ำแนวคิดที่ว่า “การรักษาความเป็นมนุษย์นั้น ไม่ควรเป็นเพียงการรักษาชีวิตให้อยู่ยืนยาวเท่านั้น หากแต่ต้องรักษาคุณค่าของมนุษย์ไว้ให้สมบูรณ์”

 

คลิก

 

http://203.157.176.5/nkppho/infoboard/data/0012-1.html

คำสำคัญ (Tags): #สุนทรียสุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 309156เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2009 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท