สะท้อนย้อนกลับกำลังสอง มองแล้วมอง เพื่อย้อนรอยการพัฒนา


ทำใจ เพื่อรับการประเมิน

 หลายวันงานเข้าไม่ได้รายงานทาง Blog เริ่มตั้งแต่ Mini_UKM4 มาถึงการประเมินผู้บริหาร ของสภามหาวิทยาลัย แห่งหนึ่ง

 คณะกรรมการตัวแทนสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย ศ.นพ.วราวุฒิ สุมาวงศ์ หรือ หลายท่านรู้จักท่านในนาม วรา วรเวช นักแต่งเพลง ผู้เชี่ยวชาญด้านแพทยศาสตร์ศึกษา จาก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้สรุปผลการประเมินการบริหารงาน ของผู้บริหารระดับสูง ของ มอบ

 ประเด็นที่น่าสนใจ เพื่อการเรียนรู้ ถือว่าเป็น AAR (After Action Review) และ ALR (After Learning Review) ที่คณะกรรมการได้ทบทวน และ สอบถาม ท่านผู้บริหาร คือ ความรู้สึกที่ท่านได้รับ หลังการประเมิน

 น่าสนใจครับ ท่านคณบดี ท่านกล่าวด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่า "ไม่รู้สึกเครียด หรือ อึดอัด แต่อย่างไร และ เห็นโอกาสของการพัฒนาเป็นอย่างรูปธรรม และ จะนำไปวางแผนปรับปรุงตามข้อสังเกต และ ข้อเสนอแนะทันที"

 กรรมการรับทราบ Reflection หลัง Reflection แล้ว ทุกท่านโล่งใจครับ

 งานนี้ คณะกรรมการได้ ทำ Mini_AAR กันเอง สรุปประเด็นว่า

 ๑. การเตรียมความพร้อมของผู้ให้ข้อมูลทุกระดับ ตั้งแต่การเขียน ทบทวน รายงานการประเมินตนเองของผู้รับการประเมิน คือ ผู้บริหาร ล่วงหน้า

 ๒. การที่ คณะกรรมการไปสร้างความเข้าใจกับบุคลากรทุกระดับอย่างมีส่วนร่วม ถึงเป้าหมาย และ วิธีการประเมินผู้บริหาร เพื่อพัฒนา

 ๓. การรับฟังข้อมูลจากตัวแทน และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับ ทุกฝ่าย ชนิดตัวเป็นๆ โดยแบ่งทีมผู้ประเมิน หรือ รับฟังข้อมูลการสะท้อนเพื่อการพัฒนา ถึงสามชุด

 ๔. การรับฟังข้อมูลจาก website อย่างทั่วถึง เพื่อนำมาเป็นส่วนประกอบในการรับฟังข้อมูลอย่างรอบด้าน

 ๕. การสรุปข้อมูลที่มีการสังเคราะห์ จาก คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อกลั่นกรอง และ เตรียมข้อมูลเพื่อสะท้อนเพื่อการพัฒนา

 ๖. การปรึกษาหารือ กับ ตัวผู้รับการประเมิน คือ ท่านผู้บริหาร เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน ก่อนส่งข้อมูลทั้งหมด หลังจากทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วม ให้คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ได้กลั่นกรอง และ ให้ความเห็น และ นำข้อมูลขั้นสุดท้าย ต่อผู้บริหารอย่างเป็นทางการ

 ข้อสรุปทั้งหมดเป็น "การ สะท้อน ของการดำเนินการ ประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อ พัฒนา ที่ ฝรั่ง เรียกว่า PM หรือ Performance Management" เป็นกระบวนการ จากประสบการณ์ ตรง ที่ได้ดำเนินการเพื่อการพัฒนา จริงๆครับ

JJ2009ฅนธรรมดา

หมายเลขบันทึก: 308804เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2009 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • เมื่อทุกคน "เข้าใจตรงกัน" ทุกอย่างก็ OK
  • ในการที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน

สวัสดีตอนเช้าค่ะท่าน

มาเรียนรู้กระบวนการใหม่  และขอชื่นชมผู้บริหารที่ "ยิ้มและยอมรับ..เพื่อการพัฒนา"

ขอบคุณคะ

เรียน ท่านพิชชา ความรู้ ความเข้าใจ เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาครับ

เรียน ท่านชาดา

  • PM ที่คณะแพทย์เรา ฝึก ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และ ฝึกปฏิบัติ ราวปี ๒๕๓๐ ครับ
  • ท่านอาจารย์หมอเมืองทอง มาช่วยกับ ท่านอาจารย์หมอทองจันทร์ ครับ พอไหวพอไหว ครับ
  • แค่รับรู้คงไม่นาน แต่ถ้าเรียนรู้ต้องใช้เวลาจริงๆ 
  • เพราะ การเรียนรู้หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเกิดมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัด  นั่นคือคงต้องใช้ "เวลา"
  • บางคนเรียนรู้ช้า บางคนเรียนรู้เร็ว แต่บางคนเวลาก็ไม่ได้ช่วยอะไรในการเรียนรู้เลยนะคะ

- เห็นด้วยนะคะ คุณพิชชา

- ก็ยังดีที่มีกระบวนการเรียนรู้ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การได้เห็น การได้ยิน การได้ฟัง เป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการประเมินผู้บริหารทุกระดับ

- ขอบคุนอาจารย์จิตเจริญ ที่ช่วยสร้างความเข้าใจในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ จะพยายามเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

เรียน ท่านพิชชา ถูกต้องครับ ใน พรบ การศึกษาแห่งชาติ เน้นการเรียนรู้ ครับ

เรียน ท่านเลขานุการคณะศึกษาศาสตร์ ท่านพี่อิ๋ว ขอบพระคุณครับ มาร่วม Confirmed การเรียนรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท