Lichenในเมืองเชียงใหม่


เมื่อวานนี้ก่อนไปทำงานได้เดินเล่นชมนกชมไม้ให้สบายใจซะหน่อย  อากาศดีมากๆ (กำลังจะเข้าหน้าหนาวแล้วจ้า^___^)

ก็เห็นไลเคน (Lichen)เติบโตแผ่ขยายสวยงามอยู่ตามต้นไม้ในบ้าน

 ไลเคนที่ต้นมะยม

    ไลเคนและมอส (พี่มอสด้วย 5555)เป็นสิ่งมีชีวิตที่รู้สึกสนใจมากสมัยเรียนชีววิทยา ม.ปลาย  ในสมุดหนังสือสมัยเรียนไม่เหลือแล้วเพราะน้ำท่วมเมื่อปีก่อนเสียหายไปซะหมดแล้ว แต่เห็นเมื่อไหร่ก็ยังสนใจอยู่ วันนี้มาระลึกความรู้กันซะหน่อยดีกว่า อิอิ ค้นได้จากอาจารย์กรู เจอแหล่งความรู้ เลยขออนุญาตคักลอกบางส่วนมาเพื่อเก็บบันทึกเป็นความรู้ไว้อีกทีค่ะ


ที่มา : จากหน่วยวิจัยไลเคน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์             มหาวิทยาลัยรามคำแหง  http://www.ru.ac.th/lichen/aboutlichens/aboutlichen.html

ไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เกาะอาศัยอยู่บนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ โดยพบทั้งบนวัสดุธรรมชาติ เช่น เปลือกไม้ ใบไม้ ดิน หิน แมลง เป็นต้น และวัสดุก่อสร้าง เช่น คอนกรีต แผ่นป้ายโลหะ ฯลฯ

ไลเคนมีกำเนิดที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นคือเกิดจากการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพา
อาศัยของรา (fungi) ซึ่งราในไลเคนเรียกว่า มายคอไบออนท์ (Mycobiont) กับ
สาหร่าย (Algae) โดยเรียกสาหร่ายใน ไลเคนว่า โฟโตไบออนท์ (Photobiont)

สาหร่ายใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากบรรยากาศ และน้ำในการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างสารอินทรีย์ที่เป็นอาหารแล้ว แบ่งให้รา ส่วนราช่วยรักษาความชื้นให้ สาหร่าย และ ปกป้องสาหร่ายจากสภาพ แวดล้อมที่รุนแรง เช่น แสงแดดจัด และ ความร้อน

ไลเคนมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างไปจากต้นกำเนิด ทั้งสองโดยสิ้นเชิงและส่วนมากมีขนาด เล็ก จึงไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ไลเคนจะเกิดขึ้นได้เมื่อสภาพ แวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการเติบโตของทั้งสองฝ่าย โดยทั่วไปเราไม่พบรา จากไลเคนเติบโตอยู่อย่างอิสระตามธรรมชาติแต่เราสามารถพบสาหร่าย เติบโตอยู่ได้เอง

นักพฤกษ์ศาสตร์ประเมินว่ามีไลเคนประมาณ 17,000 - 25,000 ชนิดทั่วโลก ไลเคนพบได้ทั่วไป ตั้งแต่ที่หนาวจัดแถบขั้วโลก (Tundra) จนถึงร้อนและ แห้งแล้งแบบทะเลทราย (Desert) รวมถึงร้อนชื้น (Tropic) เช่น ประเทศไทย แต่ไลเคนไม่สามารถเติบโตได้ ในสถานที่ที่มีมลภาวะทางอากาศ โดยจะเห็นว่า ในเมืองใหญ่ ๆ และในเขตอุตสาหกรรมนั้น ปราศจากไลเคน ด้วยเหตุนี้จึงมี ผู้นิยมใช้ไลเคนเป็นดัชนี (bioindicator) บ่งชี้คุณภาพอากาศ

นอกจากนี้ไลเคนยังสร้างสารธรรมชาติที่แตกต่างไปจากพืชชั้นสูง สารธรรมชาติจากไลเคนหลายชนิดถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางมา เป็นเวลานานและยังมีอีกหลายชนิดที่มีศักยภาพ ในการนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกมาก

ประเภทของไลเคน

ไลเคนแต่ละชนิดเกิดจากราหนึ่งชนิดจับคู่กับสาหร่ายอีกชนิดหนึ่งเท่านั้น ความหลากหลายของ ชนิดไลเคน ขึ้นอยู่กับชนิดของราเป็นสำคัญ ราที่ก่อ ให้เกิดไลเคนมีประมาณ 13,500 ชนิด ส่วนสาหร่ายในไลเคน มีประมาณ 100 ชนิด 40 สกุล เท่านั้น ผลของการอยู่ร่วมกันของสาหร่ายและราทำให้เกิดโครงสร้าง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของไลเคน เรียกว่า ทัลลัส (Thallus) แบ่งไลเคนออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. ครัสโตส (Crustose)   มีลักษณะคล้ายฝุ่นผงอัดตัวกันเป็นแผ่นบาง ๆ
มีชั้นผิวด้านบนด้านเดียว ส่วนด้านล่างแนบสนิทกับวัตถุที่เกาะ

 

2. โฟลิโอส (Foliose) มีลักษณะคล้ายแผ่นใบ มีชั้นผิว 2 ด้าน ด้านบน
สัมผัสอากาศ ด้านล่างมีส่วนที่คล้ายราก แต่เกิดจากเส้นใยของรา เรียกว่า
ไรซีน (Rhizine) ใช้เกาะกับวัตถุ

 

3. ฟรูติโคส (Fruticose) หรือพวกพุ่มกอ มีลักษณะเป็นกิ่งก้านหรือเส้นสาย
มีลักษณะคล้าย รากฝอย กับรากแขนงแต่อยู่ในอากาศ

4. สะแควมูโลส (Squamulose) มีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆคล้ายเกล็ดปลา

 


สำรวจไลเคนแล้วเจอของแถมด้วยเป็นแมลงชนิดนึง คล้ายผีเสื้อ ตัวเล็กมากๆ (ขนาดเทียบกับปลายปากกา)

 

 พอใช้ปลายปากกาเขี่ยจะขอดูตัวซะหน่อย เค้าดีดตัวเด้งดึ๋ง บินหายไปเลย @__@

ค้นในอาจารย์กรูเหมือนเดิม โดยค้นจาก http://bugguide.net/node/view/21675

เค้าเรียกว่า Moths หรือผีเสื้อกลางคืน (แต่เราเจอตอนประมาณ 8 โมงเช้า) เป็นชนิด Geometrid Moths (wingspan 8 to 65 mm)

Classification
Kingdom Animalia (Animals)
Phylum Arthropoda (Arthropods)
Class Insecta (Insects)
Order Lepidoptera (Butterflies and Moths)
No Taxon Moths

ขอบคุณอาจารย์กรู (http://www.google.co.th) น้ำท่วมเชียงใหม่อีกกี่ครั้งก็ไม่สนใจ แต่...อย่าท่วมเลยจะดีที่สุด 555 ขี้ค้านเพี้ยว!!! (คำเมือง แปลว่า ขี้เกียจเก็บล้างทำความสะอาด)^__^

 

 

หมายเลขบันทึก: 309144เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2009 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ภาพชัดเจนดี ขอบคุณความรู้เรื่องไลเคนส์ครับ..เป็นสื่อการเรียนรู้ได้เลย

ขอบคุณคุณครูทั้งสองท่านค่ะที่แวะมาอ่าน

หนาวนี้น่าจะมีไลเคนอีกมาก แล้วจะถ่ายภาพมาให้ชมอีกค่ะ^__^

สวัสดีค่ะ

ตอนเรียนม.ปลาย เพื่อน ๆ ชอบล้อ ๆ กับคนที่มักขอลอกการบ้านเพื่อนและเรียกว่า "ไลเค่น" ค่ะ

ไม่ค่อยยุติธรรมเลยเนอะ....

ขอบคุณภาพงดงามค่ะ

(^___^)

นี่เป็นวัชพืชค่ะ ไม่หวังพึ่งพาใคร แต่คนก็ไม่ค่อยรัก...วัชพืช ไม่รู้เป็นไง

สวัสดีค่ะ คุณคนไม่มีราก

จริงด้วยค่ะ วัชพืช ไม่หวังพึ่งพาใคร แต่คนก็ไม่ค่อยรัก...วัชพืช ไม่รู้เป็นไง

แถมยังมีคำพูดเปรียบเปรยไว้อีกนะคะว่า ดอกหญ้าริมทาง น่าสงสารจัง...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท